Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
แนวคิดของ มิเชล ฟูโกต์ ติดต่อทีมงาน

กระทู้นี้ นำเสนอเพื่อ บันทึกเป็นองค์ความรู้ในระบบคิด(อย่างหนึ่ง)ที่ทรงอิทธิพลร่วมสมัย

ความคิดของฟูโกต์มีผลต่อการปลดเปลื้องความคิดคนให้มีความมั่นใจในอำนาจของตัวเองมากขึ้นทำให้มีเสรีภาพซึ่งกว้างขึ้น มากกว่านักคิดหรือนักปฏิวัติอื่นๆ ในศตวรรษที่ 20 นี้ ไม่ว่าจะเป็นเลนิน เหมาเจ๋อตุง โฮจิมินห์ เช กูวารา ฌอง ปอล ซาร์ตส์ เพราะถ้าเปรียบเทียบโดยจำนวนความคิดของซาร์ตส์ส่งผลต่อปัญญาชนโลกส่วนความคิดของนักปฏิวัติมาร์กซิสต์ดังกล่าวเคยส่งผลต่อความคิดของผู้ใช้แรงงาน ชาวนาในรัสเซีย จีน และประเทศ โลกที่สาม อื่นๆ อาจจะรวมกันประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรในโลก แต่ความคิดของฟูโกต์ส่งผลต่อคนต่ำต้อย ด้อยสิทธิ รวมทั้งผู้ใช้แรงงาน ชาวนา ผู้หญิง พวกที่ถูกกดขี่ เช่น เด็ก คนแก่ คนไข้ นักโทษ กลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน คนจน คนจรจัด ชาวสลัม คนพิการ รวมทั้งต่อการต่อสู้ของประชากรทั้งหมดในประเทศอดีตอาณานิยม ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะมากถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก....
http://www.kledthaishopping.com/product-th-467574-2021240-MICHEL+FOUCAULT+(มิเชล+ฟูโกต์).html

มีเชล ฟูโกต์ (ฝรั่งเศส: Michel Foucault, miʃɛl fuko; 15 ตุลาคม ค.ศ. 1926 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1984) เป็นนักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ ปัญญาชน นักวิพากษ์ และนักสังคมวิทยา ชาวฝรั่งเศส เขาเคยดำรงตำแหน่ง "ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของระบบความคิด" (Professor of the History of Systems of Thought) ที่วิทยาลัยฝรั่งเศส (Collège de France)

แนวคิดของฟูโกต์คัดค้านการแบ่งคนเป็นนักโน่นนักนี่ ตามสาขาวิชาที่เป็นผลมาจากการแบ่งงานตามถนัดโดยระบบทุนนิยมอย่างสิ้นเชิง ทั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียง เพราะว่า เขาคิดว่าสาขาวิชาต่างๆมีความเกี่ยวข้องกันแบบสหวิทยาการหรือพหุวิทยาการเท่านั้น หากยังเป็นเพราะว่าเขาวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับแนวคิด เกี่ยวกับเรื่องความรู้และอำนาจที่เคยมีมาทั้งหมด ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดทฤษฎีเป็นระบบที่เคยมีมาทั้งหมด

ฟูโกต์เพียงแต่ค้นคว้าวิจัย เขียนหนังสือ สอนหนังสือ บรรยาย ให้สัมภาษณ์ และเคลื่อนไหวทางการเมืองตามแนวที่เขาเห็นว่าเป็นสิ่งซึ่งมีความหมายสำหรับ เขา โดยไม่สนใจที่จะให้คนเรียกเขาว่าเป็นอะไร หรือจัดเขาอยู่ในส่วนไหนของประวัติศาสตร์ของสังคม ทั้งๆที่เขาวิจารณ์แนวคิดทฤษฎีของคนอื่นชนิดถึง รากถึงโคน แต่เขาก็ไม่เสนอทฤษฎีใหม่และไม่คิดว่าตัวเองเป็นนักทฤษฎี เพราะเขาเป็นพวกต่อต้านการใช้ทฤษฎีศึกษาอย่างเป็นระบบแน่นอน (antimethod)

เขาเห็นว่าทฤษฎีในความหมายที่เป็นระบบความคิดที่ครอบจักรวาล (เป็นสากล) มีเหตุมีผลคงเส้นคงวาทั้งหลาย ซึ่งรวมทั้งมาร์กซิสม์ด้วยนั้น ล้วนแต่นำไปสู่ ความรู้แบบครอบงำที่มีคนกลุ่มหนึ่งเป็นคนที่ว่าอะไรจริงอะไรไม่จริง อะไรถูก อะไรผิด  สำหรับงานเขียนที่ฟูโกต์ผลิตขึ้นมาอาจเรียกได้ว่าเป็นวิธีการศึกษาเพื่อที่ จะทำความเข้าใจสังคมในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง (เช่นประวัติศาสตร์ของคนไข้กับการรักษาพยาบาล นักโทษกับการลงทัณฑ์ ความรู้กับอำนาจ) ของสังคม หนึ่งๆ ในสมัยหนึ่งๆ

ที่กล่าวมา ฟังดูคล้ายกับจะเป็นการเล่นสำนวนที่ไม่ค่อยชัดเจนนัก  เพราะฟูโกต์เองก็เช่นเดียวกับนักคิดในแนว post Structuralism หลายคนที่มองว่า งานเขียนไม่ได้มีความหมายแค่ “ตัวบท” เท่านั้น หากแต่เป็นการสนทนากันระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่าน นั่นก็คือมันขึ้นอยู่กับว่า ผู้อ่านจะอ่านอย่างไร ตีความอย่างไร มีปฏิกิริยาอย่างไรด้วย ดังนั้นแทนที่นักคิดกลุ่มนี้จะเรียกงานเขียนว่างานเขียน หรือเรียกคำบรรยายว่าคำบรรยาย พวก เขาชอบใช้คำรวมว่า Discourse ซึ่งหมายถึง การสื่อสารแสดงออกทุกอย่างที่กินความรวมถึงผู้รับ (ผู้อ่าน ผู้ฟัง)ด้วย Discourse ที่สำคัญ เช่น งานของ เฮเกล, นิทเช่, มาร์กซ์ ซึ่งมีคนอ่านแล้วอ่านอีก ตีความแล้วตีความอีก ก่อให้เกิด Discourse อื่นๆตามมาอีกมากมาย ไม่ได้เป็นเพียง Discourse ธรรมดา หาก ถือเป็นเหตุการณ์ (Event) ในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว
http://witayakornclub.wordpress.com/2008/03/10/antimethod/




ฟูโกต์ได้ให้ความหมายของวาทกรรม (discourse) ว่าหมายถึง กระบวนการสร้างความหมายโดยภาษาและสัญลักษณ์ต่างๆที่ดำรงอยู่ในสังคม ประกอบกันเป็นความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหนึ่งๆซึ่งส่งผลต่อการกำหนดว่าอะไรคือความรู้ ความจริง และอะไรไม่ใช่   วาทกรรมเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นโดยสังคมทั้งโดยกลุ่มที่ครองอำนาจและกลุ่มที่ต่อต้านอำนาจ จัดเป็นเทคโนโลยีทางอำนาจที่ถูกใช้ทั้งการเก็บกดปิดกั้นและจัดระเบียบวิถีชีวิตของคนในสังคม แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ถูกใช้เพื่อต่อต้านอำนาจ(Counter discourse) ต่อต้านระเบียบที่วาทกรรมหลักครอบงำอยู่   การวิเคราะห์วาทกรรมทำให้เห็นแง่มุมของอำนาจโดยเฉพาะในแง่มุมของความรู้ได้ละเอียดอ่อนยิ่งขึ้นเมื่อวาทกรรมเป็นสิ่งที่ไม่สามารถอ้างได้ว่ามีผู้ผลิต ผู้ควบคุมวาทกรรมอย่างชัดเจน อำนาจในแง่มุมของวาทกรรม เป็นอำนาจที่กระจายตัว แทรกซึมในแนวระนาบเชื่อมต่ออย่างหลากหลาย ยากที่จะหาจุดกำเนิด จุดศูนย์กลางของการผลิต ดังนั้นไม่ว่าผู้กระทำการใดๆ ล้วนตกอยู่ภายใต้วาทกรรมหรือความสัมพันธ์อำนาจในเรื่องความรู้และความจริงด้วยกันทั้งสิ้นประเด็นของการวิเคราะห์วาทกรรม ไม่ได้อยู่ที่คำพูดนั้นๆเป็นจริงหรือเท็จ แต่อยู่ที่กฎเกณฑ์ชุดหนึ่งที่เป็นตัวกำกับให้การพูดนั้นๆ เป็นไปได้มากกว่าจะเป็นเรื่องของข้อเท็จจริง วาทกรรมจึงไม่ใช่เป็นเพียงผลลัพธ์ซึ่งเกิดจากการต่อสู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบของการครอบงำ แต่วาทกรรมในตัวของมันเองนั้น คือการต่อสู้และการครอบงำ ที่มีต่อรูปแบบและวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม
http://th.wikibooks.org/wiki/ฟูโกต์

แก้ไขเมื่อ 24 มิ.ย. 55 05:54:05

จากคุณ : dicky5
เขียนเมื่อ : 23 มิ.ย. 55 15:56:38




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com