จิตวิทยาความรัก (Psychology of love) "Love" โดยทั่วไปหมายถึงความสัมพันธ์ในสังคม (social relationship) มากกว่าขบวนการหรือสภาวะทางอารมณ์ (Emotional process or state)
คนเราเริ่มรักกันได้ยังไง ? มีการศึกษาพบว่า ความรักเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
1. ความใกล้ชิด เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเราเกิดความรักขึ้นได้ ดังที่จะพบได้บ่อย ๆ ว่าคนที่ทำงานใกล้ชิดกัน เป็นเพื่อนสนิทกัน ไป ๆ มา ๆ จะกลายเป็นคนรักและแต่งงานกัน เพราะความใกล้ชิดนั้นทำให้คนเรามีโอกาสพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน หรือแม้แต่ช่วยเหลือกันในยามลำบาก
2. ความดึงดูดทางกาย แน่นอนว่าคนที่มีรูปร่างหน้าตาดี นั้นมีโอกาสที่คนจะมาตกหลุมรักได้ง่ายกว่า เพราะคนส่วนใหญ่เองก็คงชอบในความหล่อ สวยงาม รวมถึงเป็นแรงดึงดูดและประทับใจได้ง่ายเวลาที่เจอกันครั้งแรก ๆ ยิ่งในบัจจุบันนี้ที่สังคมมักเน้นไปแต่ความสวยงามทางกาย
3. ความเหมือนกัน แรก ๆ นั้นความเหมือนกันจะดึงดูดให้เราเข้ากันได้ง่าย คนเรามักชอบคนที่มีอะไรเหมือน ๆ กัน เช่น นิสัยคล้าย ๆ กัน รสนิยมเหมือน ๆ กัน ดูหนังแนวเดียวกัน อ่านหนังสือคล้าย ๆ กัน ชอบทำบุญเหมือนกัน เป็นต้น อาจจะมีอยู่บ้างที่แตกต่างหรือตรงข้ามกับตัวเอง
คนเราเลือกคนรักอย่างไร ?
จริง ๆ มีหลายทฤษฏี แต่ในที่นี้ขอยกแนวความคิดของฟรอยด์ (Freud) ซึ่งฟรอยด์คิดว่าประสบการณ์และความรู้สึกจากวัยเด็ก จะมีผลต่อความสัมพันธ์ และความเข้าใจในความสัมพันธ์อื่น ๆ ในชีวิต นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อการเลือกบุคคลที่ตนจะมีความสัมพันธ์ด้วย (object choice) โดยฟรอยด์กล่าวว่าคนเราเลือกคนรักเพราะ
1. เหมือนพ่อหรือแม่(เพศตรงข้ามกับเรา) เรียกว่า anaclitic love ถ้าเหมือนพ่อหรือแม่เรียกว่าเป็นแบบpositive way มักเป็นในคนที่พ่อหรือแม่ดีเป็นที่ประทับใจ เช่นถ้าเป็นลูกสาว ที่มีพ่อนิสัยดี สุภาพ เอาใจ ก็ย่อมเลือกคนรักที่เหมือนกับพ่อ นอกจากนั้นการเลือกแบบนี้ยังกระตุ้น และระลึกถึงบุคคลสำคัญในอดีตอีกด้วยอีกแนวหนึ่งคือ negative way คือชอบคนที่ไม่เหมือนพ่อหรือแม่ มักเป็นในคนที่พ่อหรือแม่ไม่ได้ดีหรือเป็นที่ประทับใจเท่าไหร่ เช่นลูกชายที่มีแม่จุกจิกขี้บ่น ระเบียบจัด ก็ย่อมอยากได้แฟนที่ตรงกันข้าม (เพราะคงไม่อยากได้แม่คนที่สอง) เป็นต้น
2. เหมือนตัวเราเอง เรียกว่า narcissistic love ถ้า เป็น positive way ก็คือชอบคนที่เหมือน ๆ กับเรา นอกจากการที่เหมือนกันทำให้เข้ากันได้ง่ายแล้ว การรักคนที่เหมือนตัวเองนั้น ยังเป็นการเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองไปด้วย ถ้าเป็น negative way คือการชอบคนที่ตรงข้ามกับตัวเอง เช่น คนที่เงียบ ๆ ไม่ค่อยพูด อาจจะชอบคนที่ร่าเริง คุยเก่ง สนุกสนาน (เพราะถ้าเงียบเจอเงียบก็คงไม่ต้องพูดกัน ถ้าพูดเก่งเจอพูดเก่งก็ไม่มีใครฟัง)
3. เหมือนคนในอุดมคติ เรียกว่า ideal love คือชอบคนที่เหมือนที่เราวาดหวังไว้ เช่น ต้องหล่อ รวย หน้าตาดี นิสัยดี ตามใจ สุภาพ ฯลฯ
จากข้อมูลข้างต้น ดิฉันคิดว่าความผิดปกติดังกล่าวของ จขกท ไม่มีน่าส่วนเกี่ยวข้องกับกฎธรรมชาติ หรือถ่ายทอดมาทาง DNA นะคะ น่าจะเป็นความผิดปกติเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจเกิดมาจากการเลี้ยงดู หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็กมากกว่า
จะเห็นได้จาก "พ่อไปมีผู้หญิงใหม่เหรอ ไม่แคร์หรอก ไม่ได้ชอบพ่อขนาดนั้น ยังไงแม่คนเดียวเราดูแลเองได้ ไม่ต้องให้พ่อช่วย" ซึ่งความรู้สึกต่อต้านการกระทำของคุณพ่อลึกๆดังกล่าว ก็อาจส่งผลให้ จขกท มีแนวโน้มที่จะชอบผู้ชายที่กำลังดูแลแฟนหรือลูกของตัวเอง หรือผู้ชายประเภทดูเป็น family man (anaclitic love แบบ negative way ตามแนวความคิดของฟรอยด์)
และเมื่อรวมกับความคิดของ จขกท ที่ว่า "สรุปก็คือผู้ชายเขาไม่หอบข้าว ของมาอยู่กับดิฉันหรอกค่ะ เพราะเขาทำไม่ได้ ดิฉันไม่ชอบมีเจ้าของเหมือนกัน" ทำให้สรุปได้ว่า จขกท ไม่ชอบการมีเจ้าของ (ผัวเดียวเมียเดียว) จึงเป็นไปได้ที่จะชอบคนแบบเดียวกับตน นั่นคือผู้ชายที่ไม่คิดจะผูกมัดกับ จขกท (เพราะต้องดูแลแฟนหรือลูกนั่นเอง) ซึ่งก็ตรงกับ narcissistic love แบบ positive way ตามแนวความคิดของฟรอยด์ เพราะสังเกตจาก โดยส่วนลึก จขกท ก็ทราบว่าการกระทำดังกล่าวผิดศีลธรรม แต่ก็พยามโน้มน้าวให้คนเห็นด้วยกับตนเอง ซึ่งหาก จขกท มีแฟนที่คิดแบบเดียวกับตนเอง ก็จะช่วยส่งเสริมว่าตนเองคิดถูก เป็นการเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองไปด้วยอีกทางนึง
อย่างไรก็ตาม หาก จขกท ยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่า การกระทำของตนเป็นเรื่องผิดศีลธรรมจรรยา หรือมีปัญหาเกี่ยวกับ การควบคุมพฤติกรรมที่ผิดศีลธรรมหรือจริยธรรม ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการต่อต้านสังคม ทำให้เกิดความเสียหายในทาง สำนึกต่อศีลธรรม หรือ ไร้จริยธรรม พอจะเรียกได้ว่าเป็นการกระทำที่ผิดธรรมชาติ เช่นการสมสู่โดยไม่เลือก หรือไม่สามารถควบคุมความต้องการทางเพศของตนไว้ได้ ก็อาจเป็นไปได้ว่ามีความผิดปกติของระบบประสาท และสมองร่วมด้วยค่ะ (อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์และสรุปความผิดปกติในส่วนดังกล่าว ควรทำโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือแพทย์นะคะ)
http://sfida.มัลติพลาย/journal/item/45
http://www.thaiclinic.com/medbible/love.html
http://planet.kapook.com/nicfd49/blog/viewnew/34809
แก้ไขเมื่อ 12 มิ.ย. 52 02:16:41
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 23:41:06
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 23:11:11
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 23:07:48
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 23:04:05
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 22:13:28
แก้ไขเมื่อ 11 มิ.ย. 52 21:52:13