ความคิดเห็นที่ 2
ก็อปคำตอบของคุณ Song 982 ดูเหมือนเมื่อกลางปีเขาได้ตอบครั้งหนึ่งแล้ว
วรรณกรรมคลาสสิก
ได้แก่งานเขียนใดๆ ก็ตามที่มีเนื้อเรื่องได้มาจาก นิทานนิยาย(Myths and legends) ของกรีกและละตินโบราณ ส่วนมากมักจะเขียนในรูปมหากาพย์(epic) และบทละคร (drama) เช่น The Story of Troy (เรื่องราวของกรุงทรอย) หรือ The Story fo Thebes (เรื่องราวของกรุงธีบีส) เป็นต้นดังที่กล่าว นิยายทั้งของตะวันตกและตะวันออกแต่เดิมมาจึงมักจะเป็นร้อยกรองมาเริ่มเป็นนิยายที่เป็นร้อยแก้วในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ในยุโรปแล้วเกิดกลวิธีอื่นๆ นอกเหนือไปจากที่มีมาแต่เดิมเพิ่มเติมขึ้นมา กล่าวคือกลวิธีที่มิได้ใช้ในนิยายแต่เดิมนั้นมีอยู่ ๒ - ๓ อย่าง ที่น่าสังเกตก็มี - ในนิยายแต่เดิมมานั้น คำพูดของตัวละครจัดเข้าอยู่ในคำบรรยายของผู้แต่ง เช่น ในนิยายอิงพงศาวดารจีน จะมีกลวิธีการใช้คำพูด"เตียวอ๋องได้ฟังสำคัญว่าคนโดยสารถาม ไม่แจ้งว่าเตียสูนปลอมมาจึ่งตอบว่าว การนี้น่าหัวเราะ พูดพลางก็เดินเข้าไปในประทุน เตียสูนจับเตียวอ๋องกดลงไว้แล้วร้องตวาดว่า โจรร้ายจำเราได้หรือไม่" (ซ้องกั๋ง เล่ม ๒ หน้า ๑๐๗, สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์:ผู้อำนวยการแปล) แต่ในนวนิยาย คำพูดของตัวละครนิยมให้เหมือนคำพูดของมนุษย์ในชีวิตจริงๆ มากที่สุด เช่นออกจากโรงภาพยนตร์ และรับประทานของว่างเบาๆ ด้วยกันแถวนั้นเสร็จแล้วจึงกลับไปที่รถ"ไปไหนต่อดีล่ะคะ" เปรียบดาวถาม"แล้วแต่เปรียบ""เอ ที่ไหนดีเอ่ย สวนสัตว์ดุสิตเป็นไงคะ" (วิวาห์วน หน้า ๑๖๗-๘ ,ศรีสัตตบุษย์ (โศภี สุดสก)) อีกกลวิธีหนึ่งที่แปลกไปจากนิยายแบบเดิมก็คือการกล่าวถึงอาการกิริยาของตัวละคร ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพแจ่มชัด เช่น บนห้องโถงชั้นล่างของตัวตึก มีลูกค้านั่งบริโภคอยู่แล้วเกือบทุกโต๊ะ รามจึงพาภรรยาไปนั่งทางปีกตึกด้านหนึ่งที่ยังมีโต๊ะว่างอยู่มากเปรียบดาวรับเมนูไปพลิกดู พอเห็นหน้าแรกหล่อนก็พูดแกมหัวเรากับสามี"อ้อ! มีภาษาไทยด้วย สิ้นเคราะห์ไปที ไม่ยังมีแต่ภาษาจีนล้วนๆ มั่ง" (เรื่องเดิม หน้า ๑๗๖) และอีกอย่างหนึ่งที่ควรกล่าวคือ การใช้วิธีบอกอาการกิริยาของตัวละครแทนที่จะใช้คำพูดออกมาให้จะแจ้ง เป็นการช่วยบอกลักษณะนิสัยของตัวละคร แทนที่ผู้แต่งจะบอกเองว่าตัวนั้นเป็นคนชนิดนั้นชนิดนี้ หรือให้ตัวละครตัวอื่นบอกล่าวว่าตัวนั้นๆ เป็นคนมีอุปนิสัยชนิดนั้น ชนิดนี้ ในนวนิยายอาจใช้วิธีการดังนี้....พูดแล้วเขาก็ลุกขึ้นยืน แล้วออกเดินเพื่อจะไปห้องน้ำ เมื่อผ่านน้องชาย เขาก็ตบบ่าเบาๆ อย่างปลอบใจรัตน์แหงนหน้าขึ้นยิ้มรับ เป็นยิ้มที่แสดงความรู้สึกรักใครแกมบูชาอย่างจริงใจที่เ้ขามีต่อชายผู้พี่ ( ผู้ดี, หน้า ๑๒๗, ดอกไม้สด(ม.ล.บุบผา นิมมานเหมินท์)) สิ่งที่ควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งในนวนิยาย คือ ฉาก เมื่อกล่าวถึงการแสดงละคร เราย่อมเข้าใจกันว่า ฉากเป็นวัตถุที่เป็นอุปกรณ์การแสดง แต่เมื่อกล่าวถึงนวนิยายแล้วอ้างถึงฉาก เรามักไม่เข้าใจ ในนวนิยาย ฉากมิใช่วัตถุอย่างฉากละคร วัสดุของฉากของนวนิยายนั้น คือถ้อยคำสำนวนที่ใช้วาดมโนภาพบ้าง หรือบอกกล่าวประวัติของบุคคลหรือสถานที่หรือยุคสมัยที่เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นหรือดำเนินไป ในนิยายแบบเดิม ผู้แต่งจะบอกให้รู้ยุคสมัย รู้ลักษณะภูมิประเทศไว้ชัดเจ้ง แต่ในนวนิยาย ผู้ประพันธ์อาจบอกถึงฉากด้วยกลวิธีต่างๆ ที่เราอาจไม่สังเกต ถ้าไม่เรียนวิธีสังเกตไว้ นวนิยายยังแยกออกไปเป็นหลายชนิด การแบ่งออกอย่างหยาบๆ เป็น ๒ ชนิดคือ ชนิดพาฝัน (romantic) และ ชนิดวาดภาพชีวิต (realistic) อนึ่ง ตามปกติทุกๆ ประเทศจะแบ่งวรรณกรรมออกเป็นจำพวกใหญ่ๆ ๒ จำพวกก่อน คือ่ จำพวกร้อยกรอง และจำพวกร้อยแก้ว หรือจะแบ่งออกอีกวิธีหนึ่ง คือ จำพวกบันเทิงคดี และจำพวกสารคดี ทางตะวันตกแทนที่จะแบ่งออกเป็นสารคดีและบันเทิงคดี เขามักจะแบ่งออกเป็นเรื่อง สมมติ(fiction) กับเรื่องไม่สมมติ (nonfiction) Fiction (เรื่องสมมติ) เช่น นิยายนิทาน นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร เป็นต้น ทั้งนี้ก็เป็นได้ทั้งงานเขียนประเภทร้อยแก้ว และร้อยกรอง
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. "แว่นวรรณกรรม" .กองทุนหม่อมหลวงบุญเหลือ เทพยสุวรรณ ๒๕๓๙
ว. วินิจฉัยกุล(วินิตา ดิถียนต์). "ปากไก่วรรณกรรม" สำนักพิมพ์ดอกหญ้า ๒๕๓๗
สิทธา พินิจภูวดล และนิตยา กาญจนวรรณ. "ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย" . มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๕๑๕.
สิทธา พินิจภูวดล และรื่นฤทัย สัจจพันธุ์ "วรรณคดีเปรียบเทียบ". มหาวิทยาลัยรามคำแหง ๒๕๔๐ ++++++
อิอิอิ.....จำเป็นต้องอ้างบรรณานุกรม...กลัวถูกกล่าวหาว่า เลอะเทอะ....อิอิอิอิ ความเห็นที่ 5 ...โดย song982 17 ก.ย. 46 11:46:29
อ้างอิง: http://www.jjbook.com/jjtalk/view.phpqs_qno=577.
ขอบคุณคุณ Song 982 ค่ะ
จากคุณ :
โปรดปราน ( พีพี )
- [
18 ธ.ค. 46 17:40:15
]
|
|
|