 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
|
ก่อนจบ เราอยากบอกแค่ว่า จิตใจของคนนั้นค่อนข้างซับซ้อนเอามากๆ และเปราะบางมากมาย แค่แม่ของคุณรักคุณมากเกินไป (emotional incest) ก็อาจทำให้คุณมีบาดแผลไปได้ตลอดชีวิต หรือแค่การล้อเลียนกันในวัยเด็ก ก็อาจทำให้เราต้องฝันร้าย จนสร้างผีในโรงเรียนขึ้นมาหลอนใจตัวเอง
สังคมไทยปัจจุบัน หลังการรับค่านิยมตะวันตก ค่อนข้างสับสนทางค่านิยม และมีการตั้งมาตรฐานที่สูงเกินไปในหลายเรื่อง เช่นคาดหวังให้ผู้หญิงต้องเรียนสูง สวย รวย เก่ง ฉลาด พูดได้สามภาษา แต่ขณะเดียวกันก็ต้องเรียบร้อย เป็น virgin อยู่ในกรอบ ไม่กินเหล้า เป็นเมียเป็นแม่ ซึ่งก็น่าสนใจว่าจะมีกี่คนที่ทำได้ตามมาตรฐานนั้นทุกอย่าง ในเมื่อสังคมเรายังค่อนข้างเป็นสังคมที่ไม่ค่อยมีโอกาสให้คนก้าวหน้าได้ง่ายนัก บางคนที่ฝันไกล แต่ไปไม่ถึงหลายคน จึงมีความกดดันมากมายที่จะทำทุกอย่าง หรือที่จะสร้างภาพว่าตนเองเป็นทุกอย่างอย่างที่สังคมกำหนดให้เป็น
ถ้าคุณผู้นั้น มิได้เป็นสาวสวย เห็นวิญญาณ เรียบร้อย ทำบุญ etc คุณยังจะรักเธอเหมือนเดิมไหมคะ ถ้าถามเรา เราขอบอกว่าตอนที่เราทราบว่าคนที่รักเป็นอะไรนั้น เราก็ยังรักเขาและยอมรับเขาเหมือนเดิม ที่อยากให้เขาไปพบ psychiatrists + psychologists ก็เพราะอยากให้เขามีความสุขในชีวิต
ความดี ไม่ได้ตัดสินกันแค่พูดเพราะ หรือทำบุญ หรือเป็นคนเรียบร้อยอ่อนหวาน ความดี ไม่ต้องรอให้คนมายอมรับ เพราะมันอยู่ตรงนั้นเสมอ แทนที่จะแค่บริจาคเงินให้คนจน ลองสละเวลาในแต่ละวันมาคิดว่าวันนี้เราทำอะไรที่สนับสนุนให้ยิ่งมีคนจนมากขึ้นหรือเปล่าดีกว่า และเราจะลองช่วยแก้ได้ยังไงบ้าง ลดอคติในใจที่มีกับคนจนลงไปบ้าง
การมีปัญหาทางจิตนั้น ไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือใหญ่โต คนมีปํญหาทางจิต ไม่จำเป็นต้องเห็นคนอื่นเป็นกาน้ำชา หรือพรมเช็ดเท้า เหมือนที่เห็นกันในหนังตลก เพราะจิตใจของคนนั้นบอบบางและซับซ้อน คนที่มีปัญหาทางจิต อาจเป็นคนที่สวยที่สุด เก่งที่สุด หรือเป็นคนที่เรารักที่สุดก็ได้ ดังนั้น ดูแลจิตใจตัวเอง และคนรอบข้างให้ดีกันดีกว่าค่ะ ลดมาตรฐานที่เราใช้ในการชื่นชมคนลงบ้าง เช่น เธอไม่จำเป็นต้องสวยที่สุดรวยที่สุดดีที่สุด เราถึงจะรักจะชอบ แต่แค่เป็นเธอ เป็นคนคนนี้ เป็นคนที่ยิ้มให้คนอื่นทุกวัน etc เราก็รักแล้ว
Works Cited
American Psychiatric Association. Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders.4th edition, text revised. Washington, DC: American Psychiatric Association, 2000.
Bornstein, Robert F. "Implicit and Self-Attributed Dependency Needs in Dependent and Histrionic Personality Disorders." Journal of Personality Assessment71, no. 1 (1998): 1-14.
คุณ NUTS และเพื่อนๆ จาก http://www.pantip.com/cafe/siam/topic/F8113381/F8113381.html. 22 July 2009. Retrived 26 July 2009
จากคุณ |
:
Scott's Mom (Calinoodlez)
|
เขียนเมื่อ |
:
27 ก.ค. 52 11:19:05
A:75.95.250.100 X: TicketID:164658
|
|
|
|
 |