Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  
 


แนะนำหนังสือน่าอ่าน ....." ท่านอาจารย์พุทธทาส : คนไข้ที่ผมได้รู้จัก " .....โดย นพ.นิธิพัฒน์ เจียรสกุล vote  

    มีสมาชิกใน ไทยคลินิก ตั้งกระทู้ไว้ .. ผมเข้าไปอ่านแล้ว ได้ความรู้ดี ๆ ของการปฏิบัติตน ของ แพทย์ และ ผู้ป่วย (ญาติ) เลยนำมาฝากกัน ...

    เนื้อหา ของหนังสือ ยาวพอสมควร แต่รับรองว่า คุ้มค่า ...


    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-buddhadas-hist-03-0 1.htm

    ขอแนะนำหนังสือ ที่น่าอ่าน ครับ

    หนังสือ ....ท่านอาจารย์พุทธทาส : คนไข้ที่ผมได้รู้จัก

    โดย น.พ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล

    มูลนิธิโกมลคีมทอง พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน

    เพื่อถวายเป็นอาจริยบูชาแด่ ท่านอาจารย์พุทธทาสมหาเถระ

    ในโอกาสฌาปนกิจศพแห่งองค์ท่าน



    คุณหมอนิธิพัฒน์ เจียรกุล เป็นแพทย์หนุ่มที่คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลส่งไปถวายการรักษาท่านอาจารย์พ ุทธทาส ที่สวนโมกขพลาราม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๔ เมื่อคราวท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจล้มเหลวมีอาการหอบเหนื่อย

    หมอนิธิพัฒน์เป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ว่าด้วยโรคทางปอดในช่วงแรกที่ท่านอาพา ธยังไม่ทราบแน่ว่าท่านเป็นโรคทางปอดหรือทางหัวใจ เมื่อท่านอาจารย์สบายดีแล้วเขาก็ยังเดินทางลงไปเยี่ยมท่านอาจารย์ทุกเดือน



    คัดมาบางส่วน ให้ได้อ่านกัน นะครับ

    คุณหมอนิธิพัฒน์เป็นผู้ที่มีความจริงใจ สุภาพ และนอบน้อมถ่อมตัว ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือมีลักษณะหลอกลวงด้วยความเห็นแก่ตัวแต่ประการใดๆ

    ในการเขียนบันทึกเรื่องนี้ก็มิได้ทำด้วยความอยากดัง แต่ถูกเร่งเร้าโดยคุณอรศรี งามวิทยาพงศ์ อาจจะโดยคนอื่นอีกบ้างที่ใกล้ชิดกับสวนโมกข์

    บันทึกเรื่องนี้มีประโยชน์ ๓ อย่างคือ

    หนึ่ง ทำให้ทราบรายละเอียดของการอาพาธของท่านอาจารย์พุทธทาสจากแพทย์ผู้ถวายการรัก ษาใกล้ชิด และถ้าใครอ่านให้ละเอียดจากหลายแห่งก็จะปะติดปะต่อให้เห็นอะไรต่ออะไรหลายอย ่างในทางการแพทย์

    สอง การปรารภธรรมของท่านอาจารย์พุทธทาสที่หมอได้ยินด้วยตัวเอง

    สาม การเปลี่ยนแปลงภายใน (internalization) ของแพทย์คนหนึ่ง

    คุณหมอนิธิพัฒน์เริ่มต้นจากการที่ไม่รู้จักท่านอาจารย์เลยและเห็นว่าเป็นคนไข้ที่แปลกกว่าคนอื่นๆ ที่เคยรักษามาทั้งหมดต่อมาได้สนใจและเรียนรู้ธรรมะจากท่านทั้งทางตรงและทางอ้อม

    จนกระทั่งยอมรับว่า ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการตายของมนุษย์ในทรรศนะที่ไม่เคยมีการเ รียนการสอนกันเลยในระบบการผลิตแพทย์แผนปัจจุบัน

    นี้เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งนัก

    การที่คนๆ หนึ่งได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก

    จะยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นชัดเจน การที่พระพุทธองค์ได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก การที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้เรียนรู้มีความสำคัญยิ่งนัก

    เพราะมนุษย์เรียนรู้ได้ยาก โดยเฉพาะคนที่มีความรู้

    การมีความรู้ กับ การเรียนรู้ ไม่เหมือนกัน

    การที่โลกลำบากอยู่ทุกวันนี้ เพราะ คนมีความรู้ ไม่เรียนรู้

    ที่เรียกว่า ความรู้นั้นที่จริงเป็น “ศาสตร์” หรือศาสตรา คืออาวุธหรือเทคนิควิธีเท่านั้น

    ในความเป็นจริงมีมนุษย์ ซึ่งมีทั้งกายและใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงกันสลับซับซ้อนและเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง

    ความจริงหรือความเป็นจริงอันเกี่ยวกับมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีความจำเพาะในกาละสถาน (space-time) จึงกล่าวได้ว่าจะไม่เหมือนกันเลย ณ จุดใดจุดหนึ่งของกาลเวลาหรือสถานที่

    มนุษย์ต้องสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาจึงจะรู้ความจริง เมื่อรู้ความจริงจึงทำได้ถูกต้อง ฉะนั้นที่เรียกว่ามีความรู้แต่ไม่เรียนรู้ จึงห่างไกลความจริงยิ่งนัก เมื่อห่างไกลจากความจริงก็ห่างไกลจากความถูกต้อง และห่างไกลจากความดี

    ท่านอาจารย์พุทธทาสท่านเป็นบุคคลเรียนรู้ นี่แหละเคล็ดลับของการมีศักยภาพ ท่านเรียนรู้จากทุกสิ่งทุกอย่างทุกขณะ

    ความเจ็บไข้แต่ละครั้งท่านกล่าวว่าทำให้ท่านฉลาดขึ้น

    รอบๆ กุฏิท่านมีสุนัข มีไก่ มีปลา ท่านว่าสัตว์เหล่านี้มันเป็นครูท่านทั้งสิ้น ท่านได้เรียนรู้จากสัตว์เหล่านี้

    แล้วทำไมหมอจะเรียนรู้จากคนไข้แต่ละคนไม่ได้

    ถ้าหมอสามารถเรียนรู้จากคนไข้แต่ละคนได้ โลกจะเปลี่ยนไป เพราะหมอเป็นผู้มีอิทธิพลต่อสังคมมาก

    การเรียนรู้จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ หวังว่าหนังสือเล่มเล็กๆ โดยหมอเล็ก ๆ คนหนึ่ง จะสื่อเรื่องใหญ่แก่หมอและแก่บุคคลทั่วไป เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านเองและต่อโลก

    (ประเวศ วะสี)


    ส่งโดย: soon_soon








    ดังนั้นในกระบวนการถวายการรักษา จึงมีการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผมเห็นว่าประเด็นนี้เป็นประโยชน์ต่อการรักษามาก เพราะทำให้เกิดความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างแพทย์และผู้ป่วย

    ในหลายกรณีที่ท่านอาจารย์ปฏิเสธวิธีการรักษาของแพทย์ แต่ก็เป็นการปฏิเสธด้วยความนุ่มนวล มิใช่ท่าทีของปฏิปักษ์ และมิใช่ด้วยความดื้อรั้นดึงดันไม่ยอมฟังเหตุผล หรือไม่ยอมทำความเข้าใจสิ่งที่แพทย์เสนอ

    แต่ผมเห็นว่าท่านเข้าใจดี เพียงแต่ว่าท่านมีวิธีอื่นที่ท่านต้องการจะเลือกมากกว่า เพราะวิธีดังกล่าวสอดคล้องได้มากกว่ากับหลักการของท่านอาจารย์เอง



    แม้ในส่วนของแพทย์เอง การได้ลื่อสารกับผู้ป่วยก็จะช่วยให้แพทย์ได้เรียนรู้ผู้ป่วยของตนเองมากขึ้น กว่าแค่การตรวจ-วิเคราะห์โรค-สั่งยาหรือวิธีบำบัดต่าง ๆ ไปอย่างอัตโนมัติแบบกลไก

    และสิ่งที่แพทย์ได้เรียนรู้จากผู้ป่วยนั้นจะเป็นประสบการณ์ที่พัฒนาองค์ความ รู้ของตนเองให้แตกฉานออกไปอีกด้วย




    แนะนำให้อ่านเป็นอย่างยิ่ง ..



    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-buddhadas-hist-03-0 1.htm

     
     

จากคุณ : หมอหมู
เขียนเมื่อ : 10 ก.ค. 52 17:41:24




[ต้องการแตกประเด็นจากกระทู้เดิมคลิกที่นี่] [กติกามารยาท] [Help & FAQ] 
 
ความคิดเห็น :
  PANTIP Toys
จัดรูปแบบ :
ไฟล์ประกอบ :
  Help
ชื่อ :
 

ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com