ส่วนตัวชอบแนว whodunit แต่ความจริงมันค่อนข้างเชยแล้ว
ถ้าถามว่าเขียนแบบไหนถึงดี ปัจจุบันนิยายสืบสวนไม่ได้ตอบคำถามแค่ว่า ใครเป็นคนทำ และ ทำอย่างไร เท่านั้น
แต่ต้องตอบคำถามว่า ทำไมถึงทำ ด้วย
จนถึงวันนี้ นิยายสืบสวนที่เน้นขายพล็อตก็แทบจะไม่มีอะไรแปลกใหม่ ทุกอย่างถูกดึงมาขายจนหมด ห้องปิดตายลึกล้ำพิสดารขนาดไหน ฆาตกรเป็นใคร คนอ่านแทบจะไม่มีอะไรตื่นเต้นแล้ว ดังนั้นผู้เขียนในปัจจุบันจึงพยายามหาทางออกในการเขียนมากขึ้น โดยพยายามขับเน้นไปในความลุ่มลึกและมิติของตัวละคร
แม้เชอร์ล็อค โฮล์มส์จะเก่งกาจสามารถ แอร์คูล์ ปัวโรต์จะฉลาดล้ำลึก แต่ตัวละครเหล่านี้ค่อนข้างจะแบนราบ ดูเหมือนไม่มีเลือดเนื้ออย่างคนจริงๆ ถ้าเอามาเขียนยุคนี้ พ.ศ.นี้ คงไม่เป็นที่น่าสนใจเท่าไหร่
แรกเริ่มเดิมทีนิยายนักสืบเป็นเพียงปริศนาทายกันเล่นๆที่ผูกเป็นเรื่องราว ไม่เน้นทางสาระและคุณประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับ แต่เมื่อมาถึงยุคสังคมอุดมปัญญา ผู้อ่านและผู้เขียนต้องการจะยกระดับนิยายสืบสวนในเชิงคุณค่าทางวรรณกรรม การขับเค้นความรู้สึกนึกคิดตลอดจนปัญหาอาชญากรรมทางสังคม คือสิ่งที่ผู้อ่านสมัยนี้เรียกหา และตั้งคำถามเชิงจริยธรรมว่า อาชญากรรมเป็นปัญหาสังคมได้อย่างไร
อย่างไรก็ดี รู้สึกว่าการอ่านนิยายสืบสวนไทยยังเป็นแนว whodunit หรือ puzzle อยู่ (คือเน้นความบันเทิงเป็นหลัก) ฉะนั้นเขียนแนวปริศนาเยอะๆ คนอ่าน (รวมถึงผม) คงชอบใจ
ผมอาจจะตอบไม่ตรงคำถาม แต่ก็อยากเล่าให้ฟัง เผื่อจะมีไอเดียเพิ่มขึ้นครับ
เป็นกำลังใจให้ครับ
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ค. 48 14:41:49
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ค. 48 11:46:14
แก้ไขเมื่อ 18 ก.ค. 48 11:41:30