ความคิดเห็นที่ 2
ตามทางสืบสวนได้ความว่า บรรพบุรุษของท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)เป็นพราหมณ์ ชื่อศิริวัฒนะ รับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์อยู่ในตำแหน่งราชปุโรหิต มีบุตรได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณจนเป็นที่ พระมหาราชครูพระราชปุโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดี ศรีบรมหงส์ องค์บุริโสดมพรหมทิชาจารย์
พระมหาราชครู มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๒ คน คือ เจ้าพระยาพิศณุโลก(เมฆ) และเจ้าพระยามหาสมบัติ(ผล)
เจ้าพระยาพิศณุโลก(เมฆ) มีบุตรปรากฏนามต่อมา ๓ คน คือ ๑. เจ้าพระยานเรนทราภัย(บุญเกิด) ๒. เจ้าพระยาสุรินทรภักดี(บุญมี) ๓. เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์(อู่) ได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช เป็นต้นสกุล "ศิริวัฒนกุล","จันทโรจวงศ์","บุรณศิริ","สุจริตกุล","ภูมิรัตน","ชัชกุล" รวม ๖ สกุล
เจ้าพระยามหาสมบัติ(ผล)มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๖ คน คือ ๑. ญ.เลื่อน ๒. เจ้าพระยาพลเทพ(ทองอิน) ต้นสกุล "ทองอิน" และ"อินทรผล" ๓. กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์(มุก) ภัสดากรมหลวงนรินทรเทวี(กุ) ต้นสกุล "นรินทรกุล" ๔. ท้าวทรงกันดาร(ทองศรี) ๕. ญ.ทองเภา ไปอยู่พม่าเพราะถูกกวาดต้อนเมื่อคราวไทยเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. ๒๓๑๐ ว่าเป็นพระราชมารดาพระเจ้าธีบอ ๖. เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)
เจ้าพระยาอภัยราชา(ปิ่น)มีบุตรธิดาปรากฏนามต่อมา ๘ คน คือ ๑. เจ้าจอมปริก ในรัชกาลที่ ๑ ๒. จมื่นเด็กชายหัวหมื่นมหาดเล็ก(แตงโม) ในกรมพระราชวังบวรรัชกาลที่ ๑ ๓. เจ้าจอมปรางค์ ในรัชกาลที่ ๒ ๔. เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) ๕. หลวงรามณรงค์(โต) ๖. พระยาพิชัยสงคราม(โห้) ๗. หลวงมหาใจภักดิ์(เจริญ) ๘. หลวงพิพิธ(ม่วง) ๙. คุณหญิงบุนนาคกำแหงสงคราม(ทองอิน อินทรกำแหง)
บุตรที่ ๔ คือ เจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์)นั้นเกิดแต่ท่านผู้หญิงฝัก เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๒๐ เป็นปีที่ ๑๐ ในสมัยกรุงธนบุรี ที่บ้านริมคลองรอบกรุงธนบุรีด้านตะวันออกซึ่งบัดนี้นับเป็นเขตจังหวัดพระนคร ตอนเชิงสะพานข้างโรงสีหน้ากระทรวงมหาดไทยทุกวันนี้
ต่อมาในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยาอภัยราช(ปิ่น)นำนายสิงห์ บุตรชายขึ้นถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศนสุนทร นายสิงห์ตั้งใจรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความอุตสาหะพากเพียรสม่ำเสมอ ได้รับพระราชทานยศโดยลำดับจนเป็น จมื่นเสมอใจราช
เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๑ แล้ว โปรดฯให้ย้ายไปรับราชการที่วังหน้า ต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็น พระนายเสมอใจราช
ในระหว่างที่เป็นพระนายเสมอใจราชนี้เอง เคยต้องโทษครั้งหนึ่งเพราะต้องหาว่าพายเรือตัดหน้าฉาน ตามเรื่องมีว่า ตอนเช้าวันนั้นพนักงานได้จัดเทียบเรือพระที่นั่งและเรือกระบวนไว้พร้อมแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังมิได้เสด็จลง หมอกกำลังลงจัดพระนายเสมอใจราช(สิงห์)มีธุระผ่านเรือไปทางนั้นในระยะไม่ห่างเพราะหมอกลงคลุมขาวมัวไปหมด ในที่สุดก็ถูกจับไปลงพระราชอาญาจำอยู่ที่ทิมในพระราชวังหลวง แต่อาศัยพระอนุเคราะห์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเวลานั้นยังดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร ได้ทรงพระกรุณาช่วยให้พ้นโทษโดยเร็ว
เมื่อพระนายเสมอใจราช(สิงห์)พ้นโทษแล้ว ได้รับราชการในตำแหน่งเดิมอีก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรศักดิ์เป็นพระยาเกษตรรักษา ว่าการกรมนาฝ่ายพระราชวังบวร
พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)เป็นผู้มีนิสัยขะมักเขม้นทั้งในทางราชการ และในการทางบ้าน เมื่อว่างจากราชก็ดำริการค้าขาย พยายามต่อสำเภาแต่งออกไปค้าขายยังเมืองจีน สิ่งที่ขายได้ผลดีมากคือเศษเหล็ก จัดหาซื้อส่งไปขายเป็นจำนวนมาก สถานที่ตั้งต่อสำเภาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอู่ตะเภา ก็คือที่บริเวณวัดตึกทุกวันนี้ การค้าขายได้กำไรดี ทางราชการก็เจริญดีเรื่อยมาจนต้องโทษเป็นครั้งที่ ๒
ราชการสำคัญของพระยาเกษตรรักษา(สิงห์)ที่ต้องปฏิบัติในระหว่างนี้ก้คือการนา ได้ออกไปควบคุมการทำนาหลวงอยู่เนื่องๆ ในที่สุดต้องหาว่าไปตั้งค่ายคูอย่างทำศึก และประกอบกับการที่ค้าขายเศษเหล็กเป็นส่วนตัวอยู่ด้วย น่าระแวงว่าจะสะสมเหล็กทำอาวุธบ้างกระมัง จึงถูกนำตัวมาจำไว้ในพระบรมมหาราชวัง แต่ก็ได้อาศัยพระบารมีพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกเป็นครั้งที่ ๒ เหมือนกัน ซึ่งเวลานั้นยังเป็นรัชกาลที่ ๒ พระองค์อยู่ในฐานะเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ และทรงบัญชาราชการสำคัญหลายอย่าง ทรงอนุเคราะห์พระยาเกษตรรักษา(สิงห์) แม้จะต้องโทษถูกจำอยู่ก็ผ่อนหนักเป็นเบาตลอดมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๒
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์แล้ว ทรงพระกรุณาให้พระยาเกษตรรักษา(สิงห์)พ้นโทษ และต่อมาโปรดฯให้มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชสุภาวดี ตั้งแต่นั้นมาชีวิตของพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เริ่มเจริญรุ่งเรืองขึ้นในกิจการสำคัญของชาติ จนปรากฏเกียรติคุณประจักษ์อยู่ในพระราชพงศาวดารเป็นต้น
ถึง พ.ศ. ๒๓๖๙ เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๓ พระเจ้าอนุวงศ์ นครเวียงจันทร์คิดการกบฎยกกองทัพจู่โจมเข้ามายึดนครราชสีมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพใหญ่ยกขึ้นไปทางสระบุรี แล้วโปรดฯให้กองทัพยกไปทางเมืองปราจีนบุรี เพื่อรุกเข้าทางช่องเรือแตกอีก ๔ ทัพ กรมหมื่นสุรินทรรักษ์เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เป็นแม่ทัพหน้า
พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)เดินทัพถึงเมืองสุวรรณภูมิพบกองทัพเจ้าโถง นัดดาพระเจ้าอนุวงศ์ซึ่งตั้งอยู่ ณ ริมเมืองพิมายก็ยกเข้าตีถึงตะลุมบอน ทัพเจ้าโถงรับไมหยุดก็แตกกระจายไปสิ้น เมื่อได้ชัยชนะแล้วพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เคลื่อนกองทัพไปตั้งอยู่เมืองขอนแก่น แล้วยกไปตีค่ายเวียงคุกที่เมืองยโสธรแตกอีก จึงหยุดพักพลอยู่ ณ เมืองยโสธร เพื่อสะสมกำลังสำหรับยกไปปราบนครจำปาศักดิ์ต่อไป ฝ่ายเจ้าราชบุตรซึ่งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ตั้งค่ายอยู่เมืองศรีสะเกษ ได้ทราบข่าวว่าพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)จะยกกองทัพตัดตรงไปนครจำปาศักดิ์ ก็รีบยกมาตั้งรับที่เมืองอุบลราชธานี และให้เจ้าปานและเจ้าสุวรรณอนุชาทั้งสอง ยกทัพมาตั้งยันทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่ที่แดนเมืองยโสธร พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็เคลื่อนกองทัพออกตีทัพเจ้าปานและเจ้าสุวรรณแตก แล้วตามตีทัพเจ้าราชบุตร ณ เมืองอุบลราชธานี ฝ่ายไทยชาวเมืองอุบลราชธานีที่ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพเจ้าราชบุตร เมื่อทราบว่ากองทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ยกไปถึง ก็พร้อมกันก่อการกำเริบฆ่าฟันพวกเจ้าราชบุตรล้มตายเป็นอลม่านขึ้นในค่าย กองทัพพระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็ตีโอบเข้ามา เจ้าราชบุตรเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ก็พาพรรคพวกหนีไปนครจำปาศักดิ์ พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)รีบยกกองทัพติดตามไปไม่ลดละ ฝ่ายครัวเมืองต่างๆทาเจ้าราชบุตรกวาดไปรวมไว้ในนครจำปาศักดิ์ทราบขจ่าวว่ากองทัพเจ้าราชบุตรเสียที จึงพร้อมกันก่อการกำเริเบเอาไฟจุดเผาบ้านเรือนในนครจำปาศักดิ์ไหม้ขึ้นเป็นอันมาก เจ้าราชบุตรเห็นดังนั้นจะเข้าเมืองมิได้ก็รีบหนีข้ามฟากแม่น้ำโขงไปทางตะวันออก พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)ก็ยกกองทัพเข้าไปตั้งมั่นในนครจำปาศกดิ์ และให้กองตระเวนออกสืบจับพวกเจ้าราชบุตร ได้ตัวเจ้าราชบุตร เจ้าปาน เจ้าสุวรรณ มาจำไว้ แล้วเดินทัพมาตั้งอยู่เมืองนครพนม พอทราบข่าวว่าทัพหลวงกรมพระราชวังบวร จะเสด็จกลับกรุงเทพฯจึงรีบเดินทางมาเฝ้ากราบทูลชี้แจงข้อราชการ กรมพระราชวังบวรก็โปรดฯให้พระยาราชสุภาวดี(สิงห์)อยู่จัดการบ้านเมืองทางภาคอีสานจนกว่าจะสงบเรียบร้อย
(สำหรับเรื่องประวัติแม่ทัพคนสุดท้ายที่ออกนำหน้าทหารเลว รู้สึกไม่สาใจเลยนะครับ จะขอแทรกประวัติเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์) ด้วยประชุมพงศาวดารภาค ๓๓ ทุกท่านเห็นว่าอย่างไรครับ ประชุมพงศาวดารภาค ๓๓ เป็นรายการบำเพ็ญพระราชกุศล เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปีชวดนพศก มีฉากหลังเป็นสมรภูมิครั้งนี้ค่อนข้างละเอียดนะครับ ขอเสียงสนับสนุนหน่อยครับ(ว่าอนุญาต) กระผมไม่อยากถือวิสาสะจะแทรกพระนิพนธ์(โดยลำพัง) เดี๋ยวจะโดนข้อหาไม่สมควร หากไม่อนุญาตจะได้คัดเอาแต่พระนิพนธ์เท่านั้นครับ)
("พิมพ์ไปเมาไป" ขออภัยด้วยครับ)
จากคุณ :
กัมม์
- [
25 เม.ย. 48 19:58:12
]
|
|
|