ทุรโยธน์ และวงศ์เคารพในมหาภารตะ เป็นผู้ร้ายจริงหรือ
|
 |
นิยายมหาภารตะ ที่พบมีแต่แปลจาก ภาษาอังกฤษ และส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องปาฏิหารย์
มีของ ส.พลายน้อย ที่พูดถึงหลายสำนวนภาษาอังกฤษ เขียนต่างกัน ในเหตุการณ์เดียวกัน เช่น
พี่น้องปาณฑพ ขุดคูเชื่อมกับแม่น้ำยมมุนา สร้างระบบชลประทาน บางสำนวนว่ามีเทพเนรมิตให้
มีสำนวนของคนอื่นที่เน้นภูมิปัญญาของมนุษย์หรือไม่ เพราะเรื่องภารตะ โคลงเรื่องไม่ได้มีเทพมาเกี่ยวข้อง เป็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติ และวรรณะ แต่ถูกเสริมแต่งจนเป็นเทพอุ้มสมเสียหมด
เป็นเรื่องหลังรามายณะ และมีปมที่ผู้แต่ง ทิ้งไว้มาก เช่น
แม้ทุรโยธน์จะถูกมองว่าเป็นคนชั่วช้าในเรื่อง แต่ในมหากาพย์กล่าวว่าเขาเป็นผู้นำที่เข้มแข็งและปกครองประชาชนด้วยความยุติธรรม
ทุรโยธน์มีอคติแก่ฝ่ายปาณฑพและไม่เชื่อว่าฝ่ายปาณฑพเป็นโอรสของท้าวปาณฑุที่เกิดจากเทพ เจ้าตามคำบอกเล่าของพระนางกุนตี
และการที่เขาและน้องชายถูกภีมะรังแกในวัยเด็กสร้างความเกรียดชังฝ่ายปาณฑพทวียิ่งขึ้น
ทุรโยธน์ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีทัศนคติที่แตกต่างจากคนทั่วไปในยุคนั้น โดยเฉพาะเรื่องเหยียดผิวและชนชั้นวรรณะ
เขารับกรรณะที่เป็นศูทรเป็นเพื่อนตายและยกแคว้นอังคะไห้ปกครอง เขาเปรียบกรรณะเป็นแม่น้ำ
"ความบริสุทธิ์ของแม่น้ำนั้นขึ้นอยู่กับน้ำที่ใสสะอาด หาได้มาจากแหล่งที่มา"
นอกจากนั้นเขายังได้ชื่อว่าเป็น "นักการเมืองและนักการทูต" ที่นิยมสร้างไมตรีมากกว่าทำสงคราม
การท้ายุธิษฐิระเพื่อพนันสกาเอาบ้านเอาเมืองแทนที่จะประกาศสงครามโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด แม้ทุรโยธน์จะทำเรื่องชั่วร้ายบ้าง แต่เขาทำเพื่อโจมตีฝ่ายปาณฑพที่เป็นศัตรูฝ่ายเดียว
ในขณะที่ฝ่ายปาณฑพกลับมีปัญหากับหลายฝ่าย ทั้งกับเทวดา ทั้งปีศาจ ทั้งนาค แม้แต่สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร
ทุรโยธน์กลับมีพระราชาจากแคว้นต่างๆมาไห้การช่วยเหลือมากกว่าฝ่ายปาณฑพ
http://th.wikipedia.org/wiki/ทุรโยธน์
ทุรโยธน์ มีแนวไม่มีระบบวรรณะ ไม่เยียดเชื้อชาติ แบบเอกลัพ ที่ต้องตัดนิ้วโป้ง ให้โทรณาจารย์เพื่อเอาใจอรชุน
แต่ทำการไม่สำเร็จ และถูกใส่ร้ายจนเป็นผู้ร้ายจำเป็น แบบโจโฉในนิยายของ ล่อก่วนจง ซึ่งจริงสามเท็จเจ็ด แถมแต่งแก้เกี้ยวเรื่องสาหรี่เทราปตีอีก และนางกุนตีเป็นคนจุดชนวนในหลายเรื่อง
เรื่องนี้เป็นเรื่องเดียว ที่ร่างวิษณุอวตาร ต้องพบจุดจบอย่างอนาจ เป็นงานประพันธ์หลังพุทธกาล
เช่นเดียวกับรามายณะ เกิดการเล่าปากเปล่า แบบมุขปาฏะมาก่อน ปรากฏในคัมภีร์ปุราณะ
ที่สำคัญอารยันรู้จักการทำชลประทานจากชนพื้นเมือง ที่มีหลักฐานชัดเจน คืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
เป็นอารยธรรมในยุคสำริด (ประมาณ 2500 - 1900 ก่อนคริสตกาล) ถือกำเนิดขึ้นบริเวณลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศอินเดียและปากีสถานในปัจจุบัน
ถือเป็นอารยธรรมยุคแรกๆของโลก ซึ่งนักโบราณคดีเรียกว่ายุคฮารัปปัน วัฒนธรรมเก่าสุดเริ่มจาก
เมืองอัมรี (Amri) บริเวณปากแม่น้ำสินธุ อายุ 4,000 B.C. พบเครื่องปั้นดินเผาระบายสี คล้ายของเมโสโปเตเมีย เมืองฮารับปา และโมเหนโจ –ดาโร อายุ 2,600 – 1,900 B.C. เมืองชุคาร์ และจันหุดาโร อายุ 1,000 – 500 B.C.
http://th.wikipedia.org/wiki/อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ
อารยธรรมนี้เกิดก่อนการมาของพวกอารยัน และอารยันต้องรับวัฒนธรรม ความเจริญของชนพื้นเมืองไปใช้ เนื่องจากเจริญกว่า
มีสำนวนใดแปลจากสันสกฤตบ้าง(เรื่องย่อย มีศ.ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา แปลไว้)
รบกวนผู้รู้ชี้แนะด้วย ขอบคุณครับ
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
23 ก.ค. 55 15:00:12
|
|
|
|