 |
#19ฝรั่งก็มั่วเป็นเหมือนกัน บางเวปยังลงเป็นพม่า ในรูปมีโขลน แทนจตุรงคบาท นุ่งโจงกระเบน วาดแทบจะเป็นกางเกง
เรื่องเกราะ ขอเสนอว่าควรมีของเวียดนามเปรียบเทียบด้วย เพราะรับอิทธิพลจากจีน และอินเดีย และสภาพอากาศใกล้เคียงบ้านเรา ชำนาญการรบทางน้ำบางศึกว่าเคยชนะจีน
เส้นทางที่เป็นไปได้จากอินเดียมาไทย คือมาจากรัฐเบงกอล,อัสสัม,ลังกา ภาษาสื่อสาร เบงกาลี,ทมิฬ,สิงหล
เนื่องจากอินเดียเหนือเดินทางผ่านอัฟกัน หรือทิเบต จะสะดวกว่าลงมาทางอันดามัน ทางเรือจึงเป็นทางที่สะดวกที่สุดในการมาซิตตะเว พะสิม มอญ แล้วอ้อมแหลมมลายู หรือเทียบท่าที่เมาะตะมะ หรือเมาะลำเลิง ผ่านทางบกเข้าเชียงใหม่ หรือเมืองกาญจน์ผ่านทางมะริด ทวาย
เส้นทางสายไหมทางเรือ น่าจะมีแล้วในสมัยจัมปา เจนละ มีบันทึกการรบของเผ่าไดเวียดทั้งกับจีน และกลุ่มภาษามอญ-เขมร
ปัญหาต่อมา คือเรื่องการสวมใส่ เช่น "กรองคอ" ไม่มีการอธิบายจุดยึด ถ้าใส่แบบธรรมดาจะหมุนไปมาไม่สะดวก จากที่ดูมีรูปวาดของฝรั่ง ที่วาดนายทหารพม่าขี่ม้าด้านในกรองคอมีสายยึดอยู่ใต้รักแร้ ทำให้กรองคออยู่นิ่ง
ถ้ารัดเป็นเชือกคาดอก แบบละครขุนศึก ไม่แน่นหนาพอเวลาสู้กันในละครกรองคอยังหมุนไปมา ซึ่งไม่น่าใช้วิธีนั้น
เรื่องเครื่องมือในการผลิต ของไทยไม่ใกล้เคียงจีน เนื่องจากเครื่องสูบลม ต่างชนิดกัน ลักษณะลิ้นผ่านทางลมของจีน เป็นแบบสองทิศทาง ซึ่งไม่มีในชาติอื่น ขนาดเล็กกว่าให้ลมดีกว่า
การใช้ถ่านหิน หรือหินดำ ในการให้ความร้อน แถบอยุธยายังไม่พบที่ระบุว่ามีการใช้ถ่านหิน แต่ใช้ฝืนไม้ไผ่ใช้อุณภูมิที่สูงพอ ดังนั้นความสามารถในการหลอมโลหะ น่าจะมีข้อจำกัดมากว่าการใช้ถ่านหิน แบบที่จีนใช้
ทางเหนือของไทยอาจมีการใช้ถ่านหิน เนื่องจากรับอิทธิพลจากจีนมากกว่าภาคกลางมีลิกไนท์มากที่ลำปาง ทางเวียดนามก็น่าจะรู้จัก เพราะมีเหมืองแอนทราไซต์ที่ดีที่สุดในภูมิภาค และมีการนำทรัพยากรหลายอย่างส่งไปยังนานจิง เช่น ไม้สัก ในการต่อกองเรือมหาสมบัติ ที่อู่หลงเจียง
เบ้าหลอมโลหะ พวกหัวธนู ข้อต่อ ของไทยไม่พบที่เป็นลักษณะบร็อคโลหะ สันนิษฐานว่าเป็นไม้ หรือหิน ซึ่งไม่สามารถสร้างชิ้นงานที่มีคุณภาพดีได้
การเคลือบผิววัสดุด้วยรัก หรือแลคเกอร์ มีปรากฏในการทำเครื่องเรือนตู้ลายรดน้ำ ทั้งๆที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญไปทางจีน ใช้เคลือบผิวไม่ไผ่ทนความร้อนได้สูงมาก ทนกรด การกัดกร่อนได้ดี และไม่เป็นพิษ
มีการใช้เคลือบผิวไม้ น้ำเต้าเพื่อความทนทาน ซึ่งน่าจะใช้ในการผลิตเสื้อเกราะบางชนิด และทางเราน่าจะรู้วิธีผลิต
จากคุณ |
:
ต็กโกวคิ้วป้าย
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ก.ค. 55 10:30:07
|
|
|
|
 |