Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com


    จริงหรือ ? อาชีพในฝันปัจจุบันไม่ใช่ยุคของ"แพทย์" !

    ตั้งกระทู้นี้ไว้ใน สวนลุม ... ได้รับความสนใจอย่างล้นหลาม ...

    <b>หมอไทยวิกฤติแล้ว คนเก่งยี้เรียนแพทย์</b>

    http://www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L7583467/L7583467.html#40

    เลยนำข่าวนี้ เอามาให้อ่านกันต่อ ...

    <font color='#FF0000'>
    <b>จริงหรือ ? อาชีพในฝันปัจจุบันไม่ใช่ยุคของ"แพทย์" !</b>
    </font>

    คอลัมน์ STORY  โดย ทีมงาน DLife

    จากที่นี่ <a href ='http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02dlf03 090352&day=2009-03-09&#167;ionid=0225' target='_blank'>http://www.matichon.co.th/prachachat/prachachat_detail.php?s_tag=02dlf03 090352&day=2009-03-09&#167;ionid=0225</a>

    <font color='#0000FF'>อาชีพในฝันของเยาวชนในปัจจุบันคืออะไร ? ยังเป็น "แพทย์" อยู่อีกหรือเปล่า...?</font>

    ต้องยอมรับว่าอาชีพแพทย์ในทุกวันนี้ต้องระมัดระวังการรักษาเป็นอย่างมาก เพราะหากเกิดรักษาผิดพลาดขึ้นมาอาจถูกคนไข้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน มากมาย

    สมมติฐานนี้เกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการได้พบปะพูดคุยกับแพทย์หลายต่อหลายคน ประกอบกับช่วงที่ผ่านมามีสถิติการฟ้องร้องแพทย์ต่อแพทยสภาและศาลไม่น้อยเลย

    DLife จึงขอสะกดรอยตามไปดูว่า ทุกวันนี้เยาวชนยังมอง "แพทย์" เป็นอาชีพในฝันอยู่หรือไม่ ?



    <i><b>
    อาชีพความหวังสูง</b></i>

    อาจเพราะแพทย์เป็นอาชีพที่ผู้คนคาดหวังสูง ทำงานอยู่กับชีวิตและลมหายใจของผู้คน นั่นจึงทำให้ถูกจับตามองมากเป็นพิเศษ  

    ไม่แปลกหากที่ผ่านมาเมื่อมีการตรากฎหมายใหม่ๆ ขึ้นมา จำนวนคดีความเกี่ยวกับแพทย์จึงมีมากขึ้น  

    <b>นายแพทย์อิทธร คณะเจริญ</b> ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา ได้เปิดเผยว่า สถิติการฟ้องร้องแพทย์ต่อแพทยสภาและศาลในช่วงปี <i>2539-พ.ค.2551  </i>
    เฉพาะโจทก์ที่ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุข <font color='#FF0000'>คดีแพ่งมีจำนวน 76 คดี ทุนทรัพย์ที่ฟ้องประมาณ 426 ล้านบาท  </font>

    กระทรวงสาธารณสุขชำระตามคำพิพากษาไปแล้วประมาณ 7.4 ล้านบาท

    <font color='#FF0000'> ส่วนคดีอาญามีประมาณ 12 คดี  </font>


    สาเหตุหลักในการฟ้องร้องแพทย์ คือการรักษาผิดพลาด รองลงมาทำคลอด วินิจฉัยผิดพลาด  

    ซึ่งมี<font color='#FF0000'>

    แพทย์ที่ถูกฟ้องร้องในคดีแพ่ง 55 ราย พยาบาล 11 ราย </font>

    <font color='#0000FF'>ส่วนคดีอาญามีแพทย์ที่ถูกฟ้องร้อง 5 ราย และพยาบาล 2 ราย  </font>

    ...การฟ้องร้องแพทย์เกิดจากกฎหมายใหม่ๆ ที่ให้สิทธิกับผู้รับบริการ ทำให้เกิดผลกระทบที่ตามมา คือการรั่วไหลของแพทย์ภาครัฐ ภาระงานที่สูงขึ้น และแพทย์เลี่ยงรักษากรณีที่รักษายาก !!!

    ไม่เพียงแพทยสภาที่มองเห็น แต่แพทย์อาชีพอย่าง

    <b>นายแพทย์นิเวศ เสริมศีลธรรม</b> แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ตกแต่ง เจ้าของคลินิกความงามย่านสยามสแควร์ เป็นอีกคนที่มองเห็นความเปลี่ยนแปลง

    "บางอย่างเป็นเรื่องสุดวิสัยต้องยอมรับ เรื่องแบบนี้เป็นการแพทย์ เหมือนคลอดลูกไม่มีหมอคนไหนอยากทำให้ลูกคนอื่นพิการหรอก  

    คนตั้งความหวังไว้กับหมอสูงมาก แต่คุณเคยไปตั้งความหวังกับระบบยุติธรรมบ้างไหม ? ผู้พิพากษาตัดสินใจผิด ไม่เคยโดนเลย ไม่เคยมีใครพูดถึงเรื่องนี้  

    ถ้าทำอย่างนี้ ต่อไปเมืองไทยจะไม่มีใครกล้าเป็นหมอ  

    ปัจจุบันผมไปถามครูผมที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ ครูผมบอกว่าทุกวันนี้คนเรียนเก่งที่สุดจะไปเรียนนิติศาสตร์  

    ต่อไปคนที่เรียนกลางๆ กับน้อยสุดจะไปเรียนหมอ แล้วอะไรจะเกิดขึ้น สังคมจะเปลี่ยนไปในอีก 10 ปีข้างหน้าโดยที่คนไม่ไหวตัว"

    ...เมื่อก่อนคนที่ฉลาดที่สุดจะเรียนหมอกับวิศวะ ปัจจุบันคนที่ฉลาดที่สุดไปเรียนนิติศาสตร์ เป็นนักการเมือง แล้วต่อไปอะไรจะเกิดขึ้น  

    ก็เหมือนกับครูที่ปัจจุบันคนที่จะเรียนครูก็เพื่อจบไปแล้วไปสอนพิเศษ มีเพื่อนผมตั้งใจให้ลูกเป็นครูสอนพิเศษ อัดความรู้ทุกอย่าง แม่เขาดูแล้วธุรกิจนี้ไปได้ดี  

    "ผมว่าบางทีสังคมก็ทำให้มันเป็นไปอย่างนั้นโดยที่ตัวเองไม่ได้คิด อย่างในอเมริกาบางรัฐไม่มีหมอทำคลอดเลย ต้องไปคลอดอีกรัฐหนึ่ง เพราะคนชอบฟ้องร้อง  

    หมอสูติฯในอเมริกาจึงถูกฟ้องมากอันดับหนึ่ง คิดดูสิ แล้วต่อไปจะคลอดลูกกันได้อย่างไร ผมไม่อยากให้เมืองไทยไปถึงจุดนั้น ให้มันพอสมควร

    ดีกว่า บางคดีที่หมอติดคุกเพราะสุดวิสัยจริงๆ คนไม่ไปอยู่

    บ้านนอกมาไม่รู้หรอก อัตราการแทงหลังเข้าไปแล้วตาย หมอดมยาแทงก็ตายเหมือนกัน แล้วเอาเขาติดคุก คดีนั้นทำให้หมอลาออกเยอะมาก รุ่นหลังๆ ไม่เรียนหมอก็มี"

    นายแพทย์นิเวศบอกด้วยว่า เท่าที่มีการพูดคุยกับเพื่อนๆ ที่เป็นแพทย์ ลูกๆ เพื่อนที่สอบติดแพทย์แล้วไม่เอาแพทย์ก็มี  

    ปัจจุบันไม่มีใครอยากเรียนหมอ ในอนาคตผมว่าจะได้เห็นหมอจากอินเดีย เนปาล ปากีสถาน เข้ามารักษาคนไทย ถามว่า โอเคไหม...นี่คือข้อเท็จจริง ผมว่าน่ากลัวมาก ในสังคมไม่มีนักกฎหมายอาจจะได้ แต่ไม่มีหมอไม่ได้ !!!





    <i>
    <b>หมอ : อาชีพในฝัน ?</b></i>

    ในสมรภูมิสอบเข้ามหาวิทยาลัย "คณะแพทยศาสตร์" เป็นหนึ่งในคณะสุดยอดของเด็กเรียนดี...แน่ละ ใครใคร่เลือก

    คณะนี้ นอกจากจะ "มั่นใจ" และ "กล้า" แบบสุดยอดแล้ว คะแนนในหมวดวิชาคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์จะต้องสุดยอดด้วย  

    ที่ผ่านมาภาพของ "หมอ" กับภาพของ "เด็กเรียนเก่ง" จึงกลายเป็นของคู่กันอย่างแยกกันไม่ออก...

    "ไม่ต่ำกว่า 5 ปีที่เทรนด์ของเด็กเก่งเริ่มเปลี่ยนไปไม่เลือกแค่หมอ ถ้าเด็กชอบชีวะก็เป็นธรรมดาที่จะเลือกคณะแพทย์  

    แต่ระยะหลังเริ่มเปลี่ยนแนว คือเด็กสายวิทย์มีแนวโน้มเลือกคณะวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะเด็กเก่งบางคนมีข้อจำกัด แค่เห็นเลือดก็เป็นลมแล้ว  

    ไม่ใช่ว่าเด็กเรียนสายวิทย์ทุกคนแล้วจะอยากเป็นหมอ เพราะวิทยาศาสตร์สอนให้เด็กคิดเป็นกระบวนการแบบวิทยาศาสตร์  

    บางคนได้คะแนนพอที่จะเลือกหมอแต่เขาชอบงานวิจัยมากกว่า เขาเลยเลือกไปรับทุน พสวท. แบบนี้ก็มี"  

    <b>อาจารย์นิพนธ์ ศรีนฤมล</b> อาจารย์ประจำโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้คลุกคลีกับเด็กเก่งในกลุ่มโอลิมปิกวิชาการกว่า 20 ปี เล่าให้ฟัง

    "ผมเคยเจอเด็กฟิสิกส์โอลิมปิกแต่เอนทรานซ์เข้าคณะบัญชี ถามว่าแล้วมาเข้าโครงการโอลิมปิกทำไม  

    เขาบอกเลยว่าอยากพิสูจน์ว่าตัวเองก็เรียนได้ แต่เขาเลือกที่จะไม่เรียนเอง หรืออย่างบางคนเอนฯเข้าเศรษฐศาสตร์ เขาก็แฮปปี้ดี"

    อาจารย์นิพนธ์บอกว่า ความนิยมในการเลือกคณะแพทย์ในอดีต ส่วนหนึ่งยอมรับว่าเป็นเรื่องของทัศนคติ  

    แต่ปัจจุบันไม่จำเป็นที่คนเก่งจะต้องเลือกเติบโตในสายอาชีพหมอเสมอไป เพราะทุกอาชีพก็มีเกียรติ มีโอกาส ถือว่าเป็นการกระจายอัจฉริยะให้ครอบคลุมทุกๆ  

    อาชีพ หมอไม่เกี่ยวกับการเรียนเก่งหรือไม่เก่ง เพราะความเป็นหมอไม่ได้แขวนอยู่แค่คะแนน  

    อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่านักเรียนแพทย์ส่วนมากก็ยังเป็นเด็กเก่งอยู่ดี...



    <b>ณฐพล สุโภไควณิช </b>นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังว่า ความฝันของผมคือโตขึ้นอยากเป็นหมอตั้งแต่เด็ก เพราะคุณพ่อเปิดร้านขายยา เขารู้สึกประทับใจคำขอบคุณของคนไข้เมื่อกินยาแล้วหายป่วย  

    "รู้สึกตั้งแต่เด็กแล้วว่า การได้ช่วยเหลือให้คนหายป่วยมัน

    รู้สึกดีมาก ก่อนหน้านี้ 5-6 ปีเรื่องเรียนหมอเป็นอะไรที่บูมมาก สังคมมองว่าหมอเป็นอาชีพที่มั่นคง มีงานทำแน่นอน มีรายได้สูง ส่วนหนึ่งที่คนเรียนแพทย์เยอะอาจเพราะพ่อแม่อยากให้เรียน ของผมที่บ้านก็สนับสนุน คุณแม่หาซื้อแบบฝึกหัดมาให้ทำตั้งแต่เด็ก แต่ก็ไม่เคยบังคับนะ พอช่วงหลังแพทย์มีข่าวโดนฟ้องเยอะ คนที่สนใจอยากให้ลูกหลานเป็นอาชีพนี้ก็อาจมีทัศนคติเปลี่ยนไป"

    ก่อนที่จะมีข่าวเรื่องฟ้องร้อง คนอาจมองว่า ไม่ว่าเรื่องอะไรแพทย์ก็ถูกเสมอ แพทย์มีเกียรติ สังคมมีทัศนคติต่อแพทย์ค่อนข้างสูง แต่พอมีข่าวฆ่าหั่นศพ ผ่าตัดผิดพลาด ไม่ดูแลคนไข้ เรื่องเหล่านี้ก็กลายเป็นประเด็นทางสังคม

    "ผมว่าเรื่องหมอทำผิดพลาดนี่มีมาแต่ไหนแต่ไร แต่ไม่มีคนเอามาพูด เพราะในอดีตมองว่าหมอทำดีที่สุดแล้ว แต่ตอนนี้พอพลาดขึ้นมา กลายเป็นว่าหมอทำไม่เต็มที่ หมอประมาท เวลาเป็นข่าวขึ้นมา อาจารย์เอามาคุยในชั้นให้ฟังเหมือนกัน ที่ลืมผ้าก๊อซไว้ในท้องคนไข้ ผ่าแล้วเอาออกมาไม่หมด ข่าวที่ออกมา บอกว่าหมอทำผิด ทั้งๆ ที่นอกจากหมอก็คือทีมผ่าตัดทั้งทีม"

    และในความเป็นจริงแล้ว หลังเรียนจบเส้นทางสู่การเป็นหมอนั้นไม่ได้ราบรื่น เพราะไม่ใช่รักษาแค่เคสตัวอย่าง แต่เป็นชีวิตคนจริงๆ


    <b>แพทย์หญิงจันทรา ทิพชัย</b> แพทย์ประจำโรงพยาบาลปากน้ำชุมพร วัย 25 ปี เล่าให้ฟังว่า ตัวเธอเองก่อนเรียนแพทย์ก็เหมือนคนอื่นทั่วไป ทัศนคติต่ออาชีพนี้ดีตรงที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น ทำประโยชน์ได้ ได้ผลตอบแทนที่ดีด้วย ตอนเด็กพ่อแม่มีส่วน

    ผลักดันมาก แต่ที่โรงเรียนมีส่วนมากกว่า พอไปอยู่โรงเรียนเตรียมอุดมฯ เพื่อนๆ อยากเรียนหมอกันเยอะ ทำให้ในหัวถูกเปลี่ยนไปอย่างนั้น พอเธอสอบโควตาผ่านแพทย์ศิริราชจึงไม่ลังเลที่จะเลือกเรียนสาขานี้

    "ตอนที่เรียน เราขึ้นวอร์ดไปเจอคุณป้าคนหนึ่งไม่สบาย ไปช่วยป้อนข้าวเช็ดตัว ก็ยังรู้สึกดี คือ เราไม่ได้กดดันว่าต้องทำให้หาย พอทำงานจริง ความรู้สึกดีที่ได้ช่วยเหลือคนอื่นก็ยังดีเหมือนเดิม แต่เรื่องที่เราไม่เคยรู้ตอนเป็นนักศึกษาแพทย์ก็มารู้หลังเรียนจบ เช่น ระบบ 30 บาท รักษาทุกโรค เดี๋ยวนี้ไม่ต้องเสียสักบาท ทำให้คนมาที่โรงพยาบาลเยอะมากๆ"

    เธอเล่าให้ฟังว่า ปัญหาคนไข้ล้นมือหมอพบมากในต่างจังหวัด คนไข้มักจะมาโรงพยาบาลในเวลาหลังราชการ ซึ่งไม่ต้องเข้าคิวรอ บางรายขอเข้าแผนกฉุกเฉินทั้งที่ไม่ได้เป็นอะไรมากก็เยอะ  

    "คนไข้จำนวนมากรู้แต่สิทธิ แต่ไม่รู้หน้าที่ ทำให้ทัศนคติเราที่มีต่อคนไข้เป็นศูนย์ ซึ่งคนไข้คนไหนที่พูดจาดีก็จะเป็นรางวัลของวันนี้ ส่วนมากเจอคนไข้พูดไม่ดีสัก 10% รู้สึกที่มีปัญหาน่าจะเป็นเรื่องการมาโรงพยาบาลของคนไข้ เช่น เป็นแผลที่ปาก 4-5 วัน แล้วเพิ่งมาหาหมอ แถมมาตอน 4-5 ทุ่ม เคส อย่างนี้ จริงๆไม่ควรต้องรอขนาดนั้น บางคนบอกมานอกเวลาไม่ต้องรอ ถ้ามาในเวลาก็ต้องเข้าคิวแบบนี้เป็นต้น"  

    "ระหว่างเรียนกับทำงานมันต่างกันมาก แต่ทุกคนก็มีเวลาได้ปรับตัว เคยพูดเล่นๆ กับเพื่อน โดยเรียกนักเรียนแพทย์ว่า...พวกหลงผิด...พอเห็นเด็กสมัยนี้เลือกเรียนกฎหมาย  บัญชี ได้ทำงานสบายๆ ได้ผลตอบแทนสูงๆ ก็กลับมาคิดเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนหรอกที่จะเติบโตได้เร็ว ลู่ทางเยอะ ไม่ตกงาน

    สำหรับอาชีพแพทย์มันก็มีบ้างที่เหนื่อยทั้งใจ เหนื่อยทั้งกาย ก็แล้วแต่คนด้วยมากกว่า บางคนที่บ้านร่ำรวยอยู่แล้ว ก็อาจจะลาออกไปทำอย่างอื่นได้ แต่สำหรับตัวเองที่ต้องเลี้ยงพ่อแม่ด้วยก็ยังรู้สึกโอเค รู้สึกว่ายังมีจุดที่จะพัฒนาด้านอาชีพได้มากกว่า"  

    เธอบอกว่า <font color='#0000FF'>ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ เธอก็ยังขอเรียนหมอเหมือนเดิม !!</font>!

    จากคุณ : หมอหมู - [ 13 มี.ค. 52 18:46:49 ]

 
 


ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป


Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com