ความคิดเห็นที่ 31
ผมเชื่อว่า "เสด็จสวรรคต" และ "สวรรคต" ใช้ได้ทั้งสองแบบแหละครับ แต่ในสมัยหลัง หลักภาษาไทยนิยมเน้นความกระชับชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เลยมักได้ยินว่า "สวรรคต" เป็นหลัก แต่ก่อนมามักใช้ "เสด็จสวรรคต" เสียเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้น ทั้งสองคำนั้นน่าจะใช้ได้ไม่ผิดทั้งคู่ ทั้งนี้ ในภาษาไทย บางครั้งไม่จำเป็นต้องแปลเป๊ะๆ ตรงตัวเสมอไป อย่างที่ว่าว่าคนไทยเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน มักมีคำซ้อนคำซ้ำในการใช้ถ้อยคำสำนวนต่างๆ เพื่อย้ำความหมายบ้าง เพื่อความไพเราะในการออกเสียงบ้างอยู่เสมอ
การเติม "เสด็จ" เข้าไปนำหน้ากริยาราชาศัพท์นั้นเป็นเรื่องปกติในภาษาโบราณ ในหนังสือเก่าๆ มักปรากฏใช้ว่า เสด็จประทับ, เสด็จอยู่, เสด็จสถิต, เสด็จยืน, เสด็จเข้า, เสด็จออก, เสด็จยับยั้ง, เสด็จสิ้นพระชนม์ และเสด็จสวรรคต ฯลฯ ให้เห็นอยู่เนืองๆ
ทั้งๆ ที่ ประทับ, สิ้นพระชนม์, สวรรคต เป็นกริยาราชาศัพท์มีความหมายบริบูรณ์ในคำอยู่แล้ว
และอย่างคำกริยาสามัญเป็นต้นว่า ยืน, สถิต ฯลฯ เหล่านี้ หากจะใช้เป็นราชาศัพท์ก็เพียงเติม "ทรง" เป็นทรงยืน ทรงสถิต ฯลฯ เท่านั้นก็พอ
แต่ด้วยเหตุที่โบราณนิยมใช้ "เสด็จ" ในความหมายที่ย้ำในการกระทำกริยานั้นๆ ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ผลเลยปรากฏให้เห็นว่ามีการใช้ว่า เสด็จ+ คำกริยาราชาศัพท์ หรือ เสด็จ + คำกริยาสามัญ เป็นประจำ
จากคุณ :
นาย UP
- [
23 มิ.ย. 47 10:35:53
]
|
|
|