วัดมเหยงค์ จ.อยุธยา
http://www.mahaeyong.org/
http://dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_06_02.htm
ท่านจบอภิธรรมเกียรตินิยม ได้ยินมาว่าท่านสอนดีมากๆ
ธรรมบรรยายของท่านลึกซึ้งกินใจ และเข้าใจได้ง่าย ใกล้ตัว
และตรงในการปฏิบัติคือ ไม่คลาดเคลื่อนได้เลย ในการปฏิบัติ
กับท่านเพราะท่านได้ศึกษาอภิธรรมมาเป็นอย่างดี ทำให้ได้
ตรวจสอบสภาวะของการปฏิบัติได้ถูกต้องตามแนวคำสั่งสอน
ของพระพุทธเจ้า หรือตามพระไตรปิฎก คล้ายท่านอาจารย์
มานพ อุปสโม แห่งวัดนายโรง ท่านอาจารย์มานพ ก็จบ
อภิธรรมเช่นกัน ทำให้ การปฏิบัติบูชา ไม่ไขว่เขว่ ออกนอกทาง
คือไม่เดินไปในทางที่อ้อม
ท่านอาจารย์ทั้งสอง จะสอนที่ยุวพุทธด้วยเช่นกัน แต่เป็นการปฏิบัติชั้นสูง
คือต้องผ่านการปฏิบัติเบื้องต้น มาก่อน
ท่านทั้งสองจะสอนการปฏิบัติตามความเป็นจริง คือ เน้นที่ตัวปรมัตธรรม
มากขึ้น ขณะที่เบื้องต้เนจะเป็นเรื่องของบัญญัติเป็นส่วนใหญ่ คือมีการ
กำหนด องค์ภาวนา หากผ่านการอบรมเบื้องต้นแล้ว ท่านจะให้ทิ้งบัญญัติ
ให้มากที่สุด และปฏิบัติไปตามความเป็นจริง เช่นกันเดินจงกรม ก็ไม่ต้อง
เดินช้าผิดปกติมาก ไม่ต้องกำหนดยกหนอ ย่างหนอ อะไร เพราะเป็นบัญญัติ
ตามไม่ทัน ให้กำหนดตามความเป็นจริง คือให้รู้อาการ ตึง หย่อน ให้พยายาม
รู้สึก ระลึก ในอาการ อารมณ์ปัจจุบันอะไรที่มากระทบ ก็รู้ คือฝึกการรู้ตัว รู้ใจ
ในปัจจุบัน ตามความเป็นจริงนั่นเอง ซึ่ง .... ทำให้การปฏิบัติง่ายกว่าการฝึก
เบื้องต้น เพราะเบื้องต้นเป็นบัญญัติ คือให้ฝึกไปก่อน เท่านั้น แต่หากเข้าใจ
อะไรบ้างแล้ว การวฝึกขั้นสูง หรือการฝึกปฏิบัติตามความเป็นจริงก็จะง่ายมาก
เพียงแต่ต้องหมั่นใส่ใจ ระลึก รู้สึก ในสิ่งที่มากระทบให้ทันปัจจุบันเท่านั้นเอง
สนุกกว่า สบายกว่า เป็นธรรมชาติกว่า ขอเพียงเราเสียสละ หาโอกาสไปสร้าง
สมบารมีทางธรรมนี้ อันเป็นกุศลสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก็จะดีมากเพราะ
เป็นการปฏิบัติบูชา อานิสงค์ของการสร้างวัด สร้างโบสถ์ 7 วัด พระพุทธองค์
ท่านยังกล่าวไว้ว่า ยังไม่เทียบเท่าการปฏิบัติบูชาครั้งเดียว ดังนั้นในการบวช
เนกขัมมะปฏิบัติ โดยการถือศีลแปด และปฏิบัติบูชา ถึง 7 วันจึงไม่ใช่เรื่อง
ธรรมดา เพราะทำยาก เนื่องจากจะหาใครที่จะเสียสละเวลา เสียสละโอกาส
ทางการงานก็ดี เสียสละการได้สนุกเพลิดเพลินก็ดี มาทำสิ่งที่ประเสริฐนี้ไม่ง่าย
อันนี้ก็ต้องขึ้นกับอุปนิสัยเก่าเขาด้วยเช่นกัน เพราะหากกำลังศรัทธาแรงกล้า
กว่าสิ่งมายาที่เราชมชอบ เราก็จะหาโอกาสมาเอง เพราะรู้อยู่แล้วว่าดี อย่างน้อย
ก็ได้มาสร้างเหตุปัจจัย ไว้ก่อน และค่อยหาโอกาสมาสานต่อเรื่อยๆ เพราะเวลา
เราต่างเหลือน้อยเหลือเกิน อันนี้ไม่นับ อุบัติเหตุ หรือภัยที่มาตัดรอนชีวิตจากวิบาก
กรรมเก่านะ
ตอนนี้ที่น่าสนใจศึกษา เข้าไปปฏิบัติก็มีที่
สำนักมเหยงค์หนึ่ง จ.อยุธยา
สำนักของอ.มานพ อุปสโมหนึ่ง
สำนักอาจารย์แนบ มหานีรานนท์หนึ่ง
หากเป็นช่วงสั้น เอาแบบเข้าใจง่ายปฏิบัติในขีวิตประจำวันได้เลย
ก็ที่อ.วิโมกข์ อันนี้จะถูกใจ คนไม่ชอบปลีกวิเวก คือชอบสังคม
ต้องอยู่ในสังคม ไม่คิดจะศึกษาปฏิบัติในที่วิเวก 5 วัน 7 วัน
แต่...หากเป็นไปได้ควรทำ ควรหาเวลาไปศึกษา ทั้ง 4 ที่นี้
แต่..หากไม่มีเวลาไปปฏิบัติ เราก็อาจฟังท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ไปก่อนได้เลย
รู้เข้าใจ และหมั่นใส่ใจ ในการใช้ชีวิตประจำวัน ไปเรื่อยๆ คือใจนะปฏิบัติแล้ว ถึงแม้ไม่เข้า
สำนักก็ตาม ก็มีมากมายที่ได้อานิสงส์จากการฟังธรรมบรรยายของท่าน ซึ่งลึกซึ้ง มีเหตุมีผล
น้ำเสียงท่านก็ไพเราะ คมชัด แฝงด้วยจิตใจที่มีเมตตา ฟังได้ทั้งวันไม่เบื่อ ลองโหลด mp3 มาฟัง
หรือ ขอซีดี เอ็มพี 3 มาฟังได้ได้ทางเว็บเขาให้ฟรี หรือฟังจากวิทยุ เอฟเอ็ม 91 ...ตอน ตีห้าครึ่ง -
หกโมงเช้าก็ได้ 30 นาทีเอง ฟังมาในรถก็ได้ ถ้ามาทำงานเช้า...
แนวทางการปฏิบัติวิปัสสนา อ.แนบ มหานีรานนท์
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-16.htm
http://www.geocities.com/prapant.geo/nap_vipassana.html
http://dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-02.htm
อ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์
http://www.dhammastudy.com/thsamatha.html
http://www.dhammahome.com/
อันนี้ท่านเน้นความเข้าใจ ในอรรถฐาธรรม ในทางปรมัตถธรรม ตามความเป็นจริง
คือเน้นทางความเข้าใจให้ถูกต้องก่อน แล้วใส่ใจโดยโยนิโสมนสิการ ไม่เน้นเข้าสำนักก่อนเข้าใจ
เป็นสุดยอดอันดับหนึ่งในเมืองไทยขณะนี้ ในแนวเดียวกับท่านก็ยังมี อาจารย์ พรชัย อีกท่านหนึ่ง
แต่ท่านไม่ค่อยเปิดเผยตัวนัก อีกท่านหนึ่งคือพระมหาสมบัติ ท่านก็ปลีกวิเวกแล้วขณะนี้
คือท่านเหล่านี้จะหนักเน้นไปทางอภิธรรมมีความลุ่มลึกมาก สรุปคือเน้นความเข้าใจ อย่างมีเหตุผลก่อน
แล้วค่อยน้อมใจปฏิบัติ ซึ่ง ท่านก็เน้นสนับสนุนในการปฏิบัติจากชีวิตวิตประจำวันด้วยเช่นกัน
อ.วิโมกข์
http://www.vimokkhadhamma.com/
ลองไปฟังท่าน ก็นับว่าดี น่าจะถูกใจกลุ่มที่ชอบเน้นว่าปฏิบัติอยู่ที่ใจ
ทำที่ไหนก็ได้ ในสังคม การงาน ในชีวิตประจำวัน ซึ่งนับว่าถูกใจหลายคน
แต่... ควรต้องหาโอกาสเข้าสำนัก ปลีกวิเวกบ้าง เพื่อบ่มอินทรีย์ ไม่งั้น
อาจเกิดอุปทานไปเอง ว่าเรารู้แล้ว เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว คือนึกคิดไปเอง
ต้องลองศึกษาดู ทุกอาจารย์คงสุดยอดไม่เท่ากันในสภาวะธรรม สำคัญ
ตัวเราควรต้องลองไปในทุกอาจารย์ 3 - 4 ท่านที่กล่าวถึงเพื่ออะไร...?
เพื่อเราจะได้ไม่ปิดกั้นตัวเอง อาจารย์ท่านที่เราชอบแล้วปัจจุบัน เราก็ไม่ควรติดยึด
ในเบื้องต้น ควรหาโอกาสไปดูอาจารย์ท่านอื่นบ้าง เพื่อสิ่งดีๆ ของท่าน หรือ
กุศโลบายของท่าน อาจถูกจริต อุปนิสัยเราที่เคยสร้างสมไว้แล้วในชาติก่อนๆ
ก็ได้ ทำให้เราก้าวหน้าในการศึกษา ปฏิบัติได้เร็ว และที่สำคัญ เราได้เห็นจุด
ดี ของแต่ละสำนักอาจารย์ มาเป็นตัวเรา สุดท้ายเราก็เป็นอาจารย์ เป็นครู
ตัวเราเองนั่นหล่ะ ถือว่าสมประสงค์ที่ได้ศึกษาแล้ว คือต้องย่อย แต่ละวิชา
มาเป็นสิ่งที่เหมาะกับจริตอุปนิสัยเรา และสังเกตุว่าตัวเราพัฒนาขึ้นไหม
ปล่อยวาง เข้าใจโลก เข้าใจชีวิตได้ง่ายไหม ทำใจได้ไหมในสิ่งที่ต้องประสบ
เมื่อเจอวิบาก สภาวะทางใจเป็นอย่างไร และที่สำคัญ ควรต้องหาพระไตรปิฎก
เล่มที่ 14 และ 17 มาอ่านอย่างน้อย 9 จบ หากทำได้เช่นนี้ นับว่าไม่เสียทีได้
เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้แล้ว เพราะได้สร้าง ได้ทำสิ่งที่ทำได้ยาก ( สำหรับ
ปุถุชนทั่วไป ที่หนาด้วยกิเลส และหลงใน สิ่งอันเป็นมายาทั้งปวง ) เพราะทุกสิ่ง
เราก็ต้องทิ้ง แม้แต่ร่างกาย ก็ต้องตาย เน่าสลายเป็นธาตุสี่ไป จิตหรือใจเท่านั้น
ที่จะต้องไปเกิดในภพภูมิใหม่ แต่หากในจิตใจเราสร้างอนุสัยในทางกุศลมาอย่าง
สม่ำเสมอแล้ว ใจที่ดีนี้ ก็จะไปเกิดในที่ดีอย่างแน่นอน แต่...
เหนือสิ่งอื่นใด ไม่ว่าเราจะเข้าปฏิบัติสำนักไหน ก็ดี หรือจะปฏิบัติในชีวิตประจำวันก็ดี
เราคงจะก้าวไปไม่ถึงไหน หากศีลเรายังกระพร่อง กระแพ่ง ดังนั้น ..หากเรามีสติดี
ศีลคงไม่ล่วงละเมิดอย่างแน่นอน แต่...เราสามารถมีสติได้ตลอดเวลาไหม..?
อันนี้น่าคิด ที่ว่าปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้นเราทำอย่างไร สิ่งที่เราพอทำได้นะคืออะไร
และทำได้แค่ไหน กี่% อันนี้หล่ะคือ สิ่งที่เราต้องเข้าใจว่าทำไมเราต้องปลีกวิเวกบ้าง
ไปชาร์จแบตเตอรรี่ ไปเข้าสำนักบ้าง เพราะเหตุปัจจัยสภาพแวดล้อมอำนวยในการ
สร้างกุศล บ่มอินทรีย์ไงหละครับ
สำนักท่านโกเอนก้า
http://www.thai.dhamma.org/
อันนี้หลายท่านไปมาแล้ว พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าดีมากๆ ๆๆๆ
อันนี้ก็ควรหาโอกาสไปลองเช่นกัน อย่างทีผมบอกว่าเราควรต้องเปิดใจให้กว้าง
ควรต้องหาโอกาสไปศึกษาบ้าง หากดีเหมาะกับเรา เราก็พัฒนาขึ้นไปอีก สุดยอดวิชา
ในหลายสำนัก หากเราใส่ใจ ไม่มีหลงแน่นอน เพราะเรา ยังมีคัมภีร์ตรวจสอบสภาวะ
ได้อยู่คือ พระไตรปิฏกเล่มที่ 14 และ 17 ไม่น่าต้องกังวล ขอให้ดูสภาวะทีเกิดกับ
ตัวเองก่อนดีกว่า ว่าสุดยอดที่เขาว่าดีนั้น กับเราๆ มีความรู้สึกอย่างไร หลังออกจาก
สำนัก ในช่วง 1 อาทิตย์ 1 เดือน
บางทีเราอาจคิดว่าอาจสับสนเพราะไปหลายสำนัก แต่ขอให้เราแค่นึกคิดแค่อานิสงส์
เบื้องต้นเป็นพอ คือได้ไปถือศีลแปด ได้ไปปฏิบัติบูชา ได้ไปทำความดี ได้มีโอกาส
อโหสิกรรม แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล ขอให้มีเจตนาแค่นี้เป็นฐานก่อนจะดีกว่า เพราะ
เป็นสิ่งสำคัญ เรายังมีผู้มีพระคุณ ต้องตอบแทน เรายังมีเจ้ากรรมนายเวร ที่เขารอเรา
แผ่เมตตา อุทิศส่วนกุศล เรายังต้องย้อมใจ ปรับระดับของจิตให้เป็นพระ คือฝึกใจให้เป็น
พระก่อน ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาธรรมก่อน คือต้องมีใจรู้สึกอย่างนั้นๆ ให้ได้ก่อน
จากคุณ :
Toad
- [
30 ม.ค. 49 07:58:44
]