ความคิดเห็นที่ 1
ภาระงานที่มีมากเกินไปจากจำนวนประชาชนไปตรวจรักษามากขึ้น รวมทั้งการที่ประชาชนร้องเรียนหรือฟ้องร้องมากขึ้น ประกอบกับโรงพยาบาลเอกชนมีความต้องการแพทย์มากขึ้น ภาระงานน้อยกว่า และค่าตอบแทนสูงกว่า ทำให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ พากันลาออกจากโรงพยาบาลของรัฐบาล ไปทำงานในโรงพยาบาลเอกชนมากขึ้น (เอกสารหมายเลข 4)ทำให้ความขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ยิ่งรุนแรงยิ่งขึ้น
แพทย์ในประเทศไทยที่มีอยู่ทั้งหมด 19,546คนทั้งประเทศนั้น สังกัดในกระทรวงสาธารณสุขเพียง 9,928 คน โดยอยู่ในกรุงเทพมหานคร 805 คน อยู่ในภาคกลาง (ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) 3,216คนภาคเหนือ 2,016คน ภาคใต้1,405 คน เมื่อเปรียบเทียบจำนวนแพทย์ต่อจำนวนประชาชนแล้ว พบว่าทั่วประเทศมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชาชนเท่ากับ 1: 3,182 กทม.1:867 ภาคกลาง (ไม่รวมกทม.) 1:3,124 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1:7,015 ภาคเหนือ 1:3724 ภาคใต้ 1:4306 (เอกสารหมายเลข4) จะเห็นได้ว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแพทย์น้อยที่สุด คือแพทย์ 1 คนต่อจำนวนประชาชน 7,015 คน
ในขณะที่แพทย์มีจำนวนน้อย แต่ ประชาชนทั้งประเทศ63ล้านคนเศษ ไปรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกทั้งหมด 134,057,237 ครั้ง ไปรักษาแบบผู้ป่วยใน(นอนในโรงพยาบาล)อีก 35,656,391 ครั้ง ในปีพ.ศ. 2548 ตัวเลขนี้แสดงว่าในแต่ละวันแพทย์จะต้องตรวจรักษาทั้งผู้ป่วยนอกวันละ 367,280 คนและผู้ป่วยในวันละ 97,689คน ในขณะที่มีแพทย์ที่ทำงานรักษาผู้ป่วยจริงๆเพียงประมาณ 10,000 คนเท่านั้น (เอกสารหมายเลข 4และ5)
ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆแล้วจะเห็นว่าภาระงานของแพทย์ไทยต่อจำนวนผ ู้ป่วยสูงกว่าแพทย์ทุกประเทศไม่ว่าจะเป็นเวียตนาม มาเลเชีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐ แต่ค่าตอบแทนของแพทย์ไทยต่ำกว่าค่าตอบแทนของแพทย์ทุกประเทศที่กล่าวมา (เอกสารหมายเลข 1 ,และ6)
ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพทย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้นำทีมในด้านการรักษาผู้ป่วยจะต้ องเป็นผู้รับผิดชอบต่อวิธีการ กระบวนการ และผลของการรักษา ฉะนั้นแพทย์จึงเป็นผู้ที่ถูกฟ้องในฐานะผู้รับผิดชอบการรักษามากที่สุด และแพทย์จะต้องรับผิดชอบในผลการรักษาและอาการของผู้ป่วยตลอดเวลา24 ชั่วโมงของแต่ละวันในฐานะแพทย์เจ้าของไข้ แม้เป็นวันหยุดเสาร์อาทิตย์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็จะต้องมาตรวจเยี่ยมผู้ป่ วย เพื่อสั่งการรักษาก่อนที่จะสามารถไปทำภารกิจส่วนตัวของตนได้ ทำให้แพทย์ส่วนหนึ่งไม่อาจจะอดทนอยู่ทำงานในกระทรวงสาธารณสุขได้นาน เพราะภาระงานและความรับผิดชอบมากมาย จึงเห็นได้ว่าจำนวนแพทย์ลาออกจากราชการมีมากขึ้นเรื่อยๆภายหลังการใช้พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า(เอกสารหมายเลข5)
ถ้าถามว่าแพทย์ที่ลาออกแล้วไปทำอะไรบ้าง ก็จะพบว่าไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน ทำคลินิกเอกชนหรือส่วนตัว ไปทำอาชีพอื่น และไปทำงานบริหารการเงินของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและไปเป็นนักการเมื องทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น บางคนก็ไปเรียนนิติศาสตร์ เพื่อให้มีความรู้ไว้ป้องกันตัวไม่ให้ถูกฟ้อง หรือไว้แก้คดี/หรือเป็นที่ปรึกษาเมื่อแพทย์ถูกฟ้อง หรือบางตนก็ไปเป็นที่ปรึกษาให้ประชาชนในการฟ้องแพทย์ก็มี
การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์นั้นมิได้ขาดแคลนเฉพาะจำนวนเท่านั้น ยังมีการขาดแคลน บุคลากรเฉพาะเช่น แพทย์เฉพาะทางในหลายสาขา เช่นดมยา ศัลยกรรมต่างๆ ฯลฯ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติในหอผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยเฉพาะโรค ขาดแคลนบุคลากรอื่นๆไม่ว่าจะเป็น ทันตแพทย์หรือนักเทคนิกการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆที่ทำงานสนับสนุนการค้นหาสาเหตุของโรคโดยการใช ้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ต่างๆอีกมากมาย ผลของการขาดแคลนบุคลากรเหล่านี้ ทำให้ประชาชนมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากการตรวจรักษาสุขภาพ ทำให้มีการร้องเรียนและฟ้องร้องมากขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้นอกจากจะเสียหายต่อประชาชนทั่วไปแล้ว ยังส่งผลให้แพทย์ส่วนมากที่ตั้งใจทำงานตรวจรักษาประชาชนเกิดความท้อแท้และเบ ื่อหน่ายต่อวิชาชีพของตนเอง พยายามเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้บริหาร เพื่อจะได้ไม่ต้องตรวจรักษาผู้ป่วย ลาออกจากราชการ และ/หรือเลิกอาชีพแพทย์(เอกสารหมายเลข 5)
และที่สำคัญ แพทย์ส่วนมากในปัจจุบันนี้ก็ไม่นิยมที่จะส่งเสริมให้บุตรหลานของตนมาเรียนแพ ทย์อีกต่อไป จำนวนเยาวชนคนรุ่นใหม่ก็ไม่อยากจะเรียนแพทย์ เพราะรับรู้ถึงกระแสการฟ้องร้องรวมทั้งการวิพากษ์วิจารณ์โจมตีแพทย์ทางสื่อม วลชน ยัง มีจำนวนเยาวชนที่สามารถสอบเข้าศึกษาในคณะแพทย์ศาสตร์ได้ แต่ได้สละสิทธิ์ไม่ยอมเข้าเรียนแพทย์ต่อถึง 25% ในปีพ.ศ. 2550(เอกสารหมายเลข6 หน้า16) และผู้ที่เข้าเรียนแพทย์มีคะแนนการสอบเข้าต่ำเพียง 40%ของคะแนนเต็มเท่านั้น จริงอยู่การเรียนแพทย์อาจไม่จำเป็นต้องมีสมองยอดเยี่ยม แต่ถ้าคะแนนต่ำเกินไปก็อาจจะทำให้คุณภาพของวิชาการแพทย์ไทยตกต่ำลง และคุณภาพมาตรฐานทางการแพทย์ไทยก็น่าเป็นห่วง และย่อมจะส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนไทยในอนาคต
จากคุณ :
หมอหมู
- [
17 พ.ย. 50 10:59:30
]
|
|
|