 |
1.กำไรจากการประกอบการเริ่มถดถอย เพราะแค่ผลกระทบจากค่าแรงขั้นต่ำจาก 215 เป็น 300 ใน 7 จังหวัดยังสร้างผลกระทบในวงกว้าง ยังไม่พูดถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ และเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาท ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ ขนาดเล็กจะมีปัญหาการดำเนินการ ถ้ารัฐไม่มีมาตรการช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระต้นทุน 2. ประสิทธิภาพในการขายต่ำลง หรือพูดในทางกลับกัน คือ อัตราหนังสือคืนสูงขึ้น 3. อายุหนังสือหน้าร้านสั้นลงและหมายถึงโอกาสการขายลดลง ซึ่งส่งผลต่ออัตราหนังสือคืน 4. จำนวนหนังสือที่ผลิต ไม่สัมพันธ์กับพื้นที่ขาย วรพันธ์อธิบายเป็นข้อๆ การหารือร่วมกันเพื่อยกระดับการจัดการเรื่อง supply chain และยกประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนที่หนังสือจะล้นสต็อกและบวมจนระเบิดตัวเอง แต่นอกจากเหจุข้างต้นแล้ว สิ่งหนึ่งที่เร่งปฏิกิริยาจากทุกฝ่ายได้อย่างรวดเร็วยิ่งก็คือ จดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงศึกษาธิการ ท่านผู้อ่าน และเพื่อนสำนักพิมพ์ว่าด้วยกรณีดังกล่าว จาก วชิระ บัวสนธิ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์สามัญชน ซึ่งเป็นจดหมายที่ได้รับการเผยแพร่อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นชนวน สำคัญที่ทำให้สำนักพิมพ์ต่างๆ และคนทำหนังสือร่วมกันลงชื่อคัดค้านการปฏิบัติของซีเอ็ดและอมรินทร์ในครั้งนี้ ใจความสำคัญในจดหมายมีดังนี้ หนังสือที่เราเห็นๆ วางขายอยู่ตามร้านค้าทั่วไปนั้น หน้าร้านอาศัยกินเปอร์เซ็นต์จากเล่มที่ขายได้ เล่มใดขายไม่ได้ ก็ไม่คิดตังค์จากสำนักพิมพ์หรือสายส่งแต่ประการใดข้อปฏิบัติดังกล่าวยังคงอยู่ แต่ซีเอ็ดกับอมรินทร์ ต้องการเรียกเก็บตังค์กินเปล่าเพิ่มอีก 1% ของยอดส่งสินค้าฝากขาย โดยผิวเผิน อาจดูเหมือนเป็นตัวเลขไม่สูงเท่าไร แต่ถ้าพิจารณาจากมูลค่าปกหนังสือที่ผลิตกันในช่วงปีปัจจุบัน ซึ่งมีการประเมินกันว่าไม่น่าจะต่ำกว่าสามหมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป เช่นนี้แล้ว และหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของยอดดังกล่าวที่จะไหลเข้ากระเป๋าของสองบริษัทมหาชนอย่างมากมาย ซึ่งเหตุผลของทั้งซีเอ็ดและอมรินทร์เกี่ยวกับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้น วชิระมองว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขยายสาขาที่มีมาตลอดต่อเนื่อง ก็สะท้อนให้เห็นอยู่แล้วว่า ผลประกอบการธุรกิจด้านนี้เป็นเช่นไร ซึ่งสิ่งที่เขาวิเคราะห์ว่าจะตามมาหลังจากนี้คือ หากสำนักพิมพ์หรือสายส่งใดไม่ยอมรับเงื่อนไข ก็ไม่มีสิทธิ์ส่งหนังสือมาวางขายในร้านซีเอ็ดกับนายอินทร์ ลำพังหนังสือที่พวกเขาผลิตเองก็เหลือเฟือ แทบไม่มีที่วางขายอยู่แล้ว ซึ่งกรณีนี้นั้นถ้าธุรกิจร้านหนังสือในบ้านเราไม่ถูกผูกขาดด้วยอำนาจเงินลงทุนที่เหนือกว่า หายนะอันจะเกิดแก่สำนักพิมพ์ทั่วไป และผู้ประกอบการร้านค้ารายย่อย อาจยัง มาไม่ถึง ความหลากหลายทางชีวภาพของหนังสือก็ยังพอมีอยู่ ถ้าสำนักพิมพ์ยอมรับเงื่อนไข ก็เท่ากับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยปริยาย ซึ่งค่าใช้จ่ายที่งอกเพิ่มขึ้นฉับพลันทันทีนี้จะหาจากที่ไหน หากไม่ไปแอบขึ้นราคา ขูดรีดเอาจากผู้อ่านให้มาช่วยกันจ่ายเงินกินเปล่าแก่ซีเอ็ดและอมรินทร์ แต่ยิ่งขึ้นราคามากเท่าไร ใช่ว่าจะช่วยให้หนังสือขายได้มากขึ้นเสียที่ไหน ส่วนใหญ่เป็นตรงกันข้ามด้วยซ้ำ ทว่าการเพิ่มต้นทุนการอ่าน โดยผลักภาระให้ผู้อ่านต้องมาร่วมแบกรับเคราะห์กรรมเช่นนั้น ยิ่งพลอยส่งผลให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่กระเป๋าของสองเจ้านี้มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะตัวเลขหนึ่งเปอร์เซ็นต์จากค่ากระจายสินค้านั้น ผูกติดสนิทแน่นอยู่กับราคาหนังสือโดยตรง และในห้องเสวนา "โครงสร้างอุตสาหกรรมหนังสือ จากวันนี้สู่อนาคต" เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม สำนักพิมพ์เล็ก กลาง-ใหญ่รวมถึงผู้จัดจำหน่าย อาทิ รหัสคดี, สยามอินเตอร์, มติชน, สามัญชน, โพสต์พับลิชชิ่ง,ไต้ฝุ่น, แสงดาว เป็นต้น จึงพาเหรดมาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างคับคั่งกับวิทยากรทั้ง 5 ท่านบนเวทีเสวนาคือ วรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) ,ทนง โชติสรยุทธ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ,ถนัด ไทยปิ่นณรงค์ กรรมการผู้จัดการบริษัทอมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จำกัด, จิตรา อุเทนโพคา ประธานชมรมส่งเสริมการจัดจำหน่ายหนังสือ และปัญจรัตน์ สุหฤทดำรง กรรมการผู้จัดการบริษัท
อี.ไอ.สแควร์ พับลิชชิ่ง จำกัด วรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) อธิบายถึงโครงสร้างต้นทุนหน่วยธุรกิจเพื่อเป็นการปูพื้นให้เห็นสภาพโดยรวมว่า ปัจจุบันนี้ในหนังสือที่ตั้งราคาสมมติไว้ 100 บาทนั้น ต้นทุนของสำนักพิมพ์จะอยู่ที่ 30 บาท ในส่วนของ GP ที่ร้านหนังสือเรียกเก็บนั้นอยุ่ที่ระหว่าง 25-40% ซึ่งต้นทุนแต่ละหน่วยธุรกิจจะไม่เท่ากัน แต่คิดเฉลี่ยที่ 32% หรือ 32 บาท และยังมีค่าใช้จ่ายในการบริหารอีกประมาณ 12-15 บาทต่อเล่ม
จากคุณ |
:
Anemone2526
|
เขียนเมื่อ |
:
1 ส.ค. 55 18:12:39
|
|
|
|
 |