ความคิดเห็นที่ 15
สัญลักษณ์ และเพลงประจำมหาวิทยาลัย คำว่า ลูกแม่โดม, ดอกยูงทอง และเพลงเชียร์ทั้ง 35 เพลงของชาวธรรมศาสตร์นั้น มีที่มาอย่างไร ดู เหมือนว่า มธก และ มธ นั้นจะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสัญลักษณ์มากที่สุด ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยแต่เดิมสัญลักษณ์ที่มีขึ้นพร้อมกับการก่อตั้ง มธก คือชื่อ มธก ซึ่งท่านผู้ประศาสน์การเป็นผู้ก่อตั้งขึ้น ต่อมาในปี 2479 เราก็มีตราธรรมจักร เป็นสัญลักษณ์ที่จะใช้เป็นตราประทับโดยคำแนะนำของท่านผู้ประศาสน์การ ซึ่งมีความหมายว่า สถาบันแห่งนี้ยึดถือคติธรรมของพุทธศาสนาเป็นหลักกล่อมเกลาบัณฑิต สิ่งที่อยู่กลางธรรมจักรคือ พานรัฐธรรมนูญ หมายถึง การยึดมั่นเชิดชูรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นหลักการที่ มธก ยึดถือและปฎิบัติ อาจกล่าวได้ว่า เป็นการแปรปรัชญาของการก่อตั้ง มธก ออกมาเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนที่สุด
ต่อมาเราก็มีตึกโดม หรือที่เรียกกันว่า โดม แม่โดม เป็นสัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการอีกอย่างหนึ่ง แต่ได้รับการต้อนรับและนับถือมากกว่า ตราธรรมจักรมาก อย่างไรก็ตามในช่วงก่อร่างสร้างตัว มธก นั้น คือ ราว 2477-2490 นั้น โดมยังไม่มีบทบาทเด่นนัก คือยังไม่ได้รับการยอมรับมากมายเท่าใดนักว่าเป็นสัญลักษณ์ใหม่ เพราะขณะนั้นเรามีชื่อ มธก และยังมีท่านผู้ประศาสน์การอยู่ จนกระทั่งภายหลังปี 2490 โดมก็ได้เริ่มถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ใหม่มากยิ่งขึ้น เหตุเนื่องจากภายหลังการยึดอำนาจ ในวันที่ 8 พฤษจิกายน พศ 2490 โดยจอมพลผิน ชุณหะวัน มธก ก็เริ่มถูกมรสุมทางการเมืองพัดกระหน่ำอย่างรุนแรง ท่านผู้ประศาสน์การต้องเดินทางออกไปนอกประเทศทำให้ นักศึกษาขาดกำลังใจ และภายหลัง "กบฏวังหลวง" 26 กุมภาพันธ์ 2492 ซึ่งมีชื่อท่านผู้ประศาสน์การและชาว มธก บางส่วนร่วมอยู่ด้วย ทำให้ มธก ถูกเพ่งเล็งมาก และมีความพยายามที่จะทำลาย มธกไป มีการจับกุมระดับผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนักศึกษาบางส่วน ส่วนท่านผู้ประศาสน์การต้องหลบไปอยู่ต่างประเทศอีกจนถึงแก่อสัญกรรม สภาพ มธก ในช่วงนี้ย่อมทำให้นักศึกษาเกิดความรุ้สึกขาดกำลังใจ ในช่วงนี้เองที่โดมได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่มีชีวิตของชาว มธ โดย ทวีปวร (ทวีป วรดิลก) ได้แต่งเพลงโดมในดวงใจ โดยมีความมุ่งหมายว่าต้องการให้โดมเป็นศูนย์รวมใจของนักศึกษา มธ เพื่อยืนหยัดต่อสู้กับมรสุมทางการเมืองที่พัดกระหน่ำธรรมศาสตร์อย่างรุนแรงในขณะนั้น ไม่ให้นักศึกษาท้อถอย เสมือนว่า ท่านปรีดีกำลังยืนคอยดูพวกเราอยู่ หลังจากที่ได้แต่งเพลงโดมในดวงใจขึ้นในเดือน พฤษจิกายน 2492 เพลงนี้ได้กลายมาเป็นวิญญาณ และอารมณ์ความรู้สึกของชาวธรรมศาสตร์เรื่อยมา และโดมได้กลายมาเป็นสิ่งที่ใช้เรียกแทนพวกเราชาวธรรมศาสตร์นับแต่นั้นเรื่อยมาว่า "ลูกโดม" จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต
ในด้านของเพลงประจำมหาวิทยาลัยนั้น เมื่อเริ่มก่อตั้ง มธก นั้นยังไม่มีเพลงประจำมหาวิทยาลัย ต่อมาในปี พศ 2478 เราก็มีเพลงประจำมหาวิทยาลัย ทำนองมอญดูดาว เป็นเพลงแรก โดยท่านผู้ประศาสน์การได้ขอให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนพันธ์) เป็นผู้แต่งเนื้อเพลงให้ ซึ่งถ้าเราลองมาดูเนื้อเพลงในแต่ละประโยค จะมีความหมายในลักษณะนามธรรม พูดถึงหลักการและเจตนารมณ์อันแน่วแน่มั่นคงของธรรมศาสตร์ กับสังคม สีเหลืองกับสีแดงหมายถึงอะไร
โดยจากเพลงนี้เอง ได้สร้างสัญลักษณ์ขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ สีเหลืองกับสีแดง โดยต่อมามีกลุ่มอาจารย์และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยพิมพ์ลงบนเสื้อ เมื่อคราวแข่งขันฟุตบอลประเพณี 2477-78 การที่เลือกเอาสีเหลืองกับแดงนั้น ทราบมาว่า ท่านผู้ประศาสน์การเป็นผู้เลือก ซึ่งแสดงความต้องการเอาสีเหลืองซึ่งเป็นสีของศาสนา เหมือนกับตราธรรมจักร กับสีแดง ซึ่งแสดงถึงของเข้มข้นของเลือดอันส่งพลังให้กับการมีหัวก้าวหน้าที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงดังในเนื้อร้องwbr>wb "เหลืองของเราคือธรรมประจำจิต แดงของเราคือโลหิตอุทิศให้มา"
โดยทั่วไปแล้วแม้ในปัจจุบันมีเพลงยูงทอง เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้ว เพลง"มอญดูดาว" นี้ดูจะเป้นเพลงที่สำคัญและมีพลังมากที่สุด พร้อม ๆ กับการเกิดเพลงประจำมหาวิทยาลัยทำนองมอญดูดาว เราก็มีเพลง เชียร์เกิดขึ้นคือ เพลงกราวมหาวิทยาลัย หรือ กราวธรรมศาสตร์ ที่ขึ้นต้นว่า "ธรรมศาสตร์การเมืองเหลืองแดง เข้มแข็งองอาจไม่หวาดหวั่น" โดยใช้ทำนอง เพลงกราวกีฬาของครูเทพ ใช้เป็นเพลงเชียร์ในงานฟุตบอลประเพณีประมาณครั้งที่ 2 หรือ 3 และก็มีเพลงอโยธยาคู่ฟ้ ได้ถือกำเนิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 2480 เกิดขึ้นอีกเพลงและในช่วงเดียวกัน ก็ยังมีเพลงเดินท่อนที่ 2 เกิดขึ้นพร้อมกันด้วย โดยเริ่มต้นที่ว่า "เดินรีบเดินไป ชิงโชคชัย ของเราเบื้องหน้า" รวมทั้งหมด 4 เพลง ที่จะใช้ร้องประจำในด้านการเชียร์ฟุตบอลประเพณี
ในช่วงทศวรรษ 2490 นี้เป็นช่วงที่ มธก ได้ถูกมรสุมทางการเมืองพัดโหมกระหน่ำอย่างรุนแรงจนกระทั่งคำ ก ท้าย มธก หลุดหายไปเหลือเพียง มธ นั้น เพลงต่าง ๆ ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างมากมายโดยเริ่มต้นจากเพลง หวลอาลัย ที่แต่งขึ้นในราวปี 2491 เพื่อเป็นการรำลึกถึง ท่านปรีดี พนมยงค์ที่ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศ ภายหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิการยน 2490 ต่อมาก็มีเพลงโดมในดวงใจ, มาร์ช มธก, มาร์ชเหลืองแดง, เพลงเหล่านี้ต่างสะท้อนให้เห็นถึงความคิดของนักศึกษาในยุคนั้นที่จะพยายามยืนหยัดต่อสู้เพื่อ มธ ที่เรารัก เช่นเพลงโดมในดวงใจดังที่กล่าวมาแล้ว หรือแม้แต่เพลง "มาร์ช มธก" ที่ได้แต่งขึ้นในปี 2494 โดย ทวีปวร ได้ใช้ทำนองเพลง ลามาซาแยซ ซึ่งเป็นเพลงปฎิวัติของฝรั่งเศส มาใช้เป็นทำนองเพลงเป็นต้น นอกจากนี้ยังเกิดเพลงสุนทราภรณืแต่ขึ้นให้กับ มธ อย่างมากมาย เช่น เพลง ขวัญโดม, อาลัยโดม, ลาโดมลาเดือน, โดมรอเธอ เป็นต้น ซึ่งเพลงของสุนทราภรณ์นี้มาดังในยุคหลัง
ในช่วงทศวรรษ 2500 นี้อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นยุคเฟื่องฟูงานฟุตบอลประเพณี และก็เป็นการเฟื่องฟูของเพลงเชียร์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากสภาพทางด้านสังคมและการเมือง ในขณะนั้น ถูกปกครองด้วยระบบเผด็จการ โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการปราบปรามนักศึกษาอย่างรุนแรง ทำให้นักศึกษาในยุคนี้ต้องปรับปรุงตัวเองให้ลดบทบาททางการเมืองลงเป็นอย่างมาก ซึ่งต่างจากในช่วงยุค 2490 ที่ผ่านมา โดยในยุคนี้ เพลงเชียร์ถือกำเนิดขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น TU BOOM, แช่วับ, ธรรมศาสตร์ไม่หวั่น, VICTOR BOOM เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นยุคของเพลงสุนทราภรณ์ที่มาดังเอาช่วงนี้อย่างมากเนื่องจากเข้าบรรยากาศทางด้านสังคมพอดี โดยมักจะนำไปใช้ในงานบอลล์ งานลีลาศต่าง ๆ ตลอดจนงานเลี้ยงรุ่นต่าง ๆ ที่ชาวธรรมศาสตร์จัดกัน ทำให้เพลงของสุนทราภรณ์ได้รับการยอมรับและโด่งดังกว่าในยุคทศวรรษ 2490 แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเกิดเพลงประจำมหาวิทยาลัยเพลงใหม่คือเพลง "ยูงทอง" ซึ่งเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงได้พระราชทานทำนองให้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2506 โดยมีหลวงจำนงราชกิจ เป็นผู้แต่งเนื้อเพลง ซึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมาเราก็มีเพลงประจำมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการ พร้อมกับสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือ ดอกยูงทอง ซึ่งจะบานอยู่ทั่วไปในบริเวณมหาวิทยาลัย แทนดอกจำปีที่ถูกทดแทนเพราะกระแสการเมือง
ต่อมาในทศวรรษ 2510 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของกระแสที่จำนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นั้น เพลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ล้วนแต่เป็น เพลงเพื่อชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งในช่วงนี้ เพลงธรรมศาสตร์คล้ายกับเกิดภาวะชงักงันไป หายไปนานทีเดียว แล้วมาเริ่มมีการแต่งเพลงใหม่กันอีกทีภายหลังปี 2525 เริ่มจากเพลงนี่หรือธรรม, TU35 เป็นต้นมาโดยประธานชุมนุมเชียร์ปี 2526 ในขณะนั้นได้แต่ขึ้นเพื่อใช้ร้องกันภายในชุมนุมเชียร์ แต่ต่อมาได้รับการยอมรับจากชาวธรรมศาสตรืที่ยอมรับมาใช้ร้องในงานฟุตบอลประเพณีฯ จนในที่สุดกลายมาเป็นที่ยอมรับให้เป็นเพลงเชียร์ประจำมหาวิทยาลัยไป
จะเห็นได้ว่าเพลงธรรมศาสตร์นั้น มีความเป็นมาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ในบางเพลงมีความเกี่ยวพัน กับสภาพทางการเมืองที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคแต่ละสมัย บางเพลงสะท้อนถึงความคิด ความต้องการ อุดมการณ์ บางเพลงบรรยายถึงความสนุกสนาน ซี่งเพลงต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเพลงของพวกเราชาวธรรมศาสตร์ทั้งสิ้น การที่พวกเราจะร่วมกันรักษา และร่วมกันร้องด้วยความรู้สึกที่ภาคภูมใจให้สมกับการที่พวกเราเป็นชาวธรรมศาสตร์ ตลอดไป
จากคุณ :
นักสืบเอกชน
- [
22 มี.ค. 48 11:10:21
]
|
|
|