ความคิดเห็นที่ 6
ขอแย้งข้อมูลของคุณประการังหน่อยครับ
ร่างกายเราจะใช้พลังงานในรูปของ ATP ไม่ว่าจะทำอะไรนะครับ โดย ATP นั้นจะสังเคราะห์ได้จากทั้ง คาร์โบรไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน ขึ้นกับว่าจะใช้กระบวนการสังเคราะห์แบบไหน
ผมขอ quote ที่คุณ tay117 เคยเขียนบทความไว้ใน Thaimuscle ซึ่งสอดคล้องกับแหล่งความรู้ด้าน physiology อื่นๆ ตามนี้เลยครับ
http://www.thaimuscle.net/modules.php?name=News&file=article&sid=55&mode=&order=0&thold=0
==============================================
ATP เป็นโมเลกุลที่เก็บรักษาพลังงานไว้ให้เซลเรียกใช้งาน เซลจะไม่นำพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, หรือ โปรตีน มาใช้โดยตรง แต่จะนำพลังงานที่ได้จากการสลายแหล่งพลังงานเหล่านั้นมาสร้าง ATP เก็บไว้ในเซลพร้อมที่จะใช้งาน ATP มีจำนวนจำกัดในร่างกาย และไม่มีทางที่จะเพิ่มจำนวนได้ไม่ว่าโดยทางอาหารเสริม หรือการออกกำลัง ดังนั้น ATP จะถูกใช้งานและสังเคราะห์ขึ้นใหม่ตลอดเวลา เมื่อ ATP ถูกสังเคราะห์เก็บไว้ในเซลจนเต็มที่แล้ว พลังงานจากอาหารที่เหลือก็จะถูกเก็บไว้ในรูป ไกลโคเจน (glycogen), หรือ เซลไขมัน (adipose cell - ตามผิวหนัง หรืออวัยวะในร่างกาย) ส่วนโปรตีน ที่เหลือใช้จะถูกขับออกจากร่างกาย (รายละเอียดอ่านได้จาก "แหล่งพลังงาน") ในทางกลับกัน เมื่อ ATP แตกสลายให้พลังงานออกมา เซลก็จะเริ่มผลาญแหล่งพลังงานต่าง ๆ เพื่อนำพลังงานมาสังเคราะห์ ATP ระบบเผาผลาญพลังงานนี้มี ๓ ระบบหลักด้วยกัน ดังต่อไปนี้
ATP-Pcr system (Alactic system) ======================== ภายในเซลจะมีโมเลกุลพลังงานสูงอีกรูปแบบเก็บไว้นอกจาก ATP เรียกว่า Pcr หรือ creatine phosphate (ครีเอทีน ฟอสเฟต) เมื่อระดับการใช้ ATP เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (เช่นจากนั่งเฉย ๆ มาวิ่งอย่างทันทีทันใด) เซลจะดึงพลังงานจาก Pcr มาใช้สังเคราะห์ ATP ระบบนี้มีความรวดเร็วมาก Pcr จะถูกใช้งานจนหมดไปจากเซลในช่วงเวลา 3-15 วินาทีแรกของการออกกำลังกายสุดแรง 100% เช่น วิ่งแข่งร้อยเมตร ระบบนี้ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน จึงถูกเหมารวมว่าเป็นระบบประเภท anaerobic
ประเภทของอาหารที่เสริมสร้างและเพิ่มระดับครีเอทีน ผมจำได้ว่ามีบทความแล้วในหมวด nutrition อาหารเสริมประเภทครีเอทีนมีผลเพิ่มระดับ Pcr ในเซลและช่วยให้ระบบนี้จ่ายพลังงานได้นานขึ้นมากกว่า 15 วินาที เป็นผลทำให้ออกกำลังได้นานขึ้น เพราะว่าไม่ต้องเสียแหล่งพลังงานอื่น (โดยเฉพาะการเล่นกล้าม แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อกีฬาที่ใช้เวลานานอย่างเช่น วิ่งมาราธอน)
Glycolytic system ======================== การทำงานของระบบนี้ซับซ้อนกว่าระบบ Pcr มาก โดยรวมแล้วแบ่งได้สองระดับ ระดับแรกคือการสลาย ไกลโคเจน ในเซล หรือ กลูโคส ในกระแสเลือดให้กลายเป็น pyruvic acid ระดับการทำงานนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ดังนั้นบางครั้งจึงเรียกว่า anaerobic glycolytic กรดไพรูวิค (pyruvic acid) จะถูกสลายต่อไปได้สองทางเลือก ๑. ในกรณีที่มีออกซิเจนเพียงพอต่ออัตราการใช้พลังงาน กรดไพรูวิคจะถูกสลายให้พลังงานในอีกระบบที่ใช้ออกซิเจน ๒. ในกรณีที่ออกซิเจนไม่เพียงพอกรดไพรูวิคจะถูกเปลี่ยนเป็น กรดแลคติค (lactic acid) กรดแลคติคถ้าถูกสร้างขึ้นมากในกล้ามเนื้อจะส่งผลให้เซลหยุดการทำงานของระบบ glycolytic เพื่อรักษาเซล และโปรตีนในกล้ามเนื้อไม่ให้โดนกรดทำลาย
ระบบนี้โดยมากทำงานควบคู่ไปกับระบบ Pcr ในกรณีของการออกกำลังสุดแรง ระบบนี้ช่วยรักษาระดับ ATP ได้นานประมาณ 1-2 นาที ก่อนที่ร่างกายจะหยุดระบบเพราะกรดแลคติค การเล่นกล้ามในตอนพักถ้าหายใจเข้าออกลึก ๆ จะช่วยให้ร่างกายขับกรดแลคติคออกจากกระแสเลือดได้เร็วขึ้นเล็กน้อย และส่งผลให้ออกกำลังได้นานขึ้นในระดับหนึ่ง
Oxidative system (aerobic system) ======================== ระบบนี้นอกจากเผาผลาญกรดไพรูวิคแล้ว เป็นระบบที่เผาผลาญไขมันอีกด้วย แต่เนื่องจากระบบนี้มีความจำเป็นต้องใช้ออกซิเจน ดังนั้นระบบนี้จะจ่ายพลังงานให้กับการออกกำลังที่ความเข้มข้น (intensity) อยู่ที่ระดับ ประมาณ 50 - 75% เท่านั้น ถ้าแหล่งพลังงานของระบบ Pcr และ glycolytic ถูกใช้จนหมด การออกกำลังจะทำได้เพียงที่ระดับประมาณวิ่งจ๊อกกิ้งช้า ๆ เท่านั้น ระบบนี้ไม่สามารถสนับสนุนการออกกำลังที่เข้มข้นกว่านี้ได้
สรุป ==== เมื่อนั่งพักเฉย ๆ หรือเดินช้า ๆ ร่างกายจะใช้ระบบ oxidative เผาผลาญไขมันเป็นส่วนมาก เมื่อเริ่มออกกำลัง ร่างกายจะใช้ anaerobic system ก่อน ถึงแม้ว่าระดับ intensity จะต่ำ เพราะว่าอัตราการใช้ ATP เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการนั่งเฉย ๆ และร่างกายต้องเสียเวลาสลายไขมันนำมาใช้ในระบบ oxidative เมื่อระดับ ATP คงที่แล้วร่างกายจึงหันกลับไปใช้ oxidative system มากขึ้น หมายความว่าการออกกำลังระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่เผาผลาญไขมันมาก ดังนั้นการเล่นกล้าม หรือยกเวท จะใช้ไขมันน้อย หรือน้อยมาก เมื่อเทียบกับการวิ่ง หรือว่ายน้ำ ขอเพิ่มเติมว่า ถ้าจะลดไขมันหน้าท้องโดยการซิทอัพ สู้ไปเดินหรือวิ่งดีกว่า เพราะว่ากล้ามเนื้อหน้าท้องเล็กกว่ากล้ามเนื้อขามาก ถึงจะเผาผลาญไขมันเหมือนกัน แต่กล้ามเนื้อที่ใหญ่กว่าย่อมใช้พลังงานมากกว่า ดังนั้นเดินจึงเผาผลาญไขมันมากกว่าการซิทอัพ และสุดท้าย การเผาผลาญไขมันไม่เหมือนกับ ไกลโคเจน กล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานถ้าใช้พลังงานจากไกลโคเจนจะใช้ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อนั้น ๆ หมายความว่า เล่น Dumbell curl แล้วไปเล่น leg extension ต่อได้ เล่นแขนแล้วขาไม่ล้า เพราะที่ขายังมีไกลโคเจนเพียงพอ แต่ไขมันจะกระจายไปตามร่างกาย ถึงแม้ว่าจะใช้กล้ามท้องซิทอัพ ไม่ได้หมายความว่าร่างกายจะใช้ไขมันจากหน้าท้อง ร่างกายอาจจะดึงไขมันจากขามาใช้ก็ได้ ซิทอัพมาก ๆ ท้องแข็ง แต่ขาเพรียวก็ไม่แปลก อย่าไปตกใจ
แปล ดัดแปลง และเพิ่มเติม จาก Wilmore, J.H., & Costill, D.L. (2004). Physiology of sport and exercise, Human Kinetics."
==============================================
มีอีกบทความของคุณ tay117 อธิบายเพิ่มเติมเรื่องที่ว่า แหล่งพลังงานแต่ละแหล่ง (คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน) จะถูกนำไปใช้สร้าง ATP อย่างไร ลองอ่านดูตามลิ้งครับ จะอธิบายเรื่องที่กลัวว่ากล้ามเนื้อจะหายด้วย
http://www.thaimuscle.net/modules.php?name=News&file=article&sid=54&mode=&order=0&thold=0
ผมว่าจริงๆแล้วทฤษฎีต่างๆด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเนี่ย เค้ามีอธิบายไว้หมดแล้วละ เพียงแต่ว่าอ่านแล้วจะเข้าใจยาก ก็เลยจะมีคนเอาไปเรียบเรียงใหม่ให้เป็นภาษาที่คนธรรมดาอ่านแล้วรู้เรื่อง แต่บางทีก็ขัดๆกันอยู่เหมือนกัน ซึ่งผมว่าน่าจะศึกษาจากหลายๆแหล่งครับ โดยเฉพาะแหล่งความรู้ด้านเพาะกายเนี่ย จะมีเรื่องเกี่ยวกับการลดน้ำหนักอยู่เยอะเลย ไม่ใช่ว่าจะมีแต่เรื่องสร้างกล้ามซะที่ไหน ^^;;
จากคุณ :
3MOG
- [
10 พ.ย. 50 11:00:34
]
|
|
|