สิ่งที่จะเล่าต่อไปนี้ ไม่ใช่เรื่องราวทางวิชาการ แต่เป็นการปะติดปะต่อเรียบเรียงจากความคิดจากประสบการณ์ ที่อาจจะไม่ครบตกหล่นไปบ้าง ไม่สามารถอ้างอิงทางวิชาการได้นะครับ
สมัยตะก่อนนะครับ มีหลายกรณี
แต่โดยส่วนใหญ่จะยึดแนวคิดว่า จะใช้สิทธิ ต้องแสดงบัตร ไม่แสดงบัตร เก็บตังค์...ประมาณนั้น
-สิทธิโดยธรรมชาติ เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี เด็กนักเรียนที่อายุไม่เกิน 15 ปี ผู้สูงอายุ....ประเภทนี้ ฟรีครับ แต่ด้วยความที่ไม่มีฐานข้อมูล บุคคลเหล่านี้จึงต้องมาแจ้งทำบัตร หากมาโรงพยาบาลแล้วไม่มีบัตรแสดง บางครั้งทางโรงบาลก็เก็บเงิน บางครั้งก็ไม่ แล้วแต่ความคุ้นเคย
-สิทธิที่ได้รับภายหลัง เช่น อสม. สามีหรือภรรยาของ อสม. ลูกของอสม.ที่อายุไม่เกิน 20 ปีและกำลังศึกษา ผู้นำชุมชน ลูกของผู้นำชุมชนที่อายุไม่เกิน 20 ปีและกำลังศึกา แบบนี้ก็ต้องมีบัตรครับ แต่คนกลุ่มนี้มักรู้จักหน้าค่าตากันแล้วสำหรับ รพช. ดังนั้นถึงไม่แสดงบัตร ก็ฟรีครับ
-สิทธิสังคมสงเคราะห์ ผู้มีรายได้น้อย ผู้พิการ จะต้องให้ผู้ใหญ่บ้านทำเรื่องเสนอและรับรอง เพื่อให้ทาง รพ.ออกบัตรสิทธิเหล่านี้ให้ แต่บางคนที่มีรายได้น้อยและไม่ได้แจ้ง ผญบ. เมื่อมาโรงพยาบาล แล้วไม่มีเงินจ่าย แพทย์ สามารถเซ็นต์อนุเคราะห์ (อน.) ลงบนใบสั่งยาได้เลยครับ ก็แล้วแต่ดุลยพินิจเป็นรายๆไปครับ และมักจบลงที่แนะนำให้ไปหา ผญบ.เพื่อแจ้งทำบัตรผู้มีรายได้น้อย
-คราวนี้คนที่ไม่เข้าเกณฑ์เหล่านี้ (ไม่ขอพูดถึงสิทธิเบิกได้) ก็คือคนวัยทำงานทั้งหลายมีทางออก 2 ทาง
1.ประกันสังคม ตอนที่เริ่มมีใหม่ๆ ไม่เป็นที่นิยม เพราะคนรู้สึกว่าต้องถูกหักเงินเดือนทุกเดือนโดยไม่ได้ป่วย
2.บัตรประกันสุขภาพครอบครัว โดยทำการซื้อประกันสุขภาพจาก รพ.ของรัฐ บัตร 1ใบ ราคา 500 บาท/1 ปี (ขอเรียกบัตร 500)
มีสมาชิกได้ไม่เกิน 5 คน/บัตร และต้องอาศัยอยู่บ้านเลขที่เดียวกัน มีไม่ถึง 5 คนก็ 500 เกิน 5 คนก็ต้องทำมากกว่า 1 ใบ ประมาณนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม บัตร 500 เป็นสิทธิแบบสมัครใจ
ดังนั้นจะเห็นว่า กลุ่มคนที่ไม่มี ปกส.หรือไม่ทำบัตร 500 และไม่มีสิทธิตามข้างบน เป็นกลุ่มคนที่ไม่มี"หลักประกันสุขภาพ"
ซึ่งมีจำนวนมากเชียวครับ เมื่อมา รพ. ก็จะโดนจ่ายเต็มๆ
แต่ก็ใช่ว่าถ้าไม่มีจ่ายจะไม่ได้รักษาหรือไม่ได้ยา
บางครั้ง มีเท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น บางครั้งหมอก็เซ้นต์ อน. บางครั้งจ่ายมัดจำไว้ก่อน ที่เหลือค่อยมาจ่ายภายหลัง ฯลฯ มันเป็นแบบนั้นจริงๆครับ สำหรับสถานีอนามัยหรือ รพช.
ในแต่ละปีก็จะมีบิลค้างแบบนี้ไม่น้อย และแน่นอนด้วยความเป็นหน่วยงานของรัฐ เราไม่มีแผนกเร่งรัดหนี้สินหรอกครับ สุดท้ายก็ NPL
จะเห็นว่า กลุ่มที่มีบัตรโดยธรรมชาติ กลุ่มอสม. กลุ่มสังคมสงเคราะห์ กลุ่มนี้ถึงมีบัตร แต่ก็ไม่ใช่เป็นกลุ่มที่จะต้องมา รพ.บ่อยๆ และการจะมามักจะต้องพึ่งพิงให้คนอื่นพามา
คนไข้กลุ่มนี้ใน รพ.จึงมีไม่มาก ยกเว้นวันที่เป็นคลีนิคเฉพาะกลุ่ม
และกลุ่มที่ไม่มีหลักประกันฯ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่มา รพ. เพราะนั่นหมายถึงต้องจ่ายเงินหลายร้อย
ส่วนกลุ่มที่มีบัตร เมื่อมา รพ. โดยสิทธิคือฟรีค่ารักษา แต่ทาง รพ.มักจะขอเก็บ ค่าบำรุง ประมาณรายละ 20 บาท แต่บางคนเค้าก็จ่ายเป็นเงินบริจาค 50 100 200 แล้วแต่จะให้ก็มี
พอจะมองภาพออกหรือยังครับ เมื่อกฎหมายบังคับว่า ทุกคนต้องมีสิทธิหลักประกันสุขภาพ โดยไม่ต้องสมัคร กลุ่มคนที่เคยทำบัตร 500 และกลุ่มที่ไม่เคยทำ ก็เข้าเกณฑ์บัตร 30 บาทกันหมด และนี่คือกลุ่มใหญ่มากครับ
หลังจากนั้น รพช.และ สอ. มักจะมีคนไข้ล้นในวันที่มีตลาดนัด เพราะอะไรหรือครับ?
"ไหนๆก็มาตลาดแล้ว แวะโรงพยาบาลหายากินซะหน่อย"....นี่คือความจริง ที่คนไม่เคยอยู่ รพช. หรือ สอ. จะไม่รู้
นี่คือเรื่องราวในอดีตครับ
ที่เล่ามา ไม่ได้บอกว่า โครงการ 30 บาทไม่ดี ไม่ได้บอกว่าแบบเดิมดีกว่า แค่จะบอกว่า มีบางปัจจัย ที่ทำให้คนไข้ถึงมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด
ผมเห็นด้วย ที่ทุกคนจะต้องมีหลักประกันฯ โดยไม่ต้องไปยื่นขอ ควรเป็นสิทธิและเป็นรัฐสวัสดิการ เพียงแต่วิธีการดำเนินการมันรีบเร่ง ยังไม่ตกผลึก แต่ถูกเร่งให้โตและยังพยายามปั้นให้มันมีสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ มียี่ห้อ มีผู้ผลิตอยู่บนฉลาก
ความคิดเห็นส่วนตัวผม คิดว่าที่เหมาะสมคือ ทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ ใช้สิทธิประกันสังคม สิทธิเดียว เพราะเป็นสิทธิที่มีความเสมอภาคเท่ากันทั้งหมด น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
จึงนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
จากคุณ :
Fly boy
- [
28 พ.ค. 52 11:33:24
A:117.47.81.220 X: TicketID:149505
]