 |
สัมพัทธนิยม มีเกณฑ์ทางจริยธรรมแบ่งออกเป็น ๒ ทฤษฏีย่อย ได้แก่ สัมพัทธนิยมส่วนบุคคล และสัมพัทธนิยมทางสังคม
1.สัมพัทธนิยมส่วนบุคคล (Individual Relativism) มีทัศนะว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควร เป็นเรื่องที่มนุษย์เป็นผู้ตัดสิน ถ้าโลกนี้ไม่มีมนุษย์ ดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควร ก็จะไม่มี มีอยู่ก็แต่ปรากฏการณ์หรือข้อเท็จจริงในธรรมชาติเท่านั้น
มนุษย์แต่ละคนมีต่างจิตต่างใจ จึงมีความคิดเห็นในเรื่องดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควรแตกต่างกัน ดังนั้น ดี ชั่ว จึงมิได้มีอยู่จริง ใครจะมีความคิดเห็นอย่างไรก็ได้
ตัวแทนของกลุ่มแนวคิดทฤษฎีนี้ ก็คือ พวกโสฟิสต์ (Sophists) ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลในสมัยกรีกโบราณ ที่เรียกตัวเองว่าเป็นนักปราชญ์ พวกเขามีทัศนะว่า ความจริงที่แน่นอนตายตัวไม่มีในโลกนี้ ความจริงเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ใครเห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นก็เป็นความจริงสำหรับเขา / เธอในเวลานั้น ความจริงเป็นสิ่งสัมพัทธ์กับการรับรู้ของแต่ละบุคคล
ไม่มีความจริงที่แน่นอนตายตัวสำหรับทุกคน และยังเห็นว่า ค่าทางจริยธรรมเป็นสิ่งสัมพัทธ์ กับความรู้สึกของแต่ละบุคคล ดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควร เป็นเรื่องของความชอบ ไม่ชอบ ของแต่ละบุคคล ซึ่งต่างจิตต่างใจ ไม่มีหลักศีลธรรมที่เป็นสากล และแน่นอนตายตัวให้ทุกคนได้ยึดถือร่วมกัน ใครชอบอย่างไร ก็ดีสำหรับคนนั้น ไม่มีใครถูกใครผิด นี้ก็เป็นเพราะมนุษย์เอาตัวเอง วัดทุกสิ่ง
ดังที่โปรทากอรัส (Protagoras, 084-014 B.C.) โสฟิสต์ผู้มีชื่อเสียงคนหนึ่ง กล่าวไว้ว่า มนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง ซึ่งหมายความว่า มนุษย์แต่ละคนเป็นผู้ชี้ขาดหรือตัดสินว่า อะไรดี อะไรชั่ว ดี ชั่ว ถูก ผิด ควร ไม่ควร เป็นเครื่องต่างจิตต่างใจของแต่ละบุคคล
จากคุณ |
:
dicky5
|
เขียนเมื่อ |
:
21 ก.ค. 55 09:27:38
|
|
|
|
 |