 |
เนื้อหาในศึกอิเหลง เกินกว่าครึ่งเป็น "วรรณกรรม" เป็นเรื่องราวที่ถูกเติมเสริมเข้าไปโดยหลอก้วนจงให้เรื่องสนุก ดังนั้นเรื่องค่ายกลขงเบ้ง อ่านเอามันสพอ
ถ้าวิเคราะห์ในเชิงปวศ. มีคนอธิบายและวิเคราะห์เรื่องนศึกอิเหลงไว้เยอะแล้ว ผมเอามาเขียนต่ออีกทีก็พอจะอธิบายได้ว่า
1.ในเรื่อง ขงเบ้ง ทัดทานเล่าปี่แล้ว แต่เล่าปี่ไม่ฟัง ดังนั้นงานของขงเบ้งคือการป้องกันความผิดพลาดหลังศึก แต่คนที่ทำหน้าที่นี้ในปวศ.และควรได้เครดิตคือจูล่งที่พากองทัพหลังไปช่วยเล่าปี่กลับมาเมืองเป้กเต้เสียได้
2.เล่าปี่ ไม่เคยวางใจให้ขงเบ้งบัญชาการกองทัพเอง ขงเบ้งตลอดเวลาที่อยู่กับเล่าปี่ ทำหน้าที่หลักคือเสนาธิการกองทัพ ทำหน้าที่คอยอยู่แนวหลัง และปกครอง จัดระเบียบบริหารที่เสฉวน ถ้านับในปวศ.จริงๆ ช่วงที่เล่าปี่ยังมีชีวิตอยู่ มีแค่ครั้งเดียวที่ขงเบ้งบัญชากองทัพเองนั่นคือตอนที่นำทัพเสริมมาจากเกงจิ๋วเพื่อประสานกับเล่าปี่ที่เสฉวน แต่นั่นก็มาแนวยกทัพตามมา ไม่ได้ทำศึกอะไร อีกทั้งหน้าที่หลักขงเบ้งในปวศ.คือการการปกครองดูแลเสฉวนและให้คำแนะนำด้านกลยุทธ์ในภาพรวม ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่เล่าปี่จะไม่พาขงเบ้งไป ยิ่งรวมกับการที่ขงเบ้งทัดทานเล่าปี่ด้วยแล้ว
3.ขงเบ้งตัวจริงในปวศ.เป็นนักปกครอง ไม่ได้เก่งในทางทหาร ผลงานด้านการทหารของขงเบ้งที่จับต้องได้ในปวศ.คือการเขียนพิชัยสงครามของตนเอง เกี่ยวกับการจัดการบริหารกองทัพและคัดสรรขุนพล ที่เด่นมากจนแม่ทัพหลี่จิ้งผู้ไร้พ่ายในราชวงศ์ถังเอาไปเป็นต้นแบบในตำราพิชัยสงครามของตนเอง อีกด้านคือการเป็นผู้กำหนดนโยบายหลงจงให้เล่าปี่ ซึ่งเป็นนโยบายหลักของจ๊กก๊กตั้งแต่วันแรก
4.ศึกอิเหลงนี้ ในนิยายสามก๊กระบุว่า ยกทัพไปถึง 700,000 คน แต่ในการค้นคว้าเชิงปวศ. มีการค้นพบใหม่ว่า เล่าปี่น่าจะนัำทัพไปเพียง 80,000-200,000 คนเท่านั้น เพราะประชากรเสฉวนแม้จะมีมาก แต่เป็นชาวนาซะเยอะ การจะเกณฑ์ให้ได้มากถึง 700,000 คนย่อมยากมาก ดังนั้นโอกาสจะแพ้ฝ่ายง่อที่ทุ่มกำลังรวมศูนย์ทั้งหมดมาต้านทานไว้ก็ย่อมมี (เพราะขนาดโจโฉ เมื่อครั้งทืี่รับประชากรชาวผ้าเหลืองมาไว้ในอาณัติถึง 1 ล้านคน ยังเกณฑ์พวกนี้มาเป็นทหารได้ไม่ถึงแสนด้วยซ้ำ)
จากคุณ |
:
eagle1000
|
เขียนเมื่อ |
:
16 พ.ย. 55 03:20:03
|
|
|
|
 |