 |
เจ้าของกระทู้บอกว่าโปรแกรมอินเตอร์ใช้ข้อสอบแบบเดียวกัน เหมือนกันทั่วโลก ข้อสอบคล้ายกันทุกครั้ง และสอบได้ปีละหลายครั้งตั้งแต่อยู่ ม.4 ทำให้พอสอบเห็นคะแนนก็รู้แล้วว่าจะเข้าที่ไหนได้ ถ้าคะแนนไม่ถึงก็ไปติวมาสอบใหม่เรื่อยๆ และสามารถยื่นทุกคณะได้อย่างไม่เกี่ยวข้องกัน ทำให้บางคนติดถึง 7-8 คณะในคราวเดียว ถูกบางส่วนครับ คือส่วนท้าย ๆ เพราะมหาวิทยาลัยไทยที่เปิดโปรแกรมอินเตอร์ใช้วิธีรับนักเรียนแบบรับตรง คือจัดการรับสมัครด้วยตนเอง มีเกณฑ์การรับเข้าของตนเอง นักเรียนสามารถสมัครได้หลาย ๆ คณะ
แต่ตัวข้อสอบที่เจ้าของกระทู้บอกว่าเป็นแบบเดียวกัน คล้ายกันทุกครั้งนั้น คงหมายถึงข้อสอบ SAT รวมทั้ง TOEFL / IELTs
องค์กรที่จัดการสอบ SAT คือ College Board การสอบ SAT มี 2 แบบคือ SAT Reasoning Test ประกอบด้วย Critical Reading, Math และ Writing แต่ละ part คะแนนเต็ม 800 รวม 2400 อีกแบบหนึ่งคือ SAT Subjects มีหลายวิชาให้เลือก คะแนนเต็มวิชาละ 800 เช่นกัน นักเรียนจะเลือกสอบวิชาใดขี้นอยู่กับคณะที่เขาสมัครกำหนดให้ส่งคะแนนอะไรบ้าง ถ้าคณะนั้นไม่กำหนดก็ไม่ต้องสอบ
ดังนั้นการสอบ SAT รวมทั้ง TOEFL / IELTS ไม่ใช่การสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่เป็นการสอบเพื่อเก็บคะแนนไว้ เอาไว้ยื่นให้คณะที่จะสมัครพิจารณา ถ้าคะแนนสูงพอตามที่คณะนั้นกำหนดโอกาสเข้าได้ก็มี แต่ถ้าคะแนนต่ำก็อาจจะเข้าไม่ได้ การสอบ SAT แต่ละปีทาง College Board กำหนดให้สอบปีละ 6 ครั้ง มีปฏิทินชัดเจน ลงทะเบียนสมัคร online นักเรียนบางคนอาจลงสอบหลายครั้ง ถ้าคะแนนยังไม่ดี
ตัวข้อสอบ SAT หรือ TOEFL/ IELTS จะไม่เหมือนกันทุกครั้งหรอกครับ ส่วนจะคล้ายกันหรือไม่ อาจมีส่วน แต่ก็ไม่แน่เสมอไป ซึ่งก็เหมือนกับข้อสอบ GAT PAT ของเด็กไทย สอบปีละ 2 ครั้ง ข้อสอบอาจคล้ายกัน เพราะเนื้อหาคลอบคลุมสิ่งที่นักเรียนเรียน แต่จะตัวข้อสอบจริง ๆ ไม่เหมือนกันหรอกครับ เพราะถ้าเหมือนกันก็ไม่ต้องสอบหลายครั้ง สอบครั้งที่สองก็ได้คะแนนเต็มแล้ว คนออกข้อสอบเขาก็จะพลิกแพลงไป แต่เนื้อหาที่ออกสอบก็ครอบคลุมกับความรู้ที่นักเรียนเรียนมา
แต่ละคณะที่เป็นโปรแกรมอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยไทย จะมีเกณฑ์ในการรับสมัครต่างกัน บางคณะก็กำหนดให้นักเรียนยื่น SAT และอาจดูแค่ 2 parts คือ Critical Reading และ Math บางคณะที่เป็นคณะวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมอาจกำหนดให้ส่งคะแนน SAT Physics และ/หรือ Chemistry / Biology เพิ่มก็ได้ ต้องดูเกณฑ์ของแต่ละคณะ บางมหาวิทยาลัยรับทั้ง SAT ถ้านักเรียนสอบไว้ แต่ถ้าไม่มี บางคณะก็จัดสอบให้เช่น BE (Economics)ของ TU ใครมีคะแนน SAT Math สูงตามที่คณะ BE กำหนดไว้ก็ส่งได้ แต่ถ้าไม่มี ทาง BE ก็จัดสอบ Math ให้ ส่วนคะแนนภาษาอังกฤษก็อาจจะส่ง Critical Reading หรือ TOEFL หรือ IELTS ก็ได้ ถ้าไม่มี ก็ไปสอบภาษาอังกฤษของ BE ได้ ถ้าเข้า มหิดลอินเตอร์ อาจจะยื่นคะแนน SAT หรือ TOEFL/ IELTS ได้ ถ้าไม่มีก็สอบข้อสอบของมหิดลก็ได้ ดังนั้นเกณฑ์การรับเข้าแต่ละมหาวิทยาลัยก็ต่างกัน เพราะเป็นระบบรับตรง มหาวิทยาลัยจัดการรับเอง ต้องศึกษาดูว่าแต่ละคณะต้องการคะแนนอะไรบ้าง
การจะเข้าคณะที่เปิดอินเตอร์ก็ดูด้วยนะครับ เพราะใช่ว่า บางมหาวิทยลัย เปิดคณะอินเตอร์ แต่ไม่มีคุณภาพ สักแต่ว่าเปิด อาจารย์ที่สอนก็ไม่มี Native Speaker เลย มีแต่อาจารย์ไทย ที่มีความรู้ระดับดอกเตอร์แต่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง สอนไม่คล่อง สอนไปสอนมา พูดภาษาไทยเลย บรรยากาศการเรียนการสอนก็ไม่ได้เป็นอินเตอร์ ต้องศึกษาดูดี ๆ เพราะบางที่เป็นอินเตอร์แค่ชื่อ แค่หลักสูตร แต่ความเป็นจริง ยังเป็นแบบไทย ๆ
จากคุณ |
:
michaeltawan (michaeltawan)
|
เขียนเมื่อ |
:
9 พ.ย. 55 21:54:39
|
|
|
|
 |