ตอนไปเที่ยวนครวัต ไกด์เขมรเล่าว่าศรีธนญชัยเป็นของเขมร เอามาฝากเล่นๆ ว่าเพื่อนบ้านเขาคิดไง
ศร๊ธนญชัยเคยอ่านนานมากแล้วสมัยเด็กๆ แต่พอจำความได้ ถ้าอ่านเอาเรื่อง ก็จะรู้สึกว่าเป็นการเล่นเกมม์ตลบแตลง แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เอาดีเข้าตัว อะไรก็ว่าไปตามท้องเรื่องที่กล่าวขานกันไป
แต่สำหรับผมแล้วเรื่องศรธนญชัยถ้ามองให้ลึกซึ้งกว่านั้น เป็นกรณีตัวอย่างของปัญหาปรัชญาภาษาไทยอย่างลึกซึ้งทีเดียว ซึ่งนักศึกษาวิชาปรัชญาไทยน่าจะทำปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาเอกได้เลย เรื่องราวศรี่ธนญชัยถ้าสังเกตให้ดี จะเป็นเรื่องของป้ญหาการใช้ภาษา ความกำกวมของคำ การใช้ภาษาที่ไม่ถูกกาละเทศะ และแม้แต่จิตวิทยาการใช้ภาษาก็ตาม ผมไม่รู้ว่าศรีธนญชัยแต่งมากี่ร้อยปี แต่ที่แน่ๆ คือ ปัญหาการใช้ภาษาที่แสดงให้เห็นในเรื่อง ฝรั่งตะว้นตกเพิ่งมาวิเคราะห์วิจัยกันไม่ถึงร้อยปี เช่น ปัญหาการใช้ขอบข่ายคำ Connotation/denotation และอีกตัวอย่างหนึ่งที่เห็นในนิทานศรีธนญชัยออกบ่อยคือ การใช้สองคำแต่หมายถึงสิ่งเดียวกัน เช่น Morning star/Evening star หมายถึงดาว Venus จนได้ระบบปรัชญาภาษาอันแข็งแกร่งจนพัฒนากลายเป็นภาษาสัญญลักษณ์ที่เห็นอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ปัจจุบัน
เสียดายว่าคนไทยอ่านนิทานเอาความที่ผิว ไม่พยายามมองหานัยยะที่สื่อในนิทานพื้นบ้านนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นนิทานพิ้นบ้านในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่เล่าต่อๆ กันมา หลายร้อยปี แต่งเสริมเติมความตามยุคสมัย
น่าเสียดายว่า มรดกปรัชญาภาษาของรุ่นปู่รุ่นย่าที่คนไทยรุ่นหลานเหลนยังไม่สามารถถอดรหัสได้
แก้ไขเมื่อ 09 ต.ค. 55 21:27:33
จากคุณ |
:
นกเถื่อน
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ต.ค. 55 21:23:19
|
|
|
|