วันนี้เกิดอารมณ์ขี้เกียจ ข้อสั้นๆ คห. เดียวนะครับ
ผมไม่ได้ต่อต้านอำนาจประชาธิปไตย แต่ผมต่อต้านแนวคิดปฏิวัติ คุณขุนพลวรมันต์ ถามว่า จะสู้กับชนชั้นสูงได้ยังไง ผมเองก็ไม่ทราบเพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น แต่ประเทศไทยสามารถข้ามผ่านการปฏิรูปครั้งใหญ่ มาก่อนแล้วในสมัย ร.5 และที่สำคัญ ผมมองว่า ถ้าจะมีคนสนับสนุนในการปฏิรูป พวกในคณะราษฏร์นั้นแหละ ที่สำคัญ หากเป็นพระราชประสงค์ของกษัตริย์ใครจะกล้าขัดครับ นี้คือการปฏิรูปนะครับ ไม่ใช่ปฏิวัติ และมีรูปแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 มาแล้วที่จะเป็นแนวทางในการผ่อนปรนอำนาจ กระแสประชาธิปไตยมีทั่วโลกไม่ใช่เหรอครับ คนที่สนับสนุนนะมีอยู๋แล้ว สิ่งพวกนี้ เป็นเพียงการวิเคราะห์เท่านั้น เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้น แต่การวิเคราะห์เหล่านี้ เป็นเพียงวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้น หากจะมีกรณี คล้ายๆกันในอนาคตต่อไป เพราะแม้ไม่มีการปฏิวัติ แต่หลายประเทศก็มีการปฏิรูป การบังคับไม่จำเป็นต้องเป็นเป็นการบีบโดนการใช้กำลัง แต่เป็นบังคับจากปรับสภาพทางการเมืองอย่าง อังกฤษ หรือที่เร็วๆนี้ก็ภูฎาน นะครับคุณ Nexus ดังนั้น อย่าพึ่งเบื่อครับ คุณ witty wack ประวัติศาสตร์มีไว้ให้วิเคราะห์ ไม่ใช่มีไว้แค่ให้จำว่าใครทำอะไร หรือ เพียงวิเคราะห์ได้ ถูกใจตนแล้ว จะมีคนมาเห็นต่างไม่ได้
คุณ cookiemonmon ที่ผมยกในกรณีของ อิตาลี เยอรมัน ผมขอเว้นกรณีของญี่ปุ่นแล้วกัน เพราะในกรณีของญี่ปุ่น มันมีปัจจัยภายในจากค่านิยมชาวญี่ปุ่นเองในลัทธิบูชิโดอีก ซึ่งจริงๆมันก็มีหลายชาติกว่านี้แต่มันไม่ได้แสดงบทบาทชัดเจน แต่เพราะมันเห็นชัดว่าแม้จะไม่มีการเลือกตั้ง หรือ เปลี่ยนจากประชาธิปไตยกลายเป็นเผด็จการก็เถอะ แต่มันก็ชัดว่า ความนิยมในตัวผู้นำ มีสูง และก็ล้วนแต่เป็นเป็นประเทศที่พึ่งรวมชาติ หรือ ให้ความรู้สึกกับประชาชนที่ได้สัมผัสอำนาจอธิปไตย จนเกิดเป็นลัทธิชาตินิยม มันทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นแทนที่จะเป็นประชาธิปไตย อำนาจก็ถูกโยนกลับมาให้คนคนเดียว เหมือนกับคำพูดในสมัยจอมพลป. ที่ว่า เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ภาพเหล่านี้ ไม่ได้เป็นการบิดเบือนใดๆ แต่มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะวิเคราะห์ไปในทางใดต่างหาก เพราะ ไม่ว่าเยอรมัน หรืออิตาลี มีคนเคยพูดเหมือนกันไม่ใช่เหรอ ต่อให้เยอรมันไม่มีฮิตเลอร์ เยอรมันก็เข้าสงครามโลกอยู่ดี หรือแม้กระทั้งไทย มันก็เป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เช่นกัน มุสโสลินี ก็เป็นวีรบุรุษผู้นำของการรวมชาติ ฮิตเลอร์ ก็พลิกเปลี่ยนเยอรมันจากประเทศผู้แพ้สงครามกลับมากลายเป็นมหาอำนาจ
พูดง่ายๆ ที่เขาไม่มีการเลือกตั้ง ไม่ใช่เพราะว่าผู้นำกลัวเลือกแล้วแพ้ แต่เพราะประชาชนส่วนมาก หรือ ประชาชนที่มีความ active ทางการเมืองสูง ก็ได้มอบอำนาจให้กับคนคนเดียวอย่างเด็ดขาดไปแล้ว สิ่งเหล่านี้ มันอาจจะไม่ชัดครับ หากมองเทียบกับปัจจุบันหรือสมัยคณะราษฏร์ คุณ cookiemonmon อาจจะมองว่าต่างกัน เพราะในปัจจุบัน มันมีการรูปแบบ ประชาธิปไตยที่ชัดเจนว่าจะต้องเป็นยังไง แต่ในรูปแบบ มันก็ยังแนวคิดคล้ายๆกันที่ไม่ต่างกัน อย่างไทยในสมัยจอมพล ป. ก็พิสูจน์ได้เหมือนกันกับความคิดเหล่านี้ ตอนนั้นก็มีกระแสชาตินิยม อยากได้ดินแดนที่เสียไปสมัย ร.5 กลับมาไม่ใช่เหรอครับสิ่งเหล่านี้ กระแสเหล่านี้มาจากประชาชนครับ อย่างน้อยประชาชนก็รู้จักอำนาจการปกครอง และ แอคทีฟสูง จริงๆอย่างที่ผมบอกไม่ได้มีประเทศเดียว อย่างในอเมริกาใต้ ประเทศที่พึ่งหลุดอาณานิคม รวมทั้งไทย ประเทศที่พึ่งรู้สึกได้ถึงอำนาจอธิปไตย ก็ล้วนแต่เป็นอย่างนี้ทั้งนั้น มันจะต่างกันก็แค่ รูปแบบเท่านั้น ว่า อำนาจได้มาจากผู้ปกครองคนไหน จะเป็นกษัตริย์ หรือเจ้าอาณานิคม หรืออำนาจนั้นพึ่งเป็นอำนาจเกิดใหม่จากการที่พึ่งรวมชาติได้ เพียงแต่ในกรณีของเยอรมัน หรืออิตาลี มันเป็นกรณีที่ชัดเจนที่สุดเท่านั้น ประเทศพวกนี้อาจจะไม่ได้ล่มสลาย แต่ก็กลายเป็นผู้แพ้ใช่หรือเปล่า เยอรมัน ถูกแบ่งครึ่ง แม้ถูกรวมชาติได้ แต่ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาจากการรวมชาติในแง่เศรษฐกิจที่แตกต่างใช่หรือเปลาล่ะ ดังนั้นกรณีนี้ไม่ใช่การบิดเบือนประวัติศาสตร์หรอกครับคุณ Mikoyan แต่เป็นการวิเคราะห์ในข้อเท็จจริงเดียวกันแต่มีมุมมองต่างกันเท่านั้น
อาจจะแก้หลายครั้งหน่อยขออภัย วันนี้ผมขอตอบแค่ความเห็นเดียว เลยข้อย้ำคิดย้ำทำมากหน่อย หวังว่าไม่เสียอารมณ์นะครับ
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 14:38:49
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:59:29
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:58:32
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:50:55
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:46:42
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:46:14
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:38:02
แก้ไขเมื่อ 11 ก.ค. 55 12:35:42