 |
เราว่าต้นเหตุหลักเป็นที่กลไกในสังคมที่ต่างกันระหว่างไทยกับประเทศอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก
หลังจาก industrial revolution การกดขี่แรงงานหมดสิ้นไปจากประเทศอุตสาหกรรมในประเทศในโลกแถบตะวันตก (หมายถึงกดขี่ประชากรของเขาหมดไปนะ แต่กดขี่ชาวต่างชาติที่เข้าประเทศโดยผิดกฎหมายยังคงมีอยู่) คนที่เรียนหนังสือไม่เก่งระดับมัธยมไม่มีใครพยายามดั้นด้นเรียนให้จบปริญญาตรี แต่จะเรียนวิชาชีพ ยกตัวอย่างเช่นงานก่อสร้าง เพราะค่าแรงสูงมากๆ และได้รับการยกย่องพอๆกับคนทำงานใส่สูทอยู่ใน office เศรษฐีใหม่ของอังกฤษส่วนใหญ่มาจากคนทำงานก่อสร้าง พวกชาวไร่ข่าวนา (farmers) เป็นชนชั้นนายทุน ไม่ใช่ชนชั้นระดับล่างๆที่โดนดูถูกแบบในเมืองไทย อีกทั้งสังคมประเทศแถบตะวันตกวัดค่าของคนที่ผลของงานมากกว่าวัดปริญญา ยกตัวอย่างเช่นงานเขียน computer programs ใครไม่มีปริญญาแต่มีพรสวรรค์ก็หางานได้เพราะเวลาสมัครงานเขาใช้ selection panel (คณะกรรมการคัดเลือกพนักงาน) มาทดสอบความสามารถโดยการให้ผู้สมัครงานนั่งเขียน computer programs ให้ดูให้เห็นกันจะๆเลย ไม่ได้ตัดสินกันแค่วุฒิการศึกษาแบบในเมืองไทย ดังนั้นเด็กฝรั่งจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอยากได้ปริญญาอย่างเอาเป็นเอาตายแบบเด็กไทย เด็กฝรั่งที่ไม่เก่งด้านวิชาการก็ไม่เลือกเรียนมหาลัย แต่มุ่งไปเรียนวิชาชีพ
ในทุกประเทศมันก็ต้องมีเด็กเรียนเก่งกับไม่เก่ง แต่เด็กเรียนไม่เก่งในเมืองไทยไม่มีทางเลือก เพราะในสังคมไทยสมัครงานดีๆโดยไม่มีปริญญาโอกาสได้งานมันแทบไม่มีเลย จึงมีเด็กไทยที่เรียนไม่เก่งที่ต้องดั้นด้นเอาปริญญาให้ได้จนล้นประเทศ และในเมืองไทยเด็กเก่งๆแย่งที่เรียนในมหาลัยรัฐไปหมดแล้ว (ตามกลไกแบบไทยๆ) มหาลัยเอกชนจึงผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดเพื่อทำหน้าที่เป็นอัศวินม้าขาวมาช่วยเด็กเรียนไม่เก่งให้ได้รับปริญญาเพื่อให้รอดพ้นจากการเป็นกรรมกร (คือมี demand ก็มี supply ตอบสนอง ว่างั้นเหอะ) ^ ถึงมหาลัยเอกชนจะร่ำรวยแค่ไหนก็ตาม แต่การมีเด็กที่เรียนอ่อนๆมาชุมนุมกันแน่นขนัด มหาลัยจะเข็นนักศึกษาที่เรียนอ่อนๆยังไงให้เก่งทันเด็กเก่งๆในมหาลัยรัฐ มันก็มีโอกาสประสบความสำเร็จได้ยากมากๆ เด็กเรียนอ่อนในมหาลัยเอกชนอาจปรับปรุงตัวเองแล้วเก่งทันเด็กเรียนมหาลัยรัฐได้ แต่ในเชิงสถิติแล้ว
"ตัวเลขมันน้อยมากๆ"
ในเมื่อบ้ณฑิตมหาลัยรัฐกับเอกชนจบออกไปทำงาน และมีผลงานที่ต่างกันมาหลายปี มันจึงเป็นภาพลักษณ์ที่ติดตรึงอยู่ในสังคมไทย แบบลบเลือนไม่ได้
ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการที่รัฐบาลไทยหลายๆยุคหลายๆสมัยพัฒนาประเทศชาติผิดรูปแบบ นั่นก็คือส่งเสริมโรงงานส่งออกแทนที่จะส่งเสริมเกษตรกร ทั้งๆที่ชนกลุ่มหลังมีจำนวนประชากรมากกว่า ผลก็คือเกษตรกรต้องทิ้งไร่ทิ้งนาเพื่อเข้ามาเป็นพนักงานโรงงานหรือไม่ก็พยายามเรียนให้ได้ปริญญาเพื่อให้ไปทำงานนั่งโต๊ะใน office เพราะเป็นค่านิยมแบบไทยๆ มหาลัยจ่ายเงินครบจบแน่ๆจึงผุดขึ้นมาเรื่อยๆ
ถ้าเราเปลี่ยนกลไกในสังคมไทยใหม่โดยให้โอกาสคนทำงานวิชาชีพให้รวยได้ เช่นให้โอกาสกรรมกรก่อสร้างให้ได้ค่าแรงสูงๆเหมือนในประเทศอังกฤษ และเริ่มรับสมัครพนักงานโดยการทดสอบความสามารถจริง โดยทดลองให้ทำงานให้ดูก่อนจ้าง เช่น งานด้านภาษาอังกฤษก็ให้คนเก่งอังกฤษมาทดสอบผู้สมัครงานด้านฟัง พูด อ่าน เขียน แล้วประเมินความสามารถ แทนที่จะเน้นปริญญาเป็นหลัก อย่างในประเทศอังกฤษ John Major เรียน banking หลักสูตรทางไปรษณีย์ ไม่มีปริญญา แต่สมัครงานกับธนาคาร Standard Chartered ได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้บริหาร ซึ่งในเมืองไทยงานตำแหน่งแบบนี้ธนาคารไทยต้องเอาปริญญาโทเป็นอย่างน้อยที่สุด เราคาดว่าธนาคาร Standard Chartered คงใช้ selection panel สัมภาษณ์ Jonh Major แล้วทดสอบความรู้ด้าน banking ของเขาจนรู้สึกประทับใจว่าเขาเรียนรู้ได้ดีมากๆจากหลักสูตรทางไปรษณีย์ ถึงได้จ้างให้เขาเป็นผู้บริหาร
^ ถ้ากลไกของสังคมไทยเปลี่ยนไปในแนวนี้ ถามว่าเป็นไปได้หรือเปล่าที่ว่าผประเทศไทยจะเริ่มมีคนไม่มีปริญญาแต่เป็นอัฉริยะและประสบความสำเร็จได้อย่าง Thomas Edison, Bill Gates และ Steve Jobs ถ้าคิดลึกๆแล้วคงเป็นไปได้ยาก เพราะอะไร? การเรียนด้วยตัวเองโดยการหาหนังสือมาศึกษาค้นคว้าเอง มันทำได้ในอเมริกา เพราะตำราด้านวิชาการต่างๆระดับสูงๆมันมีเขียนเป็นภาษาอังกฤษ แต่มันไม่มีเขียนเป็นภาษาไทย การที่เด็กไทยจะเก่งโดยไม่มีปริญญาได้เหมือนๆ Thomas Edison, Bill Gates และ Steve Jobs คุณสมบัติขั้นต่ำสุดก็คือ
"ต้องแตกฉานด้านภาษาอังกฤษมากพอที่จะค้นคว้าจากตำราต่างประเทศได้"
ให้สังเกตดูว่าคนไม่จบปริญญาในเมืองไทยที่ประสบความสำเร็จระดับมหาเศรษฐีได้นั้น ส่วนใหญ่ไม่ได้สำเร็จเพราะคิดค้นอะไรฉลาดปราดเปรื่องแบบ Thomas Edison, Bill Gates และ Steve Jobs หากแต่ประสบความสำเร็จเพราะมี very good connections เช่นรู้ว่าเมื่อใหร่เงินบาทจะลอยตัวก็ไปซื้อ dollars มา รู้ว่าเขาจะตัดถนนผ่านตรงไหนก็ไปซื้อที่เก็งกำไร เวลาประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างของราชการจะมีเส้นสายมากพอที่จะประมูลงานสำเร็จทั้งๆที่ตัวเองไม่มี knowhow พอได้งานก็จ้าง subcontractors มาทำแทน และรู้ว่าโครงการอะไรใครอนุมัติ และจะต้องเอาเงินไปยัดใต้โต๊ะให้ใคร
สรุปแล้วกลไกและคุณค่าในสังคมที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับประเทศอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก ถึงทำให้มหาลัยฝรั่งเป็นแบบที่เป็นอยู่ และมหาลัยไทยเป็นอย่างที่เป็นอยู่ เพราะมันเกี่ยวกับ demand and supply
แก้ไขเมื่อ 04 มิ.ย. 55 09:07:36
จากคุณ |
:
fortuneteller
|
เขียนเมื่อ |
:
วันวิสาขบูชา 55 04:58:52
|
|
|
|
 |