ความคิดเห็นที่ 26
สมเด็จพระบรมไอยกาธิราชเจ้า ซึ่งเป็นที่ร่มเย็นของพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลีพระบาท อาณาประชาราษฎร สมณชีพราหมณ์พระองค์นั้น เมื่อสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรฯเสด็จสวรรคต(๑)แล้ว พระองค์ก็ได้โปรดฯให้ทำพระเมรุมาศพระราชทานเพลิง ณ ท้องสนามหลวง โดยบูรพราชประเพณี พระองค์มีพระบรมราโชรสพระองค์หนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าพระเชษฐาธิราโชรส นับลำดับพระวงศ์นี้เป็นที่ ๓ ได้เถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสนองพระองค์ นับลำดับรัชกาลเป็นที่ ๓ .มีสมเด็จพระบรมราโชรส ด้วยสมเด็จพระบรมราชเทวีซึ่งเป็นพระอัครมเหสีปรากฏพระเกียรติยศว่า สมเด็จพระพรรษาที่ ๓ พระองค์นับโดยลำดับพระวงศ์นี้เป็นที่ ๓๗ ,ที่ ๔๓ ,ที่ ๕๐ พระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์เสียแต่ยังทรงพระเยาว์ พระองค์หนึ่งได้เถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกนับลำดับเป็นรัชกาลที่ ๔ พระองค์หนึ่งได้เถลิงถวัลยราชยบวรราชาภิเษกเป็นพระบวรราชเจ้าในรัชกาลที่ ๔ มีสมเด็จพระบรมราโชรสด้วยสมเด็จพระบรมราชเทวีอีกสามพระองค์ นับโดยลำดับพระวงศ์นี้เป็นที่ ๖๐ ,ที่ ๖๕ ,ที่ ๗๐ พระบรมราชธิดาพระองค์หนึ่ง นับโดยลำดับพระวงศ์นี้เป็นที่ ๖๗ พระราชโอรสาอีก ๓๓ พระองค์ พระราชธิดา ๓๒ พระองค์ ก็ได้ทรงรับราชการฉลองพระเดชพระคุณดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมบ้าง มิได้ตั้งกรมบ้าง เป็น ๗๓ พระองค์
ครั้น ณ วันพุธ เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ ปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ เป็นปีที่ ๑๖ ในรัชกาล ทรงพระประชวรมีพระอาการมึนพระองค์ซึมเซาไป มิใคร่จะมีพระราชดำรัส ถึง ณ วันพุธ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ พระองค์ก็เสด็จสวรรคต สถิตในอิสริยยศราชสมบัติ ๑๖ พรรษา พระชนมายุ ๕๘ พรรษา นับโดนอายุโหรได้ ๕๖ พรรษา ๗ เดือน ๑๙ วัน
สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมไอยกาธิราชเจ้านั้น ทรงอภิบาลปกครองรักษาสันตติวงศ์ให้เนืองประพันธ์สืบมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันที่ครบ ๕ บัดนี้ พระเดชพระคุณเป็นอเนกประการ สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงพระราชอุทิศถวายในอภิลักขิตสมัยอันตรงกับดิถีพระบรมหมาประสูติมงคลกาล และกาลเสด็จสวรรคต และสมัยต้นปีตามจันทรคติสุริยคติ และต้นเหมันต์ฤดู และสมัยอื่นๆทุกกาลกำหนดมามิได้ขาด ในอภิลักขิตสมัยวันบรรจบครบรอบ ๑๐๐ ปี แต่วันชีพ่อพราหมณ์ตั้งพระราชพิธีปราดาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมเด็จพระปฐมบรมราชวงศ์นี้ สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าได้ให้เชิญพระบรมอัฐิ เป็นกระบวนแห่แต่พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์มาประดิษฐาน ณ พระบุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองคำ ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๗ แรม ๑๔ ค่ำ เวลาเช้าพระราชทานบิณฑบาตชัชโภชาหารแก่พระสงฆ์ พระราชาคณะเป็นประธาน ๕๗ รูป รับพระราชทานฉันแล้ว พระราชทานผ้าไตรจีวร ๕๗ ไตรสดัปกรณ์ พระสงฆ์ราชาคณะเป็นประธาน ๕๗ รูปนั้น สวดธรรมสาธยาย เวลาบ่ายถวายพระพุทธภาษิต โปรดฯให้ถวายพระธรรมเทศนา อนุโมทนาพระราชกุศลฉลองวพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สมเด็จพระบรมไอยกาธิราชเจ้านั้น กระจาดและเครื่องไทยฌธรรม บูชาเทศนาวันนี้ เป็นส่วนเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี เป็นมหัคฆภาคธรรมิกบรรณาการ ทรงพระราชอุทิศถวายเป็นส่วนทักขิณานุปทานอนวัชกิตย์ โดยอนวัชจริยาสาธุกัลยาณสัมมนาปฏิบัติ ด้วยประการฉะนี้ เป็นสุจริตจริยาทรงประพฤติด้วยพระราชอุตสาหะ พระราชดำริฉันทวิริยจิตวิมังสา หวังความสุขประโยชน์อิฐวิบุลยผลซึ่งจะสำเร็จในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านถา ลัย สมเด็จพระบรมไอยกาธิราชเจ้านั้น ด้วยปัตตานุโมทนามัยบุญกิริยา เป็นปัจโจปการกิตย์ในปัจฉิมกาลด้วยประการฉะนี้
ก็และที่ส่วนสถานที่ประชุมชานประพฤติด้วยกายวาจาจิตทั้งปวง รวบรัดด้วยอาการวิภาคปริยายหนึ่งได้ ๒ ประเภท คือ ธรรม ๑ อธรรม ๑ ด้วยสรุปไว้ในคาถาว่า "นหิธัม์โม อธัม์โม จอุโภ สมวิปากิโน ธรรม ๑ อธรรม ๑ สองส่วนนี้ซึ่งจะเป็นสภาพมีวิบากเสมอกันหามิได้" ฉะนี้
ก็และ ธรรม อธรรม นั้น ให้บัณฑิตยชาติพึงสันนิฐานโดยลักษณะฉะนี้ ส่วนสภาพใดเป็นสังกิเลสิก ฝักใฝ่ให้จิตเศร้าหมอง ส่วนนั้นเป็นอธรรม ส่วนใดเป็นโวทนิย ฝักใฝ่ให้จิตผ่องแผ้ว ส่วนนั้นเป็นธรรม อัปปมาโท ความไม่ประมาท ไม่เมานักเป็นธรรม ปมาโม ความประมาท ความเมาเป็นอธรรม โยนิโสมนสิกาโร ความทำจิตใจโดยแยบคายอุบายที่ชอบเป็นธรรม อโยนิโสมนสิกาโร ความทำจิตใจโดยไม่แยบคาย ใช่อุบายที่ชอบเป็นอธรรม มัต์เตย์ยตา เปเตย์ยตา ความเป็นผู้ปฏิบัติเกื้อกูลแก่บิดามารดาเป็นธรรม อมัต์เตย์ยตา อเปเตย์ยตา ความเป็นผู้ประพฤติไม่เกื้อกูลแก่มารดาบิดาเป็นอธรรม สมมัญ์ญตา พรหมัญ์ญตา ความเป็นผู้ประพฤติเกื้อกูลแก่สมณพราหมณ์เป็นธรรม อสามัญ์ญตา อพ์รห์มัญ์ญตา ความประพฤติไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สมณพราหมณืเป็นอธรรม กุเลเชฏ์ฐสปัจ์จายิตาความเป็นผู้เป็นบุคคลนบนอบแก่ผู้เจริญผู้ใหญ่ในตระกูลเป็นธรรม นกุเลเชฎ์ฐาปัจ์จยิตา ความเป็นผู้ไม่คำนับนบนอบแก่ผู้เจริญผู้ใหญ่ในตระกูลเป็นอธรรม โทวจส์สตา ความเป็นที่ผู้อื่นสอนยากในสิ่งชอบ ปาปมิต์ตตา ความเป็นผู้คบคนปาบอันเป็นมิตรสหารเป็นอธรรม โสวจัส์สตา ความเป็นผู้ที่ท่านสอนง่ายในสิ่งชอบ กัลยาณมิต์ตตา ความเป็นผู้คบกัลยาณชนเป็นมิตรสหายเป็นธรรม สุวิชานตา ความเป็นผู้รู้ดีรู้ชอบ ธัม์มกามตทาความเป็นผู้ปรารถนาธรรมเป็นธรรม ทุวิชานตา ความเป็นผู้รู้ผิด ธัม์มเทศ์สิตา ความเป็นเป็นผู้ชังธรรมเป็นอธรรม โลภ โทส โมห เป็นอธรรม อโลภ อโทส อโมห เป็นธรรม อคติ ๔ คือ ฉันท โทส โมห ภย เป็นอธรรม อคมนํ ความไม่ดำเนินตามฉันท โทส โมห ภย ดำรงเรียบร้อยอยู่ได้ไม่ลุอำนาจแห่งอคติ ๔ ได้เป็นธรรม เวร ๕ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน กามมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรยมัชชปมาทัฎฐาน เป็นธรรม ตัพพิรติเจตนาเครื่องงดเว้นจากเวร ๕ นั้น เป็นธรรม
ให้บัณฑิตยชาติพึ่งสันนิษฐานธรรม อธรรมเทอญ จนถึงอกุศลกรรมบถ อธัมมจริยา อสมจริยาเป็นอธรรม ฝ่ายกุศลกรรมบถ ส่วนธัมมจริยา สมจริยา เป็นธรรม อคารโว ความไม่เคารพในบุคคลและวัตถุซึ่งควรเคารพเป็นอธรรม คารโว ความเคารพในบุคคลและวัตถุซึ่งควรเคารพเป็นธรรม
.................................................................................................................................................... (๑) เมื่อเดือน ๘ อุตราสาธ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ กรมพระราชวังบวรฯ ประชวรเป็นพระยอดตรงพระที่นั่งทับ ให้ผ่าพระยอดนั้นเลยกลายเป็นบาทะพิษพระอาการมาก ครั้นวันพุธ เดือน ๘ อุตราสาธท ขึ้น ๓ ค่ำ เวลาเช้า๕ โมงกับ ๗ บาท เสด็จสู่สวรรคต ณ พระที่นั่งวายุสถานอมเรศร์ พระชนมายุได้ ๓๗ ปี ทรงวังหน้า ๗ ปี กับ ๑๑ เดือน
จากคุณ :
กัมม์
- [
10 ต.ค. 48 23:03:22
]
|
|
|