ความคิดเห็นที่ 30
อย่างที่บอกนะครับ หม่อมใช้เรียกผู้ดีมีสกุลสมัยก่อน
ค้น : เจ้าครอก คำ : เจ้าครอก เสียง : เจ้า-คฺรอก คำตั้ง : เจ้า ๑ ชนิด : น. ที่ใช้ : ที่มา : นิยาม : เจ้าโดยกำเนิด (ในชั้นหลังเรียกพระเจ้าลูกเธอว่า เจ้าครอก, ที่เป็นเจ้าฟ้า เรียกว่า เจ้าฟ้าครอก แต่คนสามัญมักเรียกเพียงหม่อมเจ้าว่า เจ้าครอก). ภาพ : อ้างอิง : ปรับปรุง : 98/4/2
คำว่าเจ้าครอกนั้น สันนิษฐานว่า เป็นคำเรียกเจ้านายฝ่ายในที่เป็นที่เคารพ บางทีก็ใช้เรียกเจ้านายผู้มีสกุลเป็นเจ้าทั้งฝ่ายบิดามารดาใช้มาตั้งแต่ราวอยุธยา ถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
เช่น เจ้าครอกวัดโพธิ์ (พระองค์เจ้ากุ กรมหลวงนรินทรเทวี ,ทรงมีวังอยู่บริเวณวัดโพธิ์,เปนพระกนิษฐา ในรัชกาลที่ ๑ แต่ต่างพระมารดา ว่ากันว่า พระมารดาในเจ้าครอกท่านนั้น คือ พระน้องนางในสมเด็จพระปฐมราชชนนี ในรัชกาลที่ ๑) เจ้าครอกทองอยู่(พระองค์เจ้าทองอยู่ ,พระชายาในกรมพระราชวังหลัง ในรัชกาลที่ ๑)
ฉะนั้น ขอให้คุณกัมม์ สันนิษฐานตามข้อมูลที่ผมให้เถิด
ข้อมูบางส่วน มาจาก http://vcharkarn.com/reurnthai/nhom_thai.php ของคุณพิงค์แอนเกรย์ครับผม
จากคุณ :
natthaset
- [
27 เม.ย. 48 22:11:47
]
|
|
|