 |
แหม..คนเขียนข่าวก็ช่างหยิบมาเขียนได้แบบกระชับดีแท้... ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญนะคะ แต่พออ่านผ่านตามาบ้าง..
คืองี้ค่ะ...
หลังจากสงครามโลกจบลงไปแล้ว..เรื่องอาณาเขตของโซเวียต และ ญี่ปุ่น..ก็ดูเหมือนจะจบ..แต่ไม่จบ..เพราะแน่นอนว่า หมู่เกาะคูริลจะต้องตกเป็นของโซเวียต แต่การทำสนธิสัญญาที่ซานฟรานซิสโก ในปี 1951 ได้ระบุไว้ว่า..โซเวียตจะได้หมู่เกาะคูริลที่"เคยครอบครอง"ไว้กลับคืนไป... ญี่ปุ่นก็แย้งว่า..สี่เกาะที่อยู่ตอนเหนือของฮอกไกโด และล่างสุด ของ คูริล คือ..Etorofu, Kunashiri, Shikotan และ Habomai "ไม่เคยเป็นของรัสเซ๊ยหรือโซเวียตมาก่อน"..(แต่โซเวียตเหมารวมว่าทั้งหมดคือ หมู่เกาะคาริล..) ญี่ปุ่นจึงอยากขอคืน...แต่เนื่องจากตัวเองไม่มีกำลังในการที่จะต่อกร จึงต้องหวังพึ่งจากการประนีประนอม และเป็นสงครามเอกสารโต้แย่งส่วนใหญ่ หวังแรงเชียร์จากพี่เอื้อยมหาอำนาจที่พอพึ่งพาได้ หรือถ้าโซเวียตมีเมตตาจะคืนให้ ก็หมายถึงจะต้องมีการเสนอให้ถึงการตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อ..และมันหมายถึงการที่จะร่วมเป็นมหามิตร ซึ่งจะเป็นผลดีของทั้งสองฝ่าย โซเวียตเองก็ไม่อยากโดดเดี่ยวจนเกินไปนัก..ต้องจับตาดูอเมริกา..แล้วไหนจะจีนอีก..เพราะในระหว่างนั้น..มันเป็นช่วงของสงครามเย็น อเมริกาก็พยายามเอาใจญี่ปุ่นให้มาเป็นพวก...รัสเซียเองก็รู้แกว...ไม่อยากให้สองประเทศนี้มาผนึกกำลัง นายกรัฐมนตรี ครุสเชพ เคยพยายามที่จะเสนอข้อตกลงกับญี่ปุ่นโดยการบอกร่ำๆว่าจะคืนสองเกาะเล็กๆ Shikotan กับ Habomai ให้.. ญี่ปุ่นก็แทบจะกระโดดรับอย่างไม่มีข้อแม้ใดๆ... แต่..อเมริกาบอกว่าช้าก่อน...รีบเข้าขวางทันที ในที่สุด ครุสเชพ..เลยยกเลิกข้อเสนอไปในช่วงปี 1960 เท่ากับว่าวี่แววที่จะมีการตกลงด้วยสันติ และรอมชอมกันระหว่าง โซเวียต-ญี่ปุ่นนั้น..ขาดลอยไป และมากลายเป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ถูกกัน..คอบจับผิดกัน..โซเวียตมองญี่ปุ่นว่าเป็นลิ่วล้อและเป็นรัฐกันชนให้กับอเมริกา แถมยังดูถูกดูหมิ่นอีกว่า..เขาทำกับตัวขนาดนี้แล้วยังไม่สำนึก
สภาวะการตึงเครียดได้มาหนักข้อขึ้น..ในช่วงปลาย 1970 ต่อด้วย ต้น 1980 ที่ญี่ปุ่นได้ร่วมนโยบายทางการเมืองกับจีน (อย่างเงียบๆ) ในการคอยเป็นหูเป็นตาส่งข่าวให้ทราบถึงความเป็นไปของกองทัพเรือโซเวียตที่แผ่ขยายเข้าในเขตมหาสมุทรแปซิฟิค...
จากการญี่ปุ่นได้เจริญเติบโตมากทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ได้สร้างความเกรงใจให้กับทุกๆฝ่ายทั้งจีนและอเมริกา..ขนาดในหลายๆสนธิสัญญาของอเมริกา ยังรวม ชื่อของญี่ปุ่นเข้าไปในกลุ่มประเทศยักษ์ใหญ่ด้วย ไม่ว่าจะเปลี่ยนมากี่นายก..หรือผ่านมาตั้งเจ็ดสิบกว่าปีแล้ว..กรณีของหมู่เกาะคาริล..อันเป็นกรณีพิพาทของโซเวียตและญี่ปุ่น..ก็ยังคงค้างคาต่อไป..โซเวียตยังคงถือสิทธิตามญัตติของยัลต้า ญี่ปุ่นก็ยังเอาข้อความในสนธิสัญญาที่ซาน ฟรานซิสโกมาโต้แย้ง.. แต่ไม่มีใครทำอะไร...ยังคงปล่อยไว้อย่างนั้น..เพราะไม่มีใครอยากจุดกระแสให้เกิดสงครามเพราะเรื่องเกาะจิ๊บจ้อย...เหมือนจะเก็บเอาไว้กวนอารมณ์ญี่ปุ่นเล่นอย่างนั้นแหละ..สนุกดี
ดูตามแผนที่นะคะ ว่า รัสเซียได้เข้ามาครอบครองตรงเส้นแดงขีดไว้ คือ ปี 1855 คือไกลสุดที่เคยเป็นอาณาเขต พอปี 1875 ก็กลับหดไป แต่พอชนะสงคราม 1945 อาณาเขตก็ยาวยืดมาถึงชายฮอคไกโด..รวมไปถึง 4 เกาะอันเป็นกรณีพิพาท เพราะมันเป็นเกาะที่มีเนื้อที่มากกว่าพวกหมู่เกาะที่เป็นใข่ปลานั้น..ซึ่งมันไม่ได้สร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกืจอะไรมากมายอย่างที่คิด..แต่มันเป็นแนวสำคัญในการใช้เป็นฐานทัพได้หากเกิดมีสงคราม
ในความเห็นส่วนตัว..หมู่เกาะพวกนั้นเป็นเขตเพาะพันธฺ์ปลาที่อุดมสมบูรณ์ (เพราะญี่ปุ่นไม่กล้าก้าวล่วงไปจับ..เพราะโซเวียตยิงล่มเอาจริงๆ) ทำให้มีความสมดุลย์ทางธรรมชาติ ทั้งนกและปลาที่ใช้เป็นที่อาศัย ส่วนเรื่องน้ำมัน หรือ ทองนั้น..ดิฉันเชื่อว่าเป็นการโปรประกันดาของณี่ปุ่นที่"ล่อ"ให้มหาอำนาจอย่างจีนหรืออเมริกาเข้ามาให้ความสนใจ..และหยิบยกข้อพิพาทนี้ขึ้นมาพิจารณากันใหม่..
จากคุณ |
:
WIWANDA
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ก.ค. 55 03:10:29
|
|
|
|
 |