ความคิดเห็นที่ 2

ท้องผูก(Constipation] พ.ท. สุรพล สุรางค์ศรีรัฐ
คนทั่วไปยังเชื่อว่า คนที่มีสุขภาพดี ต้องถ่ายอุจจาระวันละครั้ง ทุกวัน แต่ความเป็นจริงแล้ว คนจะถ่ายอุจจาระ ตั้งแต่สามวันละครั้ง จนถึง วันละสามครั้ง
โดยทั่วไปแล้ว ท้องผูก หมายถึง คนที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่าอาทิตย์ละสองครั้ง โรคท้องผูก แตกต่างไปตามเชื้อชาติ ความชุกของโรคท้องผูกในคนไทยไม่ทราบ แต่ในการสำรวจของคนอเมริกัน พบประมาณ 2 เปอร์เซนต์ และ จะยิ่งพบมากขึ้นตามอายุ เพศหญิง ท้องผูกมากกว่าชาย ประมาณ 3 เท่า นอกจากนี้ เศรษฐานะ และ ความเครียดทางจิตใจ ก็มีส่วนทำให้ท้องผูกได้
การขับถ่ายอุจจาระ(Defecation]
กายวิภาคของการขับถ่ายอุจจาระประกอบด้วย ช่องทวารหนัก(rectum) กล้ามเนื้อเรียบ รอบช่องทวารหนัก ซึ่งประกอบเป็นหูรูดทวารหนักด้านใน(internal anal sphincter) และ หูรูดทวารหนักด้านนอก (external anal sphincter) และ เส้นประสาทที่ควบคุม กลไกการขับถ่ายอุจจาระ เริ่มต้นจากกากอาหาร ถูกส่งลงมาพักอยู่บริเวณ rectosigmoid area แล้วเกิดความรู้สึกปวดอุจจาระ อยากถ่าย เมื่อมีความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ จะมีการคลายตัวของหูรูดทวารหนักด้านใน (internal anal sphincter) เมื่อเราพร้อมที่จะถ่าย การอัดลมลงท้อง(vulsalva maneuver) จะทำให้อุจจาระถูกดันเคลื่อนลง พร้อมๆกับ การเปิดของหูรูดทวารหนักด้านนอก
สาเหตุของท้องผูก และ การวินิจฉัยแยกโรค
1. โรคของกล้ามเนื้อน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุทางด้านเมตาบอลิสม เช่น เบาหวาน ไตวาย โปแตสเซียมต่ำ แคลเซียมสูง หรือ โรคทางต่อมไร้ท่อ เช่น hypothyroid, hypopituitarism และ โรคของกล้ามเนื้อเรียบรอบทวาร เช่น scleroderma, amyloid เป็นต้น
2. โรคของระบบประสาท เช่น autonomic neuropathy, tabes dorsalis, cerebrovascular accident, multiple sclerosis เป็นต้น
3. โรคของลำไส้และทวารหนัก เช่น ลำไส้อุดตันจากมะเร็ง, ไส้เลื่อน, volvulus, พังพืดยึดติด(adhesion)
4. ยาบางชนิดที่ทำให้ท้องผูก เช่น opiates, anticholinergics, calcium-channel blockers, aluminium and calcium containing compounds เป็นต้น สาเหตุจากยานี้ เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย และ มักต้องคิดถึงเป็นอันดับแรกเสมอ
5. สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ อุจจาระแข็งตัวเป็นก้อน(impact feces) ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยหมดสติ ผู้ป่วยมีโรคทางสมอง หรือ บางรายที่หาสาเหตุไม่ได้ (idiopathic constipation) ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการบีบตัวของไส้ตรง(rectum) น้อยกว่าปกติ หรือประสาทที่รับรู้ความรู้สึกปวดถ่ายเสื่อมไป
Evaluation of constipation
Initial: - History and physical examination - Serum potassium, calcium, glucose, creatinine, and thyrotropin levels - Flexible proctosigmoidoscopy, barium colon radiography Intermediate: - Colonic transit marker study - Anorectal manometry Investigational: - Defeography - Electromyography - Recording colonic motor activity - Scintigraphic colonic transit study
การรักษา
คำแนะนำเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยทานอาหารที่มีใยพืชมากขึ้น เพราะใยพืช จะเพิ่มกากอาหาร หรือ ปริมาณเนื้ออุจจาระ และอุ้มน้ำ ทำให้อุจจาระอ่อน ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น พยายามถ่ายหลังอาหาร เนื่องจากมี gastrocolic response เป็นตัวช่วยกระตุ้นตามธรรมชาติอยู่แล้ว เวลาเบ่ง ให้เบ่งให้ยาวขึ้นกว่าเดิม และ ให้ถ่ายทุกครั้ง ที่รู้สึกปวดถ่าย ไม่ให้อั้นไว้ อันอาจนำไปสู่ภาวะท้องผูกอีก
การใช้ยาระบาย
ยาระบายแบ่งเป็น 4 ชนิดคือ 1. Bulb agent เป็นการเพิ่มใยพืช เพื่อให้อุจจาระมากและอ่อนตัวทำให้ถูกขับถ่ายออกง่ายขึ้น 2. Irritant or stimulant laxative: - antraquinone compounds ซึ่งพบได้ในใบมะขามแขก(senna), ต้นหางจระเข้(aloe) , พืชผักบางชนิด(cascara or rhubarb) และในใบชาบางชนิด - phenolphthalein - bisacodyl แต่ต้องระวังการใช้ยากลุ่มที่สองนี้ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะอุจจาระแข็งจับเป็นก้อน (fecal impaction) 3. Osmotic agents เป็นตัวอุ่มน้ำ เพิ่มปริมาตรน้ำในอุจจาระ กลุ่มนี้ใช้กันมาตั้งแต่โบราณ และ ยังใช้ได้ดีอยู่ คือ magnesium compound (Milk of Magnesia) แต่ในผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติต้องระวัง เพราะระดับแมกนีเซียมในเลือด อาจสูงถึงขั้นอันตรายได้ ส่วนน้ำมันระหุ่ง(caster oil) ใช้น้อยลง และ ต้องระวังการใช้น้ำมันระหุ่ง ในผู้สูงอายุ หรือ ไม่ค่อยรู้สึกตัว เพราะถ้ามีการสำลัก จะทำให้เกิดปอดอักเสบ ที่เรียกว่า lipoid pneumonia ได้ ถ้าใช้เป็นระยะเวลานาน จะทำให้ขาดวิตามิน ที่ละลายในไขมัน เพระถูกดูดซึมน้อยลง 4. Neuromuscular transmitter ยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ของลำไส้ มักไม่ค่อยได้ผลดี เช่น bethanechol chloride เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณ receptors ในกล้ามเนื้อเรียบ หรือ neostigmine bromide ไปกดการทำลาย endogenous acetylcholine esterase เพื่อเพิ่มการบีบตัว แต่ยังมีผลข้างเคียงมาก การใช้ยาเหน็บ(suppository) อาจได้ผลดีในผู้ป่วยบางราย ที่ท้องผูกเกิดจากอุจจาระอุดส่วนปลาย (rectal outlet obstruction) คือ มีอุจจาระแข็งเป็นก้อน อุดกั้นทางออก (impact feces) บริเวณ rectosigmoid colon เนื่องจากการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช้ากว่าปกติ
โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากท้องผูก - อุจจาระแข็งตัวเป็นก้อน - อุจจาระเล็ดลอด - ปวดท้องเรื้อรัง - ลำไส้บวมและโป่งพอง (acquired megacolon or megarectum) - sigmoid volvulus - stercoral ulceration
โรคแทรกซ้อนที่ยังไม่ได้พิสูจน์แน่ชัดว่าเกิดจากท้องผูกหรือไม่ได้แก่
- hemorrhoid - CA colon - melanosis coli
Reference:
Haubrich WS, Schaffner F, Berk JE. 1995 Bockus Gastroenterology fifth edition, W.B. Saunders company. pp.102-112.
http://nonthaburi.moph.go.th/cyber/journal/tomj/v22/d1.htm
จากคุณ :
ko kai kuk kuk
- [
7 มี.ค. 52 18:07:20
]
|
|
|