Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
หาดใหญ่เจริญด้วยคนในอดีต ติดต่อทีมงาน

หาดใหญ่เจริญเพราะคนจีนในอดีต
ผลสืบเนื่องจากการสร้างทางรถไฟผ่านโคกเสม็ดชุม
บริเวณสถานีรถไฟถึงอุโมงค์รถไฟหาดใหญ่
เป็นควนเล็ก ๆ รูปหลังเต่า
สังเกตได้ว่าช่วงน้ำท่วมจะเป็นที่ดอน
ผลจากสถานีได้ปรับเปลี่ยนเป็นชุมทางรถไฟหาดใหญ่
มีผลต่อการค้าการขาย การคมนาคม การพัฒนาที่ดิน

คำว่า หาดใหญ่ มีคำว่า บ้านทุ่งหาดใหญ่
ในพงศาวดารของเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์ ณ สงขลา)
บริเวณแถวที่ว่าการอำเภอ จนถึงบางหัก
แต่เดิมเป็นทุ่งนาเป็นส่วนมาก
จากคำบอกเล่าของ ลุงลัพย์ หนูประดิษฐ์
ปราชญ์ชาวบ้านตำบลคลองหวะ หาดใหญ่
บ้านเดิมทำนาแถวบางหักกับแถวโทรศัพท์เขตแปดหาดใหญ่

พงศาวดารเมืองสงขลา   http://goo.gl/GNntB

หาดใหญ่ น่าจะมาจากหาดทรายขนาดใหญ่
มีหาดทรายขนาดใหญ่ที่คลองอู่ตะเภา
ใกล้กับที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่
ตรงบริเวณที่สูบน้ำของเทศบาลนครหาดใหญ่
สมัยก่อนเป็นท่าทรายขนาดใหญ่
คนงานรถไฟและชาวบ้านจะไปขุดทรายไปใช้กันแถวนี้
คลองสายนี้จะมีทรายมากในสมัยก่อน
ปัจจุบันก็ยังหาได้จากคลองที่ไหลลงคลองนี้
แถวคลองหวะ จะมีทรายก่อสร้างจำนวนมาก
เคยเจอนม (ผู้หญิงมีอายุมากแล้วเป็นย่ายายของเพื่อน)
แกเล่าว่าตอนแกเด็ก ๆ แกไปวิ่งเล่นที่หาดทรายนั้น
หรือไม่ก็ไปจับหอยงมหอยเล่นทรายแถวนั้น

หาดใหญ่ ถ้าหนังสือส่วนราชการกับหนังสืออ้างอิงทั่วไป
มักจะอ้างอิงว่ามีต้นมะหาดขนาดใหญ่ กับต้นมะหาดจำนวนมาก
ขึ้นอยู่ริมคลองอู่ตะเภา
คลองอู่ตะเภาเป็นสายน้ำไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ
ถ้านั่งเรือทวนกระแสน้ำขึ้นไปจะไปที่ไทรบุรี(มาเลย์)
ต้นมะหาดเป็นไม้ท้องถิ่นทั่วไป
แต่ปัจจุบันเจอต้นเดียวในมหาวิทยาลัยหาดใหญ่
(ถ้ามีมากจริง คงจะมีหลงเหลือในหาดใหญ่มากกว่านี้)
บางคนว่ามีต้นขนาดใหญ่เห็นชัดเจนงอกอยู่ริมฝั่ง
ก่อนจะถูกน้ำพัดพาล้มไป
บางคนว่าแช่น้ำอยู่ในคลองอู่่ตะเภา
ต้องตอนน้ำลดจึงจะเห็น

ข้อมูลต้นมะหาด  

http://goo.gl/QmgI8

http://www.panmai.com/PvTree/tr_04.shtml

ส่วนเจียกีซี (ขุนนิพัทธ์จีนนคร) คือ
หัวหน้าคนงานและผู้รับเหมาแรงงานรายย่อย
ที่นำคนจีนจากแผ่นดินใหญ่มารับจ้างสร้างทางรถไฟ
ต่อมาได้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างทางรถไฟ
Subcontract จากวิศวกรเยอรมันนี
ที่สร้างอุโมงค์ชุมทางเขาชุมทองไม่สำเร็จ
ด้วยการกู้ยืมเงินจากชียุกหลั่น (พ่อของชีกิมหยง)
จากคำบอกเล่าของ นายกิตติ จิระนคร (บุตรชาย)

ผลการคบค้าสมาคมกับวิศวกรสร้างทางรถไฟ
กับวิศวกรเหมืองแร่ที่ดินลาน
รวมทั้งการไปชมเมืองอีโปร์กับปีนัง
ที่มีผังเมืองและการจัดการดีมากในสมัยนั้น
ทำให้มีวิสัยทัศน์การพัฒนาหาดใหญ่

ด้วยการสร้างบ้านให้เช่า
ขายที่ดินให้คนซื้อจะได้พัฒนา
สร้างสถานสงเคราะห์คนอนาถา
เพราะแรงงานจีนที่แก่ชราและไม่ร่ำรวย
จะได้มีที่พักพิงและอาศัยก่อนตาย

ส่วนสุสานบ้านพรุ
เป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้
ปัจจุบันบางส่วนทำเป็นสนามกีฬา
และที่ออกกำลังกายแล้ว
การสร้างสมัยนั้นเืพื่อไว้ฝังศพคนจีน
ที่นิยมการฝังมากกว่าการเผาในสมัยนั้น

ส่วนการสร้างโรงเรียนสำหรับนักเรียน
จากการคบค้าสมาคมกับฝรั่งทำเหมืองและสร้างทางรถไฟ
และเถ้าแก่เหมืองคนจีนในมาเลย์
ท่านมีความเห็นว่าควรใช้นักบวชฝรั่ง
ในการสร้างโรงเรียนเพราะมุ่งมั่นทำงาน
และให้การศึกษาได้ดีกว่าระบบโรงเรียนของไทยและจีน
เพราะนักเรียนที่จบจากโรงเรียนฝรั่ง
จะมีวินัยในการทำงานติดตัวมาจากโรงเรียน
ภาษาอังกฤษส่วนหนึ่งจะดีกว่าโรงเรียนหลวง
และการทำงานรับเงินเดือนจะสูงกว่าโรงเรียนไทยและจีน

จึงมีโรงเรียนแสงทองวิทยา และโรงเรียนธิดานุเคราะห์
โรงเรียนแสงทองครั้งแรกว่าจะใช้ชื่อ Saint Thomas
แต่เป็นยุคมาลาไทย นำไปสู่มหาอำนาจ
จึงต้องแปลงเป็นไทยว่า แสงทอง
เหมือน หันแตร บารมี จอน การาฟัด ยอด วัดชิงตัน เป็นต้น

ส่วนการสร้างโรงเรียนจีนเปิดได้ไม่กี่ปี
เพื่อการอนุเคราะห์คนจีนรุ่นเก่าที่ต้องการให้
บุตรหลานได้รู้จักหนังสือภาษาจีน
แต่ถูกปิดโรงเรียนจีนสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์

เจียกีซี (ขุนนิพัทธ์จีนนคร)
ระยะแรกเว้นทางสร้างถนนหนทางสายหนึ่งสองสาม
กว้างมากจนชาวบ้านสมัยนั้นตกใจ
แต่ปัจจุบันความกว้างไม่เีีพียงพอแล้ว
ส่วนถนนสายที่แคบลง ๆ
เพราะเป็นที่ดินของอดีตอำมาตย์คนหนึ่ง
ที่บุกเบิกและซื้อที่ดินจากชาวบ้าน
มีการทำโรงภาพยนตร์ ตลาด และบ้านให้เช่า
แต่มาจากภาคกลางจึงมีทัศนคติหวงแหนที่ดิน
ทำให้ถนนบางสายในหาดใหญ่คับแคบจนถึงปัจจุบัน

แต่เดิมถนนนิพัทธ์อุทิศ 1,2,3
ชื่อว่า ถนนเจียกีซี
ยุคมาลาไทยนำสู่มหาอำนาจ
สมัยจอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม
จึงได้เปลี่ยนไปใช้ราชทินนามของท่าน
คือ ขุนนิพัทธ์จีนนคร
รวมทั้งสมัยก่อนมีชื่อ
ถนนรัฐธรรมนูญ ต่อมาเปลี่ยนเป็น ธรรมนูญวิถี
ถนนประชาธิปไตย ต่อมาเปลี่ยนเป็น ถนนประชาธิปัตย์
สมัยจอมพลสฤษฏิ์ ธนะรัชต์ นัยว่าข้าราชการตามใจเจ้านาย

ยังมีอีกถนนคือ ถนนรัถการ จริง ๆ น่าจะเป็น รัฐการ
สันนิษฐานว่ามาจากภาษาไทยวิบัติ
การลดตัวอักษรของ จอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม
ทำให้มีการเขียนผิดเพี้ยนจากความเคยชิน
เลยรอดพ้นจากการเปลี่ยนแปลงจนถึงทุกวันนี้

ข้อมูลเพิ่มเติม ถนนรัถการ น่าจะแปลว่า การใช้รถยนต์ มาจาก รัถ แปลว่า รถ
พอดีไปสับสนกับถนนรัฐธรรมนูญ และ ถนนประชาธิปไตย
ที่มีการตั้งชื่อเฉลิมฉลองหลังการปฏิวัติปี 2475
เพราะจะมีถนนหน้าสถานี ถนนรถไฟ ดังนัี้นอีกเส้นเป็น ถนนรัถการ
น่าจะใช่และไม่แปลกแต่อย่างใด

ต้องขอขอบคุณ  RX-ALCHEMIST ที่มาทักท้วง

แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 55 23:09:58

แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 55 18:54:56

แก้ไขเมื่อ 25 ก.ค. 55 01:45:57

จากคุณ : ravio
เขียนเมื่อ : 25 ก.ค. 55 00:59:11




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com