ข้อมูลด้านล่างเป็นของกระทรวง และ ศูนย์บัลวีเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่ ทั้งทั่วไป และ 2009 ตอนนี้ต้องช่วยตัวเองมาก ๆ แต่ก็อย่าลืมไปพบแพทย์นะครับ งานหมอหนักอยู่แล้ว ช่วย ๆ กันนะครับ คำแนะนำทั่วไป ประชาชนทุกคนควรมีความรู้ความเข้าใจโรคที่ถูกต้อง ไม่ตื่นตระหนก รู้วิธีการป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ โดยการติดตามข้อมูลคำแนะนำต่างๆ จากกระทรวงสาธารณสุข รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ ผัก ผลไม้ ไข่ นม นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง หมั่นล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และฝึกนิสัยไม่ใช้มือแคะจมูก ขยี้ตา หรือจับต้องใบหน้า ถ้าจำเป็นควรใช้กระดาทิชชูจะปลอดภัยกว่า ดูแลตนเองหรือคนในครอบครัวที่ป่วยได้ และป้องกันไม่แพร่เชื้อให้คนรอบข้าง โดยการหยุดเรียน หยุดงาน ปิดปากจูกเวลาไอจามด้วยกระดาษทิชชู สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่น และหมั่นล้างมือบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยควบคุมไม่ให้เกิดการระบาด และลดผลกระทบด้านต่างๆ ได้มากที่สุด ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จะมีอาการป่วยใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่เกิดขึ้นทุกปี คือมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เบื่ออาหาร บางรายอาจมีอาเจียน ท้องเสียร่วมด้วย มีรายงานอาการสมองอักเสบ 4-5 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (95%) จะมีอาการทุเลาขึ้นตามลำดับ คือ ไข้ลดลง ไอน้อยลง รับประทานอาหารได้มากขึ้น และหายป่วยภายใน 5-7 วัน จึงไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยน้อยราย (5%) ที่มีอาการป่วยรุนแรงซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิต คือ ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ (70%) เป็นกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (โรคปอด หอบหืด โรคหัวใจ โรคเลือด ไต เบาหวาน ฯลฯ) ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ (โรคมะเร็ง ฯลฯ) โรคอ้วน ผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี หญิงมีครรภ์ อย่างไรก็ตาม มีส่วนหนึ่ง (30%) ที่มีอาการรุนแรงแต่ไม่สามารถสอบสวนหาภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง จึงต้องรีบไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ทันที
การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงที่บ้าน หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้ไม่สูงมาก ตัวไม่ร้อนจัด ไม่ซึมหรืออ่อนเพลียมาก และพอรับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวที่บ้านได้ โดยปฏิบัติดังนี้ ผู้ป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน และพักอยู่กับบ้านหรือหอพัก ไม่ออกไปนอกบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วันหลังวันเริ่มป่วย หรือหลังจากหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ แจ้งสถานศึกษาหรือที่ทำงานทราบ เพื่อจะได้เฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ และป้องกันควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที ให้ผู้ป่วยรับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของเภสัชกร หรือสถานบริการทางการแพทย์ หรือคำสั่งของแพทย์ ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้นพบเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ต้องรับประทานทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ โดยการเช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เน้นการเช็ดลดไข้บริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้ ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกระหว่างเช็ดแขนขา เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น ต้องหยุดเช็ดตัว และห่มผ้าให้อบอุ่น ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด พยายามรับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียง นอนพักผ่อนมากๆ ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และมีอากาศถ่ายเทสะดวก หากอาการป่วยรุนแรงขึ้น เช่น ไข้ไม่ลดลงภายใน 3 วัน ซึมหรืออ่อนเพลียมาก รับประทานอาหารไม่ได้ ไอมากจนเจ็บหน้าอก เกิดปอดบวม (หายใจถี่ หอบ เหนื่อย) ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
การแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆ ในบ้าน ผู้ป่วยควรนอนแยกห้อง ไม่ออกไปนอกห้องจนกว่าจะหายเป็นปกติแล้วอย่างน้อย 1 วัน เพื่อให้พ้นระยะการแพร่เชื้อ รับประทานอาหารแยกจากผู้อื่น หากอาการทุเลาแล้ว อาจรับประทานอาหารร่วมกันได้ แต่ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ร่วมกับผู้อื่น ปิดปากจมูก เวลาไอ จาม ด้วยกระดาษทิชชู แล้วทิ้งทิชชูลงในถังขยะ และทำความสะอาดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล หรือน้ำและสบู่หรือบ่อยๆ ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ผู้ดูแลผู้ป่วยควรสวมหน้ากากอนามัย คนอื่น ๆ ควรอยู่ไกลจากผู้ป่วยประมาณ 1-2 เมตร หรืออย่างน้อยประมาณหนึ่งช่วงแขน
แหล่งข้อมูลการติดต่อเพื่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ 1. กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 0 2245 8106, 0 2246 0358 และ 0 2354 1836 2. ต่างจังหวัด ติดต่อได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง
ติดตามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข www.moph.go.th และหากมีข้อสงสัย ติดต่อได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการ กรมควบคุมโรค หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 3333 และศูนย์บริการข้อมูลฮ็อตไลน์ กระทรวงสาธารณสุข หมายเลขโทรศัพท์ 0 2590 1994 ตลอด 24 ชั่วโมง
ด้านล่างเป็นวิธีธรรมชาติบำบัดของศูนย์บัลวี เราสามารถผ่อนหนักให้เป็นเบาได้หากเป็นไข้หวัดใหญ่ดังนี้
1. ดื่มน้ำมากๆ ให้ปัสสาวะมากๆ เท่าไหรยิ่งดีเพราะเป็นการกำจัดฤทธิ์ไข้ ความเป็นกรดที่ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และสารพิษที่เกิดจากอักเสบจากไวรัสออกไปให้มากที่สุดเท่าใด จะยิ่งสบายเนื้อสบายตัวมากเท่านั้น หากดื่มน้ำไม่เก่ง ลองบีบมะนาวลงไปในน้ำให้มีรสเปรี้ยวนิดๆ จะช่วยได้
2. นอนพักมากๆ ทำตัวให้อบอุ่น ใช้ผ้าพันคอจะช่วยบรรเทาอาการไอ ใช้ขี้ผึ้งบรรเทาหวัด หรือยาหม่องทาหน้าอกให้ร้อนๆ จะบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก จะทำให้หายใจสะดวกขึ้น
3. กินยาลดไข้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง จะช่วยทำให้สบายขึ้นแต่ถ้าไม่อยากใช้ยาลดไข้ เพราะธรรมชาติบำบัดสอนว่าอาการมีไข้นั้นเป็นประโยชน์ เพราะร่างกายต้องการทำให้เม็ดเลือดขาวฆ่าเชื้อไวรัสได้มากขึ้น มันก็เลยทำให้อุณหภูมิที่สูงกว่า 37 องศา การลดไข้ด้วยยาอาจจะทำให้สบายขึ้นชั่วคราว แต่เขาว่าจะทำให้กระบวนการฆ่าไวรัสยืดเยื้อออกไป ทำให้หายช้าลง
เรื่องนี้แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละคน หากทรมานจากไข้สูงจัด ก็ควรใช้ยาลดไข้ แต่ถ้าไข้ไม่สูงนัก ลองใช้วิธีโบราณนี้ไหม คือเอาหอมแดง 7 - 10 หัวมาทุบ แล้วต้มน้ำนักชามแกงทิ้งให้เดือดสัก 5 นาที แล้วดื่มขณะร้องพอทนได้ วิธีนี้จะขับเหงื่อออก และช่วยบรรเทาไข้ได้ดี
4. อาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งเป็นอาการสำคัญของไข้หวัดใหญ่ ยาแก้ปวดจะช่วยได้ แต่วิธีการทางธรรมชาติที่ดีคือ ให้นอนแช่น้ำอุ่นจัดๆ จะเติมน้ำมันหอมระเหย เช่น ยูคาลิปตัสลงไป น้ำอุ่นๆ จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและทำให้หายปวดได้ดี
5. อาการไอ มีเสมหะในคอและหลอดลม ให้กินน้ำผึ้งผสมมะนาวและเกลือเพื่อขับเสาหะออกมา ให้ดื่มน้ำมากๆ เสมหะจะได้ไม่เหนียว เมื่อใดก็ตามที่เสมหะกลายเป็นสีเขียวหรือเหลือง แสดงว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนถึงตอนนั้นค่อยใช้ยาปฏิชีวนะ ถ้าเสมหะมาและไม่สบายใจอยากป้องกันอาการติดเชื้อให้ใช้ยาเม็ดฟ้าทะลายโจร ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 2-3 ครั้งก็พอ
ถ้าเสมหะเหนียวมากให้อบสมุนไพร โดยใส่ฟ้าทะลายโจรเข้าไปด้วย โดยอบครั้งละ 5-10 นาทีแล้วออกมานั่งให้ตัวเย็นแล้วเข้าไปอบใหม่ ทำเช่นนี้ 3 รอบ
6. ถ้าปวดศีรษะมาก มีไข้สูง ใช้น้ำเย็นประคบที่หน้าผากถ้าตัวร้อนจัดให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น และใช้ผ้าขนหนูหมาดๆ เช็ดทั้งตัว เพื่อระบายความร้อน
ถ้ามีอาการมือเท้าเย็น ใช้น้ำร้อนประคบเฉพาะที่มือและเท้า
7. อาหาร ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย กินข้าวต้ม หรือโจ๊กไปก่อน กันที่กินด้วยไม่ควรเป็นอาหารมันๆ ดื่มน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สดให้มาก โดยคั้นเดี๋ยวนั้นดื่มเดี๋ยวนั้น จะเป็นน้ำส้ม น้ำแครอท น้ำฝรั่ง น้ำสับปะรด หรือจะเป็นน้ำผสมๆ กัน
8. การเสริมภูมิต้านทาน เพื่อช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดไวรัส เราสามารถทำได้ด้วยการใช้ยาดังนี้
- วิตามินซีชนิดสกัดจากธรรมชาติ ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 4 ครั้ง - ขมิ้นชันชนิดสกัดจากธรรมชาติ (6 มก.) ครั้งละ 1เม็ด วันละ 4 ครั้ง - เบต้าแคโรทีนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (6 มก.) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1-2 ครั้ง - ขมิ้นชันครั้งละ 5 เม็ด (แคปซูลหรือลูกกลอนก็ได้) วันละ 3-4 ครั้ง
9. สำหรับอาการอื่นๆ อาจใช้ยาดังนี้ ถ้าปวดกล้ามเนื้อและกระดูกมาก เจ็บคอ ไข้สูง อาจไช้โดโลไมท์ (แคลเซียม + แมกนีซียม ) ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1- 2 ครั้ว ถ้าเจ็บคอ เสมหะมาก สงสัยว่าจะมีเชื้อแบคมีเรียแทรกซ้อน ใช้สังกะสี (25 มก.) วันละครั้ง วิตามีนบีวันละครั้งและกระเทียมเม็ด ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง
10. การนวดกล้ามเนื้อเบาๆ จะช่วยคลายกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้ดี แต่ควรทำตอนที่ไข้ลดแล้ว. เอาบทความมาจาก พญ.ลลิตา ธีระสิริ ผู้อำนวยการบัลวีเวียงพิงค์ ศูนย์ธรรมชาติบำบัด
จากคุณ |
:
tigera
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ก.ค. 52 14:12:08
|
|
|
|
|
|