ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชการลที่ ๕ นั้นยังไม่มีการใช้นามสกุลแบบเต็มรูปแบบ แต่ก็มีบางตระกูลที่ใช้กันบ้างแล้ว ชื่อในสมัยนั้นโดยมากจะเป็นคำไทย ซึ่งมีลักษณะสั้นๆ ง่ายๆ และตามด้วยนามสกุล และบางคนก็ไม่มีนามสกุล แต่ชื่อยังง่ายอยู่ จึงไม่มีชื่อเล่นครับ ยกตัวอย่างเช่น ท่านสมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ชื่อตัวของท่านแค่ ช่วง คำเดียว ก็คงไม่จำเป็นต้องมีชื่อเล่นหรอกครับ
แต่ในยุคเดียวกัน ผู้ที่มีชื่อเล่นนั้นคือเชื้อพระวงศ์ครับ เพราะสมัยนั้นไหนจะยศนำหน้า ไหนจะชื่อตัว ในจะชื่อกรมตามหลัง รวมกันแล้วออกมายาวเชียว การที่จะเรียกให้เต็มทั้งหมดคงจะลำบากไม่น้อย ก็เลยเรียกแบบพอให้รู้กันครับ เช่น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ท่านก็ทรงเรียกสั้นๆ ว่า "พ่อใหญ่"
หลังจากนั้นสมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้มีการตรา พรบ.นามสกุลขึ้น ทำให้ทุกคนต้องมีนามสกุล ชนชั้นสูงก็จะประดิษฐ์นามสกุลด้วยภาษาบาลีสันสกฤต ในขณะที่ชาวบ้านทั่วๆ ไปก็ใช้ภาษาไทยธรรมดานี่แหละครับ จากค่านิยมการตั้งนามสกุลด้วยภาษาบาลีสันสกฤต ก็ลามมาถึงชื่อด้วย เพราะถ้านามสกุลเป็นบาลีสันสกฤต แต่ชื่อเป็นภาษาไทย เวลาออกเสียงแล้วมันเหมือนจะไม่ไปด้วยกัน ทีนี้ชื่อจริงจึงเริ่มมาเป็นภาษาบาลีสันสกฤตด้วย
พอเอาชื่อกับนามสกุลมารวมกัน ทีนี้ยาวแล้วครับ กว่าจะเรียกใครได้แต่ละคนต้องออกเสียงกันจนเหนื่อย นอกจากชื่อกับนามสกุลรวมกันจะยาวแล้ว (สมัยนั้นนามสกุลยาวๆ แบบคนจีนยังไม่ค่อยนิยม สมัยนั้นยังเป็น สมชาย แซ่เบ๊ กันอยู่เยอะ) เวลาออกเสียงก็ลำบากอีก ยิ่งบางบ้านลูกเด็กเล็กแดงเยอะแยะไปหมด เพื่อความง่ายและสะดวก จึงต้องตั้งชื่อเล่นขึ้นมาครับ
ดังนั้น ชื่อเล่นก็น่าจะเริ่มมามีจริงจัง ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นี่แหละครับ ในยุคแรกเริ่มก็อาจจะตัดมาจากชื่อจริงก่อน เช่น ปัทมา อาจจะเป็น ปัท เฉยๆ
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อท้องถิ่นที่ว่าเด็กเล็กๆ นั้นจะป่วยและเสียชีวิตได้ง่ายเพราะ "ผี" ชอบเด็กๆ จึงอยากมาเอาตัวไปอยู่ด้วย ชื่อเล่นจึงเริ่มเปลี่ยนกระแส จากการตัดชื่อจริง ไปเป็น สัตว์ สิ่งของ ผัก ผลไม้ ฯลฯ เพื่อหลอก "ผี" ว่าบ้านนี้ไม่มีเด็กอีกด้วยครับ
จากคุณ |
:
อย่าเชื่อผม...ผมมั่ว (Sith Lord Nindle)
|
เขียนเมื่อ |
:
11 ก.ค. 55 16:33:45
|
|
|
|