ม่ะรู้ว่าสไตล์ Carl Becker เขียนยังไง แต่ส่วนใหญ่ของนักศึกษาประวัติศาสตร์อังกิดนั้น จะใช้คัมภีร์ของออกซิฟอร์ดเป็นหลักง่ะ แล้วค่อยหาแยกย่อยออกไป
คือว่าคุณเมธาวดี (ไม่คุ้นกะชื่อใหม่นี้เลยเจงๆ ไปได้แรงบันดาลมาจากไหนเนี่ย) ต้องรู้ก่อนว่า อยากอ่านประวัติศาสตร์ยุคไหน เพราะเขาแบ่งเป็น 18 ยุคอ่ะ เริ่มตั้งแต่ Roman Britain and the English Settlements เรื่อยๆๆๆๆๆๆๆ ไป จนถึงปัจจุบัน
ถ้าเป็นคนบ้าประวัติศาสตร์ อ่านแล้วจะติดหนึบ แล้วจะไปค้นหาแต่นวนิยายอิงประวัติศาสตร์มาอ่าน เพราะจะอ่านรู้เรื่องแล้ว รู้ที่มาที่ไป (อย่างดังๆ ยุคโบราณ ก็มี The Pillars of the Earth ของ Ken Follett หรือ Time Line ของ Michael Crichton)
งั่มๆ คือตอนนี้กะลังหลงหนังสือ Modern History ของ Carl Becker อ่ะคับ ไม่รู้ว่าตาคนนี้ตายไปรึยัง อ่านหนังสือของแกแล้วเหมือนกับ....มีตาแก่มาเล่าเรื่องให้ฟังอยู่ตรงหน้า แต่แกก็ยังสามารถรักษามาตรฐานในการเขียนอ้างอิงตลอดจนฟุตโน้ตได้อ่ะ อารมณ์อ่านประมาณนี้ถ้าหนังสือไทยมีคนเดียวก็แค่ยาขอบอ่ะคับ (แต่ยาขอบทำเชิงวิชาการบ่ได้อ่ะ)
1. "O Liberty, what crimes have been committed in thy name."
"O liberte que de crimes on commet en ton nom."
2. ข้อความที่ถูกต้อง => => "A horse! A horse! My kingdom for a horse!"
ที่มาสาเหตุของประโยคนี้ ก็คือ Richard III ต่อสู้อยู่ในสนามรบ ม้าศึกถูกฆ่าตาย และริชาร์ดเอง ต้องยืนต่อสู้บนสองขา ซึ่งเป็นการเสียเปรียบศัตรูที่อยู่บนหลังม้า ริชาร์ดจึงร้องตะโกนขอให้คนอื่นสละม้าให้ตัวเอง และพร้อมที่จะแลกบัลลังก์กับม้าหนึ่งตัว "My kingdom for a horse!" ในขณะที่ ในยามปกติ ม้าหนึ่งตัวนั้น คงไม่มีค่าพอที่จะไปแลกได้ แต่เมื่อรู้ว่าตัวเองมีสิทธิถูกฆ่าตาย แม้แต่บังลังก์แห่งกษัตริย์อังกฤษก็ไม่มีความหมายอีกต่อไปแล้ว