ความคิดเห็นที่ 32
อันสุดท้ายแล้วครับ... จำได้ว่ามีคนเคยถามว่า Raja โยคะคืออะไร เพราะอยากไปเข้าเวิร์คชอบ แล้วผมตอบไม่ได้ และบอกว่าไม่เคยฝึก...ซึ่งก็จริงครับ แต่จริงๆ เหมือนเส้นผมบังภูเขามาก ๆ
4.ราชะโยคะ (Raja Yoga)
สรุปว่า Raja Yoga ก็คือ Ashtanga Yoga หรือ Kundalini Yoga ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายของการฝึกก็เหมือนกัน... ในที่นี้ผมไม่ได้พูดถึง Ashtanga yoga แบบเป็นสไตล์ของโยคะ แต่ขอพูดถึงในนิยามตามความหมายของ Ashtanga หรือ Eight limbs of yoga
จุดมุ่งหมายของ Raja Yoga ก็คือการควบคุมจิตใจ... ใช้ใจเป็นตัวควบคุมร่างกาย... คือ ใช้กายมาเป็นตัวล่อก่อนนั่นเอง.... ดังนั้นการฝึกโยคะแบบนี้จะให้ความสำคัญกับท่าอาสนะมากกว่า Bhakti, Jnana หรือ Karma yoga ซึ่งแทบไม่ได้กล่าวถึงท่าอาสนะด้วยซ้ำ
แต่อาสนะเป็นแค่หนึ่งในแปดของสิ่งที่สำคัญในการฝึกโยคะแบบนี้ เพราะนอกจากอาสนะแล้ว....สิ่งที่ต้องฝึกควบคู่กันไปด้วยก็มีอีกเจ็ดอย่าง ตามนิยามของ Ashtanga (eight limbs of yoga)... ซึ่งขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้ครับ... (หากเขียนภาษาไทยไม่ถูก ช่วยแนะนำด้วยนะครับ เพราะหนังสือผมเป็นภาษาอังกฤษ อาจแปลเป็นสันสฤตแบบเขียนไทยผิดไปบ้าง อันไหนไม่แน่ใจ ขอใช้ทับศัพย์นะครับ...)
1. ยามะ (Yamas) ประกอบด้วย
-อหิงสา non-vilolence ผมขอแปลว่าไม่เบียดเบียนแล้วกัน เหมือนศีลข้อหนึ่งที่ว่าด้วยการห้ามฆ่าสัตว์ และไม่ใช้ความรุนแรง จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลอีกหลาย ๆ ข้อที่โยคีเป็นมังสวิรัติครับ
-สัตยา ก็คือไม่พูดปดนั่นเอง เหมือนศีลข้อสี่
-ปรัมจายา หรือ พหรมจรรย์ ศีลข้อสามบอกว่าไม่ประพฤติผิดในกาม.. แต่ปรัมจายาในที่นี้ รวมถึงการมีกิจกรรมทางเพศในทุกด้าน เหมือนพระสงฆ์นั่นเอง เพื่อต้องการตัดพลังขับดันทางเพศออกไป แม้จะดูเหมือนไม่สำคัญ แต่นี่เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นสำหรับการปลุก Kudalini กันทีเดียว...
- อสัตยา ไม่ลักขโมย เหมือนศีลข้อสอง
- Aparigrahaไม่ขอแปลเป็นไทย แต่ความหมายคือ ยับยังชั่งใจ ไม่รับสิ่งของอะไรโดยไม่จำเป็น...
2. นิยามะ (Niyama) ได้แก่
-Saucha คือ การรักษากายและใจให้บริสุทธิ์ -Santosha คือ มีความพึงใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ สมถะ -Tapas คือ อดกลั้น -Swadhyaya การอ่านตำราหรือศึกษาตำราจากผู้รู้ จนรู้แจ้ง -Isawara-pranidhana คือ การน้อมตัวเข้าหาสิ่งที่ตนนับถือ บูชา... เชื่อในพลังที่สูงกว่าและจะนำพาเราสู่การหลุดพ้นในที่สุด...
3. อาสนะ (Asana) อันนีก็คือท่าโยคะต่างๆ นั่นเอง... จริง ๆ ตำราหะฐะโยคะพิดิพิกะ หรือแม้แต่โยคะสุตราของท่านปรมครูปตัญชลี(เขียนถูกป่าวหว่า) ไม่ได้บรรยายถึงท่าอาสนะมากมายอย่างในปัจจุบัน หากแต่ท่าอาสนะที่กล่าวถึงก็คือท่านั่งขัดสมาธินั่นเอง...
มีครูหลายคนบอกว่า เราฝึกอาสนะต่างๆ มากมายก็เพื่อขัดเกลาใจ และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการนั่งสมาธินั่นเอง...
4. ปราณายามะ (Pranayama) คือการฝึกเพื่อควบคุมลมหายใจและปราณะในร่างกายนั่นเอง
5. Pratyahara การลดละการยึดติดกับวัตถุ 6. Dharana สมาธิ 7.Dhyrana ผมอยากเรียกว่าเป็นสมาธิที่เกิดอย่างต่อเนื่อง 8.Samadhi แม้จะเรียกว่าสมาธิ แต่ในที่นี้ผมว่าน่าจะหมายถึง ฌาน ตามนิยามแบบพุทธมากกว่า
พูดมาตั้งยาว...จะเห็นได้ว่า โยคีที่ฝึกราชะโยคมีข้อจำกัดมากมาย คล้ายกับศีลในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง... สิ่งเหล่านี้นำความบริสุทธิ์มาสู่กายและใจ ไม่ว่าจะสอนโดยใครก็ล้วนเป็นความจริง
เมื่อใจและกายบริสุทธิ์และเปี่ยมไปด้วยสติเท่านั้น เราจึงจะสามารถบรรลุจุดหมายของราชะโยคะ, Ashtanga โยคะ, หรือ Kundalini yoga ก็คือ การปลุกพลัง Kundalini ที่เชื่อว่าหลับไหลอยู่ที่จักระสุดท้ายในร่างกาย (Muladrara Chakra)ให้ตื่น... และนี่คือจุดหมายสูงสุดในการฝึก Raja โยคะนั่นเอง...
มีคนหลายคนอยากปลุก Kundalini เหลือเกิน มีโฆษะณาต่างๆ ในเมืองนอกที่บอกว่าสามารถปลุก Kundalini ได้ในเจ็ดวัน ครูผมเตือนแล้วเตือนอีก ว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง และไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ การปลุก Kundalini ทำได้ แต่หากร่างกายและใจไม่พร้อมจะมีแต่ผลเสีย
ครูบอกว่า หากจะจริงจังจริงๆ กฎทั้งแปดข้อที่บอกไปต้องฝึกอย่างเคร่งครัด แค่ทานมังสวิรัติให้ได้สองปี ถือศีล และฝึกปราณะยามะทุกวัน ผมก็ทำไม่ได้แล้ว ดังนั้นเรื่องที่เขียน ดูจะเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน หากแต่เขียนไว้เป็นข้อมูลให้เลือกพิจารณาครับ...
แก้ไขเมื่อ 18 มี.ค. 51 08:16:54
แก้ไขเมื่อ 18 มี.ค. 51 07:52:34
แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 51 22:58:06
จากคุณ :
เด็กซาปอย
- [
17 มี.ค. 51 22:36:33
]
|
|
|