ทฤษฎีชวนสลดของ Malthus, Marx และ Keynes
ทฤษฎีของ Thomas Robert Malthus (ค.ศ.1766-1834) - จะมีคนจนอยู่ตลอดไป และพวกเขาจะออกลูกออกหลานเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนหมดทางเลี้ยงดูอยู่เสมอ มาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้นอย่างกว้างขวางในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมฝ่ายเหนือ ซึ่งทำให้อัตราเพิ่มประชากรลดลง จะไม่ขยายออกไปเกินจากที่มีอยู่ในกลุ่มประเทศเหล่านี้ กลุ่มประเทศยากจนฝ่ายใต้จะมีชุมชนเมืองมากขึ้นต่อไป และความทุกข์ยากจะเพิ่มขึ้น คนยากจนจะออกลูกหลานมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีที่ดินมากพอสำหรับพวกเขา บริษัทข้ามชาติมีสิทธิทุกประการที่จะรักษาที่ดินของตนไว้ ซึ่งบนที่ดินนี้บริษัทเหล่านี้จ่ายค่าแรงพอกันอดตายจ้างชาวนาท้องถิ่นปลูกพืชเพื่อส่งออก
ทฤษฎีของ Karl Heinrich Marx (ค.ศ.1818-1883) - มีแนวโน้มด้านโครงสร้างที่ฝังอยู่ในระบบ นายทุน ที่ทำให้คนรวยยิ่งรวยขึ้นและคนจนยิ่งจนลง ส่วนที่แรงงานได้เพิ่มขึ้นจากการออกกฎหมายหรือการรวมตัวกันต่อรองมีแนวโน้มที่จะลดลงเสมอเพราะค่าจ้างแท้จริงจะลดเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ พวกที่อยู่ส่วนบนจะใช้วิธีการกดขี่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อบังคับให้คนงานที่ไม่พอใจอยู่ในระเบียบวินัย เมื่อการไร้ประสิทธิภาพและสิ่งรั้งถ่วงระบบมีมากขึ้นรัฐก็จะหันไปใช้การสงครามจักรวรรดินิยมเพื่อหาตลาด ทรัพยากร และ กำไรเพิ่มขึ้น
ทฤษฎีของ John Maynard Keynes (ค.ศ.1883-1946) - วัฏจักรรุ่งเรือง/ตกต่ำเป็นลักษณะถาวรของเศรษฐกิจ สมัยใหม่ ซึ่งจะแก้ได้ก็แต่โดยการบริหารนโยบายการคลังและการเงินของรัฐบาลมากขึ้นๆ และคอร์รัปชันที่เกิดตามมาก็เป็นเพียงผลพลอยได้ (by-product) จะเกิดเงินเฟ้อรุนแรงเสมอก่อนที่คนงานที่สามารถและต้องการทำงานทั้งหลายจะหางานทำได้ จะมีภาษีที่เป็นภาระต่อการผลิตอยู่เสมอ นักเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิทุกประการที่จะได้รื่นรมย์กับการที่สินทรัพย์ของตนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในขณะที่จีดีพีเพิ่มและคนงานทำงานได้ผลมากขึ้น เพราะนั่นคือค่าความเฉียบแหลมด้านการประกอบการอันเป็นธรรมที่พวกนักเก็งกำไรสมควรจะได้
ใช่ครับ ทฤษฎีของทั้งสามท่านสรุปได้อย่างนั้นตามถ้อยคำของ Lindy Davies ผู้อำนวยการแผนงาน สถาบันเฮนรี จอร์จที่ให้การศึกษาเศรษฐศาสตร์ทางอินเทอร์เนตเกือบฟรีจาก www.henrygeorge.org ถ้าเราไม่คิดถึงที่ดินว่าเป็นปัจจัยที่แยกต่างหาก และเราก็จะไม่รู้สึกผิดปกติในการที่ที่ดินหายไปจากการศึกษาพิจารณาทางเศรษฐกิจทั้งหลาย ผู้คนไม่ได้รับการอบรมมาให้สนใจความหมายของที่ดิน พวกเขาเห็นเป็นของธรรมดาที่เอกชนเป็นเจ้าของที่ดิน ความเป็นเจ้าของที่ดินเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ล่วงละเมิดมิได้ และถือว่า ที่ดิน ก็คือ ทุน อย่างหนึ่ง
แต่โชคดีที่ความเป็นเจ้าของที่ดินของเอกชนไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีอีกหนทางหนึ่งที่ดีกว่ามากมาย การเก็บภาษีที่ดินเสมือนเจ้าของที่ดินเอกชนเป็นผู้เช่าจากรัฐและเลิกภาษีต่างๆ ที่เป็นภาระและล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมเหลือหลาย โดยอยู่ในโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจตลาดเสรี
สมัยก่อน การมีทาสถือเป็นเรื่องที่ดี แม้ทางศาสนาก็ยอมรับ สมัยก่อนถือเป็นเรื่องปกติว่าสตรีไม่มีสิทธิในทรัพย์สินมากไปกว่าที่บิดาและสามีมอบให้ แต่ต่อมาก็มีบางคนเห็นว่านั่นเป็นการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐาน อย่างไรก็ดี สิทธิขั้นมูลฐานที่สุดคือสิทธิในชีวิตของแต่ละคน แต่ถ้าถือว่าความเป็นเจ้าของที่ดินของเอกชนเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะมีผู้คนที่ถูกบังคับให้จ่ายค่าการได้สิทธิเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เจ้าของที่ดินเพื่อที่พวกเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ เมื่อ 126 ปีมาแล้วเฮนรี จอร์จได้ประกาศก้องว่า กรรมสิทธิ์ของเอกชนในที่ดินเป็นความอยุติธรรมที่ร้ายแรง แจ่มแจ้ง และใหญ่หลวง เช่นเดียวกับระบบทาส ผู้คนส่วนมากยังไม่มีทีท่าหรือมีโอกาสที่จะหยุดและคิดถึงความจริงของถ้อยคำดังกล่าว แต่ในที่สุดพวกเขาจะคิด.
(บางตอนจากบทความเรื่อง Seeing What's There ใน The Progress Report ที่ http://www.progress.org/2005/davies32.htm)
สนใจแนวคิดของเฮนรี จอร์จ ดูภาคไทยได้ที่ geocities.com/utopiathai ครับ
จากคุณ :
สุธน หิญ
- [
22 ธ.ค. 48 14:27:57
]