ไทยเราไม่ได้ปฏิเสธฝรั่งไปทั้งหมดหรอกครับ เพียงแต่ไม่ไว้ใจเฉพาะพวกฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเองก็พอดีมีเรื่องทำสงครามกับพวกฮอลันดา ก็เลยไม่ได้มายุ่งกับไทย พอฝรั่งเศสชนะก็เลยอยากจะหันกลับมาทำสัมพันธไมตรีให้ดีเหมือนเดิม โดยส่ง บาดหลวง ตาชาร์ดคนเดิมมาเป็นทูต 10 ปีให้หลัง โดยหวังจะขอเมือง(เกาะ) มะริดอีก ไทยเราก็ต้อนรับแบบเดิม แต่ก็ไม่มีอะไรใหม่ เพราะบาดหลวง แกถือหนังสือพระเจ้าหลุยส์ฉบับเก่ามา ไทยเราก็คลางแคลงใจ ผลปรากฏว่าไม่มีอะไรคืบหน้า แต่กับฝรั่งชาติอื่น ๆ ก็ทำมาค้าขายกันปกติ
ความจริงผมว่าตอนนั้นถ้าพระเพทราชาไม่ทำการรัฐประหาร พระอนุชาของพระนารายณ์ ก็คงจะได้ขึ้นครองราชแทน พระอนุชาองค์น้อยมีคิวว่าจะสมรสกับพระธิดาของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งทั้งคู่ก็เกลียดพวกฝรั่งเศสเหมือนกัน ฟอลคอนจึงตั้งใจชูพระปียร์ขึ้นมาแทน ตัวฟอลคอนเองคงไม่ได้คิดใหญ่โตขนาดทำการปฏิวัติเอง ตัวเองก็มีแผนจะไปใช้ชีวิตในฝรั่งเศสอยู่แล้ว ถึงขนาดเอาเงินลงทุนหุ้นกับบ. อิสอินเดีย ฝรั่งเศส และตัวเองก็ได้รับยศเป็นมาควิส (?) จากพระเจ้าหลุยส์อีกต่างหาก แกคงคิดแค่หาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ฝรั่งเศสในตอนนั้นก็ยังไม่ถึงขนาดจะยึดเอาประเทศไทยเป็นอาณานิคมเหมือนฝรั่งเศสยุคหลัง เพียงแต่ต้องการความสะดวกสบายและอภิสิทธในการค้าเป็นพิเศษ และต้องการทำเลที่ตั้งทัพเรือสำเภา( ซึ่งสมัยนั้นยังไม่ใช้ทหารเดินเรือ เป็นแต่เรือพ่อค้าและลูกเรือธรรมดา) ประจวบกับฟอลคอนเสนอแผนการณ์ลุกเงียบ ให้พระเจ้าหลุยส์ส่งสามัญชน( ไม่ใช่ทหาร) เข้ามาอยู่ในราชสำนักสยาม เพื่อค่อย ๆ แทรกซึมเสริมอำนาจและกำลังพลตนเอง โดยให้ตัวฟอลคอนเองคุมเกมส์ มีการกล่าวบ้างจากทางฝรั่งเศสเหมือนกันในบางตอน ว่าถ้าไม่ได้ คุมบางกอก ก็อาจใช่กำลังทหาร แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ ทั้งหมดนี่อาจเป็นเพราะพระเจ้าหลุยส์ใจร้อนเกินไป ส่งกำลังทหารมาแบบชัดเจน คนสยามก็ต้องกลัวเป็นธรรมดา ชาติอื่น ๆ กษัตริย์เขาไม่ได้เล่นโดยตรง เขามาแต่กองเรือพ่อค้า ซึ่งก็มีลูกเรือทำหน้าที่เป็นกองสู้รบไปด้วยเมือเวลาจำเป็น
จากคุณ |
:
วรรณเกษม
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ส.ค. 55 00:57:26
|
|
|
|