 |
ก่อนอื่นต้องอธิบายเรื่องที่มาของการทรงกรมเจ้านายก่อนนะครับ
การทรงกรม คือ การรวมไพร่พลตั้งขึ้นเป็นกรมแล้วให้เจ้านายบังคับบัญชาดูแลไพร่พลในกรม เพื่อใช้ในการเกณฑ์แรงงานและการทหาร หากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นว่าเจ้านายพระองค์ใด ทรงมีความรู้ความสามารถในกิจการบ้านเมือง หรือสามารถแบ่งเบาพระราชภาระ หรือสมควรเฉลิมพระเกียรติยศ ก็จะโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "เจ้าต่างกรม" โดยให้เจ้านายพระองค์นั้นมีไพร่พลในสังกัด รวบรวมขึ้นเป็นกรม และให้มีขุนนางคอยช่วยเจ้านายดูแลและบังคับบัญชาไพร่พลในกรมอีกที ยกเว้นการสถาปนาพระอัฐิเป็นกรมจะไม่มีการตั้งขุนนางกรม โดยขุนนางในกรมจะมีบรรดาศักดิ์มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่าเจ้านายพระองค์นั้นทรงกรมอะไร และไพร่พลในกรมก็จะมากน้อยตามชั้นการทรงกรมนั้นไปด้วย
สำหรับคำถามของเจ้าของกระทู้ มีว่าเจ้ากรม,ปลัดกรม,สมุห์บัญชี 1. ทำงานที่ไหน กรม หรือกระทรวงอะไร ตอบ ทำงานในวังหรือสำนักของเจ้านายที่ทรงกรมนั้นๆในกรณีเจ้านายฝ่ายหน้า สำหรับนายฝ่ายใน สถานที่ทำงานของขุนนางในกรมเห็นจะเป็นจวนของขุนนางในกรมนั้นเอง เพราะเจ้านายฝ่ายในทรงประทับในเขตพระราชฐานชั้นในบุรุษไม่สามารถเข้าไปได้ เว้นแต่จะทรงมีวังหรือพระราชสำนักของพระองค์แยกออกมาต่างหาก เช่น สมเด็จพระพันปีหลวง สมเด็จพระพันวสา ขุนนางในกรมก็จะทำราชการอยู่ที่ราชสำนักนั้นๆ เป็นต้น
2. ทำให้ใคร ตอบ ให้เจ้านายทรงกรม ที่ตนสังกัด
3. ทำหน้าที่อะไร ตอบ - สมัยที่ยังมีระบบไพร่ เจ้ากรม มีหน้าที่ควบคุมดูแลไพร่พลในสังกัดแทนเจ้านายที่ทรงกรม ปลัดกรม มีหน้าเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมดูแลไพร่พล และสมุหบัญชี มีหน้าดูแลบัญชีทะเบียนไพร่พลและงานธุรการเอกสารในกรม - สมัยยกเลิกระบบไพร่ หลัง พ.ศ. ๒๔๔๘ มีหน้าที่คล้าย ทส. บวกเลขานุการ คอยดูแลผู้คนในวังและกิจการส่วนพระองค์ รวมถึงการนำคนเข้าเฝ้า สมัยหลังจึงเรียกเจ้ากรม ปลัดกรม ว่าเจ้ากรมขอเฝ้า ปลัดกรมขอเฝ้า
4. มีเงินเดือนปี(ล)ะ(ประ)มานเท่าไหร่ ตอบ ไม่สามารถตอบตายตัวได้ เพราะขุนนางต่างกรมมีมานานมากกว่าสามร้อยปีแล้ว ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จนถึงสมัยยกเลิกบรรดาศักดิ์ แต่ธรรมเนียมการตั้งเจ้ากรม ปลัดกรมก็ยังมีมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน เพิ่งจะไม่มีเด็ดขาดเมื่อคราวสถาปนาสมเด็จพระศรีนครินทรา และสมเด็จกรมหลวงนราธิวาส ทำให้อัตราการรับเบี้ยหวัดเงินปีก็ต้องเปลี่ยนไปตามยุคสมัย และการจ่ายเบี้ยหวัดขุนนางก็ไม่เหมือนกันด้วย เช่น สมัยรัชกาลที่สองเคยจ่ายเบี้ยหวัดเป็นผ้าลายและทองแท่ง หรือสมัยรัชกาลที่สี่จ่ายเบี้ยหวัดเป็นเหรียญเม็กซิกัน เป็นต้น แต่สามารถตอบรวมๆได้ว่าเบี้ยหวัดขุนนางต่างกรม จะได้รับมากน้อยเพียงใดเห็นจะใช้ศักดินาเป็นเกณฑ์ในการตั้ง
5. ถ้าเสด็จในกรมสิ้นพระชน(ม์) ตำแหน่งทั้งหมดนั้นยังได้ใช้นามนี้อีกมั๊ย ตอบ เมื่อเจ้านายที่ทรงกรมสิ้น บรรดากรมของเจ้านายก็จะกลับมารวมกับส่วนกลาง คือของพระมหากษัตริย์ ไพร่สมของเจ้านายจะกลายเป็นไพร่หลวงของพระมหากษัตริย์ ส่วนเจ้ากรม ปลัดกรม สมุหบัญชี ยังใช้บรรดาศักดิ์และราชทินนามคงอยู่เหมือนเดิม
แก้ไขเมื่อ 10 ส.ค. 55 01:13:34
จากคุณ |
:
arawadee
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ส.ค. 55 01:09:54
|
|
|
|
 |