พ.ศ. 2494 - รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม เหตุผลคือ ไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492 ที่ใช้อยู่ บัญญัติให้ผู้ที่เป็น สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้ จึงสั่งยกเลิกแล้วให้กลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2475
พ.ศ. 2514 - รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร
เหตุผลคือ สมาชิกพรรคสหประชาไทยได้เรียกร้องผลประโยชน์ตามที่จอมพลถนอมซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคได้เคยสัญญาไว้ในช่วงเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512 แต่เมื่อไม่ได้รับจึงขู่ว่าจะลาออก จอมพลถนอมจึงสั่งให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2511 ที่ใช้อยู่ ยกเลิกรัฐสภา ยกเลิกพรรคการเมืองและประกาศห้ามมั่วสุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป
และต่อมาจึงประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515 ให้ข้าราชการประจำดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้และตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีมติให้จอมพลถนอมเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งมีการนำเอามาตรา 17 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีเต็มที่ในการสั่งการใด ๆ อันเนื่องจากเหตุที่กระทบต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร โดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของสภาฯ หรือ มีกฎหมายฉบับใด ๆ มารองรับ สร้างความไม่พอใจของประชาชนจนเป็นสาเหตุหนึ่งของการชุมนุมในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
พ.ศ. 2520 - รัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร
พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519 เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ก็ทำรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง เหตุผลคือ รัฐบาลไม่อาจแก้ปัญหาสำคัญของประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และอุตสาหกรรม ให้ลุล่วงไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปอย่างล่าช้า (ตามนโยบาย 12 ปี ของรัฐบาล ) ทั้งการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดเห็นของประชาชน ตลอดจนท่าทีของรัฐบาลในการลอบวางระเบิดใกล้พลับพลาที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จังหวัดยะลา
จึงยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2519 ที่ใช้อยู่ และ ให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2520 แทน จนต่อมาจึงประกาศให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร พ.ศ. 2521 มีการจัดการเลือกตั้งในปี 2522 พล.อ.เกรียงศักดิ์ ได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
จากคุณ |
:
TommyStyle
|
เขียนเมื่อ |
:
25 มิ.ย. 55 01:37:19
|
|
|
|