 |
สิบโมงเช้าผ่านไป...ไม่มีสัญญาณตอบรับมาจากฟากของเกิบเบิ้ลส์หรือบอร์มันน์ ทุกอย่างคงเงียบสงบ.. แม่ทัพซูคอฟอดทนรอไปอีกจนถึง 10:40 ความอดทนจึงได้สิ้นสุดลง.. เสียงปืนใหญ่คำรามขึ้นพร้อมกัน เป้าหมายนั้นคือ ใจกลางกรุงเบอร์ลินทที่แทบแหลกเละ
แปดชั่วโมงผ่านไป...ข่าวส่งเข้ามาบอกว่า ทั้งเกิบเบิ้ลส์และบอร์มันน์ไม่ขอรับข้อเสนอในการยอมแพ้แบบไม่มีเงื่อนไข... สามสิบนาทีจากนั้นมา..ปากกระบอกปืนใหญ่จากทุกมุมได้หันเข้าสู่ ในบริเวณที่เป็นศูนย์ทำการของรัฐบาล เป็นที่รู้จักกันว่า Imperial Chancellery ( Reichskanzlei) พร้อมถล่มแบบเอาเป็นเอาตาย..เพราะภายใต้ของสถานที่แห่งนั้น คือ หลุมหลบภัยใต้ดินของฮิตเล่อร์
****ในช่วงนั้น..คือการประวิงเวลาของบอร์มันน์ เพราะเขาได้ทำการหลบหนีออกจากเมืองไปแล้ว...เรื่องนี้น่าสนใจมาก เพราะทั้งโซเวียตและแกนนำของยิว นายไซมอน วีเซนธัล ( Simon Weisenthal ) ตามหากันอย่างพลิกแผ่นดิน..ดิฉันตั้งใจไว้ว่าจะนำเรื่องการล่านาซีรายตัวมาเล่าให้ฟังทีหลัง...วิวันดา
ในบันทึกของแม่ทัพซูคอฟ...ท่านว่า "คนที่ึมีชัยเหนือเบอร์ลินได้นั้น คือทหารทุกคน..ที่ต่างมาจากเมืองแห่งวีรบุรุษของเรา เช่น มอสควา สตาลินกราด เลนินกราด ยูเครน เบโลรุสเชีย และคอเคซัส หลายคนมาด้วยใจแม้ว่าร่างกายยังเต็มไปด้วยบาดแผลจากสงครามที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ขอพลาดโอกาสในการร่วมทัพมาในครั้งนี้ การสู้รบจึงเต็มไปด้วยแรงพลังอันมหาศาล
แต่อย่างไรก็ดี ในยุทธการกรุงเบอร์ลินนี้ ทหารโซเวียตได้เอาชีวิตมาทิ้งไว้ร่วมแสนนาย บาดเจ็บอีกสองแสน ในขณะที่เบอร์ลินกำลังถูกถล่มนั้น..การสู้รบระหว่างเยอรมันกับสัมพันธมิตรในเวทีอื่นๆก็ยังดำเนินต่อไป เช่น ที่ อิตาลี เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ บาวาเรีย และส่วนตอนกลางของยุโรป.... เพราะทุกคนไม่รู้ว่าทางต้นสังกัดจะเอาอย่างไร จนในวันที่ 2 เมษายน คือวันที่ แม่ทัพ Kurt von Tippelskirch และ แม่ทัพ Hasso von Manteuffel ได้ยอมจำนนต่อกองทัพโซเวียต หลังจากที่แม่ทัพ Weidling ได้วางอาวุธนำหน้าไปแล้วเมื่อวันก่อน ในที่สุด..หลังจากที่ทัพของนาซีที่ ค่าย Breslau ติ่งชายเขตโปแลนด์ แตกพ่ายลงในวันที่ 6 พฤษภาคม นั้นหมายถึงเป็นการหมดสิ้นทุกสิ่งอันสำหรับเยอรมัน
ดังนั้น..เยอรมันจึงต้องรับสภาพของการแพ้สงครามอย่างไม่มีเงื่อนไขไปโดยปริยาย
ในวันต่อมาคือสองนาฬิกาของวันที่เจ็ด แม่ทัพไกเทลผู้ที่ได้รับมอบหมายจากจอมพลโดนิทซ์..ต้องเดินทางไปที่ศูนย์ SHAEF*** ( Supreme Headquarters Allied Expeditionary Force) ที่อยู่ที่เมืองแรนซ์ แคว้น ฌองปานญ์-อาร์เดนน์ ตะวันออกส่วนเหนือของฝรั่งเศส เพื่อไปทำการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษร ฝ่ายสัมพันธมิตร มี นายพลไอเซ่นฮาวร์ ที่ขู่ฟ่อๆมาตลอดว่า ต้องยอมรับสภาพการยับเยินทุกอย่างโดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น..(สัญญากับอเมริกาและอังกฤษคือคนละฉบับ แต่มาลงนามด้วยกันที่นี่..นายพล Montgomery และ แม่ทัพอากาศ Sir Trafford Leigh-Mallory เป็นตัวแทนฝ่ายของอังกฤษ)
ส่วนการลงนามกับโซเวียตนั้น แม่ทัพซูคอฟและคณะนั่งคอยอยู่ที่เบอร์ลิน.. จอมพลไกเทลจะต้องรีบเดินทางกลับจาก Reims เพื่อไปลงนามกับแม่ทัพซูคอฟอีกหนึ่งฉบับ ที่ Karshorst, Berlin ในวันรุ่งขึ้น ที่ 8 พฤษภาคม
***ขอเม้าท์หน่อยนึงค่ะ..อย่าได้คิดว่าเป็นการคุยอวดหรือมีเจตนาอื่น.. แต่อยากเล่าเพราะไปสัมผัสมาด้วยตัวเอง...ที่ ศูนย์ SHAEF เมือง Reims นั้น อยู่ใกล้บ้านของดิฉัน (ที่ฝรั่งเศส) เลยค่ะ เดินไปแต่สิบห้านาทีก็ถึง..เป็นเหมือนกับอาคารสองชั้นเชื่อมต่อกับโรงเรียนมัธยม ออกจะคับแคบ (ประหลาดใจไหมคะ?) มืดทึม..ห้องที่ทำการลงนามนั้น ยังจัดวางอยู่ที่เดิมตามตำแหน่ง แต่เขาเอากระจกขนาดใหญ่มากั้น..มีป้ายเขียนบอกว่า ใครนั่งตรงไหน กระดาษ ปากกา ก็ยังอยู่.. ห้ามถ่ายรูป...เงียบสงัดจนเราต้องกระซิบคุยกัน..อีกห้องหนึ่งเขาจะมีฉายภาพยนตร์ตอนลงนามให้ชม รวมไปถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องอื่นๆสำหรับนักเรียนและผู้ที่สนใจ..
ภาพ....Left to right: Lieutenant General Omar Bradley, Commander in Chief, 1st US Army Group; Admiral Sir Bertram H Ramsay, Allied Naval Commander in Chief, Expeditionary Force; Air Chief Marshal Sir Arthur W Tedder, Deputy Supreme Commander, Expeditionary Force; General Dwight D Eisenhower, Supreme Commander, Expeditionary Force; General Sir Bernard Montgomery, Commander in Chief 21st Army Group; Air Chief Marshal Sir Trafford Leigh-Mallory, Allied Air Commander, Expeditionary Force; and Lieutenant General Walter Bedell Smith, Chief of Staff to General Eisenhower.
จากคุณ |
:
WIWANDA
|
เขียนเมื่อ |
:
14 ส.ค. 55 16:58:54
|
|
|
|
 |