 |
ความคิดเห็นที่ 1 |
การวินิจฉัยโรคหืดอาศัยประวัติเป็นสำคัญ ผู้ป่วยโรคหืดมักมีประวัติของอาการจับหืดเป็น ๆ หาย ๆ ได้แก่ มีอาการไอ หอบ แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี๊ด ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ผู้ป่วยมักมีอาการในเวลากลางคืน (nocturnal asthma) ผู้ป่วยบางรายสามารถบอกได้ถึงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ เช่น ความเครียด ควันพิษหรือมลพิษ ประวัติ atopy เช่น skin eczema อาการคัน และอักเสบของเยื่อบุตา อาการคันจมูกเรื้อรัง หรืออาการจาม (โดยเฉพาะเวลาเช้า) และประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว การตรวจร่างกายผู้ป่วยจะช่วยในการวินิจฉัยและบอกความรุนแรงของโรคได้ การตรวจทางระบบการหายใจในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการหอบหืด จะพบว่ามีอัตราการหายใจเพิ่มขึ้น และได้ยินเสียงวี๊ด หรือ rhonchi จากปอดทั้งสองข้าง การตรวจการทำงานของปอด (pulmonary function test) หรือการวัดการอุดกั้นของทางเดินหายใจด้วย spirometry เช่น การวัด FEV1 (forced expiratory volume in one second), FVC (forced vital capacity) หรือการวัด PEF (peak expiratory flow) ด้วยเครื่อง peak flow meter นอกจากนี้อาจมีการวัด reversible airway obstruction โดยการวัดสมรรถภาพการทำงานของปอดก่อนและหลังให้ยาขยายหลอดลมจะช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยโรคได้มากขึ้น การตรวจเหล่านี้นอกจากจะใช้ยืนยันการวินิจฉัยโรคแล้วยังสามารถช่วยจำแนกความรุนแรงของโรค และติดตามผลการรักษาได้อีกด้วย โดยหากค่า FEV1 / FVC มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 80 ในผู้ใหญ่ หรือร้อยละ 90 ในเด็ก และค่า FEV1 เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 12 หลังจากให้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดพ่น หรือหลังจากให้ cortico-steroids แสดงถึงภาวะกลับปกติหรือทุเลาลง(reversible) ของโรคหืด นอกจากนั้นการวินิจฉัยโรคหืดอาจพิจารณาจากค่า PEF ที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 15 หลังได้รับยาขยายหลอดลมออกฤทธิ์สั้นชนิดสูดพ่น 15-20 นาที หรือค่า PEF ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 15 หลังจากวิ่งหรือออกกำลังกายนาน 6 นาที กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการหอบหืด การวัดสมรรถภาพการทำงานของปอดอาจไม่พบสิ่งผิดปกติ แพทย์อาจให้การตรวจวัดค่าความผันผวนของ PEF (PEF variability) ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัน ในระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ ถ้ามีความผันผวนของค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดมากกว่าร้อยละ 20 (ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ใช้ยาขยายหลอดลม) บ่งชี้ว่าเป็นโรคหืดหรืออาจใช้วัดความไวของหลอดลมในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีอาการ ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่จำเพาะเจาะจงต่อโรคหืด โดยวัดการเปลี่ยนแปลงสมรรถภาพก่อนและหลังการสูดดมละออง methacholine ที่เรียกว่า methacholine challenge test หรือสารอื่น เช่น histamine หรือการออกกำลังกาย เป็นต้น
จากคุณ |
:
อามาคุสะ ริว
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ก.ค. 52 20:04:24
|
|
|
|
 |