ความคิดเห็นที่ 44

^ ^ ใจเย็นๆค่ะ เข้าใจว่าตอนแรกคุณ ต้องการร่วมแชร์เฉยๆ อ่านตอนแรกก็อึ้ง...เย้ยยยจริงเหรอ ดีจัง ปนไม่เชื่อค่ะ ว่าจ่ายเป็นมาตรฐานเท่ากัน เลยไปหาข้อมูลเพิ่ม ปรากฎว่าจริงอย่างที่เค้าว่าค่ะ
ความคิดเรา เห็นด้วยตามคุณthangthai_ladypinkค่ะ ว่าค่ะ โรงพยาบาลเอกชนไทยเหมือนทำธุรกิจซะมากกว่า ไม่ต้องวัดว่าห้องพิเศษ ห้องธรรมดา เป็นมาก เป็นน้อยราคาไม่เท่ากันแบบที่ข้างบนว่าก็แพงนรกแล้วค่ะ....
เราเข้าโรงพยาบาลเอกชน...สมิ แค่เป็นลมพิษเป็นเม็ดคันๆขึ้นนิดเดียว(รอยเท่ายุงกัด แต่ตอนนั้นรีบ) ค่ารักษาล่อไป1600 เรื่องจริงค่ะ ปีที่แล้วนี่เอง....ได้คาราไมล์ขวดเท่าแป้งน้ำศิริราชกับยาอะไรซักอย่างเท่านั้น บริการดีเยี่ยมมาก แต่1600นี่ก็แพงเกินนะ
ส่วนที่คุณข้างบนบอกว่ามีคนญี่ปุ่นมารักษาที่ไทยมากมาย?จริงเหรอคะ? แต่ก็น่าจะจริงค่ะ เพราะค่ารักษาในไทยยังไงญี่ปุ่นโดยเบิกจ่ายเงินกองทุนของรัฐได้เท่ากับการรักษาในญี่ปุ่น คือ เบิกจ่ายได้ร้อยละ ๗๐
๑. บริการที่ญี่ปุ่นเปิดตลาดให้ไทย คือ การเข้าไปจัดตั้งกิจการ/ให้บริการและให้คนไทยทำงานให้บริการในญี่ปุ่นได้เพิ่มเติมจากที่ผูกพันไว้ที่ WTO ในสาขาบริการทั้งหมด ๖๕ สาขาย่อย และปรับปรุงข้อผูกพันที่ WTO กว่า ๗๐ สาขาย่อย อาทิเช่น ร้านอาหาร โรงแรม การจัดประชุม สปา บันเทิง โฆษณา ตัดเย็บเสื้อผ้า แฟชั่นดีไซน์ บริษัททัวร์ บริการสอนรำไทย การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ และก่อสร้าง เป็นต้น
นอกจากนี้ ญี่ปุ่นรับที่จะผูกพันให้คนญี่ปุ่นที่ป่วยมารับการรักษาพยาบาลในไทยได้ โดยเบิกจ่ายเงินกองทุนของรัฐได้เท่ากับการรักษาในญี่ปุ่น คือ เบิกจ่ายได้ร้อยละ ๗๐
>> เราว่าคนไทยเงินเดือน ค่าครองชีพไม่สูงเท่าประเทศอื่น คิดง่ายๆคือค่าครองชีพจะสูงหรือจะต่ำ แต่ที่แน่ๆเราว่าโรงพยาบาลไทยใช้แต่กลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อหาเงินมากกว่า ในขณะที่ในหลายประเทศจะให้ความสำคัญกับการรักษาคนไข้มากกว่า
จากเวปนี้ค่ะ http://www.senate.go.th/nla2/committee/view.php?committee_id=29&group=2&id=478 --------------------------------------------------------------------- และสาเหตุว่าทำไมต่างชาติมารักษากันที่ไทยค่ะ โรงพยาบาลเอกชน ข้อตกลง JTEPA
ดันคนไข้ชาวญี่ปุ่นโต คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารับการ รักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ อยู่ประมาณปีละ 2 แสนคน ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย กับญี่ปุ่น...
กรุงเทพธุรกิจ บทวิเคราะห์โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
--------------------------------------------------------------------------------
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารับการรักษาพยาบาลยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยมีแนวโน้ม เติบโตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ประมาณปีละ 2 แสนคน ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทย กับญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่ได้มีการเซ็นสัญญาไปเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2550 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนตุลาคม 2550 นี้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนับเป็นการเปิดโอกาสที่ดีต่อความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การลงทุนระหว่างกันรวมทั้งเอื้อต่อการเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของ คนไข้ชาวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยและคนไข้ ชาวญี่ปุ่นที่สนใจเดินทางเข้ามารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้เข้าสู่ประเทศและธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทางฝ่ายไทยเองก็มีความจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมไว้รองรับคนไข้ ชาวญี่ปุ่นที่จะมีเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นการอบรมให้ความรู้บุคลากรทางการ แพทย์ทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรมเพื่อให้เข้าใจอุปนิสัย ความต้องการของคนญี่ปุ่น รวมไปถึงการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังขาดแคลนให้เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งในส่วนของคนไข้ในประเทศและคนไข้ชาวต่างชาติ
ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการยังโรงพยาบาลเอกชนของไทยใน สัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับคนไข้ชาวต่างชาติประเทศอื่นๆ โดยมีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศในเอเชียใต้ เป็นกลุ่มที่คนไข้เข้ามารักษาในลำดับรองลงมา ทั้งนี้จากข้อมูลจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติที่ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนไทยของ กรมส่งเสริมการส่งออกพบว่า คนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการสามารถแยกออกได้เป็นกลุ่มชาวต่างชาติ ที่เข้ามาทำงานและพักอาศัยในประเทศไทยรวมทั้งกลุ่มชาวต่างชาติที่ทำงานใน ประเทศเพื่อนบ้านคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ส่วนอีก 40% จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทยแล้วเกิดเจ็บป่วยรวม ทั้งกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางมารักษาพยาบาลในไทยโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาในระยะเวลาสั้นๆอาทิ ทำฟัน ตรวจสุขภาพ ศัลยกรรม รักษาเกี่ยวกับสายตาเช่นเลสิก เป็นต้น
สำหรับในส่วนของคนไข้ชาวญี่ปุ่นนั้นในปี 2544 มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ารักษายังโรงพยาบาลเอกชนของไทย จำนวน 118,170 คนคิดเป็นร้อยละ 21.5 จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 550,161 คน ในขณะที่ปี 2546 คนไข้ชาวญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 162,909 คน คิดเป็นสัดส่วน 16.7% จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 973,532 คน ส่วนในปี 2548 คนไข้ชาวญี่ปุ่นมีทั้งหมด 185,616 คน คิดเป็น 14.9% จากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติทั้งหมด 1,249,984 คน สำหรับในปี 2550 คาดว่าจำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษาพยาบาลในไทยจะมีไม่ต่ำกว่า 200,000 คนจากจำนวนคนไข้ชาวต่างชาติที่เข้ารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนของไทยที่คาด ว่าจะมีประมาณ 1.54 ล้านคน
สำหรับปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้มีคนไข้ชาวญี่ปุ่นเข้ามารักษาพยาบาลยังโรง พยาบาลเอกชนของไทยนอกจากปัจจัยทางด้านอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ต่ำกว่าโรง พยาบาลคู่แข่งของต่างประเทศแต่คุณภาพการรักษาใกล้เคียงกันแล้ว โรงพยาบาลเอกชนของไทยยังมีความได้เปรียบจากศักยภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยส่งเสริมและเกื้อหนุนต่อธุรกิจอาทิ ธุรกิจทางด้านสปาและการแพทย์แผนไทยซึ่งสามารถนำมาใช้เสริมการรักษาคนไข้ควบ คู่กันเพื่อให้คนไข้ได้รับความพึงพอใจมากขึ้น ในขณะเดียวกันจากการที่ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่นิยมของต่างชาติทำ ให้การจัดกิจกรรมท่องเที่ยวร่วมไปกับการรักษาพยาบาลให้กับคนไข้และผู้ติด ตามมีศักยภาพยิ่งขึ้น
ประการสำคัญ การที่ไทยและญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมประเพณีที่ใกล้เคียงกันทั้งทางด้านศาสนา ความเชื่อ รวมทั้งความสัมพันธ์ทางด้านการค้าการลงทุนมายาวนานโดยเฉพาะอุปนิสัยใจคอของ คนไทยที่ยิ้มแย้มแจ่มใส รักงานให้บริการ เข้าได้กับอุปนิสัยใจคอของคนญี่ปุ่น ส่งผลให้มีชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาทำงานอยู่อาศัยและท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หากพิจารณาจากข้อมูลของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพบว่าญี่ปุ่นเป็น ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยอยู่ในอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย โดยในปี 2549 ที่ผ่านมามีชาวญี่ปุ่นเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 1.31 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 9.5% จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทั้งหมดที่เข้ามาในประเทศไทยจำนวนประมาณ 13.82 ล้านคน
สำหรับในส่วนของชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาพักอาศัยและทำงานในประเทศไทยนั้นจาก ข้อมูลของกรมการจัดหางานพบว่าแรงงานต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานใน ประเทศไทยในส่วนของคนญี่ปุ่นมีจำนวนทั้งสิ้น 22,976 คน ทั้งนี้หากรวมกับผู้ติดตามเช่นคู่สมรสและบุตรแล้วจำนวนคนญี่ปุ่นที่พัก อาศัยในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 2-3 เท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นฐานสนับสนุนให้ชาวญี่ปุ่นเป็นคนไข้ชาวต่างชาติที่มี บทบาทมากที่สุดในกลุ่มคนไข้ต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของไทย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ผลจากการที่ไทยมีการทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ไปเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งมีทั้งข้อตกลงทางการค้า การลงทุน และภาคบริการที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้คนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ารักษายังโรง พยาบาลเอกชนของไทยมีเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้
กลุ่มคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย จากข้อตกลงเสรีทางการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น จะส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการค้า การลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างกันทั้งการเดินทางเพื่อการ ท่องเที่ยวหรือการพักอาศัยเพื่อทำงาน โดยในส่วนของนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นนั้น จากการเปิดเสรีให้ญี่ปุ่นเข้ามาตั้งบริษัทในประเทศไทยทำให้มีหลายสาขา ธุรกิจที่ญี่ป่นสนใจเข้ามาลงทุนเพิ่มในประเทศไทย อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจบริการ โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น
ขณะเดียวกันจากข้อตกลงดังกล่าว ญี่ปุ่นตกลงที่จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมสัมมนาให้ความรู้กับ ผู้ประกอบการของไทยทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเหล็ก อุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงการอนุรักษ์พลังงาน เป็นต้น ซึ่งจากปัจจัยดังที่กล่าวมาข้างต้นจะส่งผลให้พนักงาน ผู้บริหารรวมทั้งผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาพักอาศัยในประเทศไทย เพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของโรงพยาบาลเอกชนไทยซึ่งมีกำลัง ซื้อค่อนข้างสูง
กลุ่มคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่ต้องการเข้ามาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของไทยโดยตรง จากการที่ญี่ปุ่นผูกพันข้อตกลงให้คนญี่ปุ่นที่เจ็บป่วยสามารถเดินทางเข้ามา รักษาพยาบาลในประเทศไทยได้โดยสามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนของรัฐได้เท่า กับการรักษาในประเทศญี่ปุ่นซึ่งกำหนดให้เบิกได้ 70% และผู้ป่วยจ่ายเอง 30% เป็นปัจจัยหนุนให้คนญี่ปุ่นสนในเข้ามารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนของไทย เพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วของการให้บริการทางการแพทย์เมื่อเทียบ กับการใช้บริการโรงพยาบาลในญี่ปุ่นซึ่งมีจำนวนคนไข้รอใช้บริการมากเมื่อ เทียบกับจำนวนแพทย์และพยาบาลที่มี อีกทั้งค่ารักษาพยาบาลของไทยก็ยังต่ำกว่าญี่ปุ่นทำให้ผู้ป่วยรวมทั้งภาครัฐ ของญี่ปุ่นสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายและงบประมาณได้
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ผลจากการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระหว่างไทยกับ ญี่ปุ่น จะสนับสนุนให้จำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาครัฐรวมทั้งผู้ประกอบการโรงพยาบาลเอกชนของไทยจำเป็นต้องเตรียม ความพร้อมทางด้านต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนคนไข้ชาวญี่ปุ่นที่จะเพิ่ม ขึ้น ที่มา http://pcoc.moc.go.th/pcocsys/pcoc_menu/admin/manage/files/14%5Chospital.htm -------------------------------- เล็กน้อยจากวิกิ In the Japanese health care system, healthcare services, including free screening examinations for particular diseases, prenatal care, and infectious disease control, are provided by national and local governments. Payment for personal medical services is offered through a universal health care insurance system that provides relative equality of access, with fees set by a government committee. People without insurance through employers can participate in a national health insurance program administered by local governments. Since 1973, all elderly persons have been covered by government-sponsored insurance. Patients are free to select physicians or facilities of their choice.
จากคุณ :
Pon Pon Pata Pon!
- [
20 ม.ค. 52 21:22:07
]
|
|
|