การเขียนบทละคร จะอาศัยจินตนาการล้วนๆ (อธิบายไม่ยาว แต่หลักการจินตนาการจะต้องพูดกันยาวหน่อย หากสนใจจริงๆต้องหลังไมค์) - จะต้องรู้จักการวางโครงร่างของเรื่อง - สามารถ แตกบทย่อยได้หลายๆแบบจะได้ไม่ตัน เช่น เพียงนำภาพอะไรก็ได้มาดูสักภาพ (+ผมยกตัวอย่าง ภาพที่มีคนยืนมองต้นไม้ ใส่จินตนาการไปเลยว่า ยืนมองแล้วตัวละครคิดอะไร ลองเขียนบทจากภาพที่เรานำมาลองเขียนว่าจะให้ตัวละครกำลังคิดอะไร - คิดว่า เมื่อไร ผลของต้นไม้จะออก - คิดจะปีนต้นไม้เล่น - คิดจะตัดกิ่งไม้มาทำอะไรสักอย่าง หากสามารถแตกบทย่อยได้ไม่หมดจินตนาการ จะเขียนบทได้แบบไม่ตัน)
เมื่อคิดบทเนื้อเรื่องได้แล้ว ตราวนี้ลองปรับปรุงบทเปลี่ยนแปลงเพราะบางทีเราไปขอความคิดจากเพื่อนๆรอบๆตัวมาช่วยออกความคิด แต่เพื่อนๆก็คิดในแบบย่อยๆให้เรา เราต้องแตกรายละเอียดของบทปรับปรุงให้เข้ากับบทเดิมของเรา วันดีคืนดีถูกเปลี่ยนให้แก้บทบางจุด หรือบทบางจุดอ่อนเหตุผล เพราะหากแก้บางจุดจะส่งผลไต่อบทตอนต่อๆไแด้วย บางทีใส่ตัวละครลงไปเพิ่มจะต้องไปแก้ที่จุดเริ่มต้นของบทด้วย การปรับปรุงบท จะมีหลายสาเหตุ เช่น ตอนแรกวางแผนงานตัวละครเป็บบทวัยรุ่น แต่ทางผู้ผลิตต้องการให้เป็นตัวละครเด็ก (ละครสำหรับเด็ก) ต้องปรับปรุงบทใหม่แก้บางจุดเปลี่ยนตัวละครเป็นเด็ก ต้องมีข้ออ้างอิงถึงผู้ใหญ่ที่เป็นพ่อแม่ผู้ปกครอง
จากคุณ |
:
นักเขียน ใส้แห้ง
|
เขียนเมื่อ |
:
17 พ.ย. 55 23:58:50
|
|
|
|