 |
ความคิดเห็นที่ 2 |
วารสารฉลาด ซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเสวนา "แฉมุกหมกเม็ดของฟิตเนสที่ผู้บริโภคไม่เคยรู้"
นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กรณีการดำเนินการร้องเรียนเรื่องสถานออกกำลังกายหรือฟิตเนส ที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้รับการร้องเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2550 มีทั้งสิ้น 36 ราย
และปัญหาที่พบมากที่สุดก็ คือ ปัญหาเรื่องสัญญาไม่เป็นธรรม การขายของพนักงานไม่มีมาตรฐาน ปัญหาเรื่องการให้บริการ เช่น สถานที่ออกกำลังกายและเครื่องออกกำลังกายไม่เพียงพอ รวมทั้งไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยเพราะเมื่อของหายก็จะไม่รับผิดชอบ
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาหลายอย่างที่ฟิตเนสไม่ได้บอกผู้บริโภคเป็น 10 ข้อ เช่น อาจมีแบคทีเรียจำนวนมหาศาลอยู่ตามเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งห้องน้ำ และล็อกเกอร์ หรือการที่ฟิตเนสคลับส่วนใหญ่ไม่มีอุปกรณ์สำหรับรองรับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ และการที่เทรนเนอร์บางคนไม่ได้ถูกฝึกมาเพื่อสมาชิกทุกคน รวมทั้งมีเงื่อนไขการเอาเปรียบในสัญญาเกือบทุกข้อรวมทั้งการยกเลิกสัญญานั้น ทำได้ยาก
"มีผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งเราไม่ช่วยแต่จะแนะทางออก เช่น ให้ไปร้องสำนักงานคุ้มครองเพื่อผู้บริโภค (สคบ.) ก่อน พร้อมกับทำหนังสือร้องเรียนถึงบริษัท ถ้าไม่ได้จริงจึงค่อยมาปรึกษากันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ที่สำคัญคือ ก่อนจะสมัครเป็นสมาชิกฟิตเนสต้องคิดดีๆไม่ใช่เพราะลดราคา หรือเพื่อนชักจูง ถามตัวเองให้แน่ก่อนว่าอยากเล่นจริงๆ หรือไม่ และถ้าจะเล่นจริงๆ ก็ใช้วิธีการทดลองใช้บริการโดยใช้เวลาสั้นๆ ก่อน 3 เดือน หรือ 6 เดือน รวมทั้งลองต่อรองราคาเพราะราคาค่าสมาชิกฟิตเนสไม่เท่ากันเซลมีการแข่งกันลด ราคาสูง"
เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวด้วยว่า ก่อนที่ผู้บริโภคจะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องอ่านรายละเอียดสัญญาก่อน และหากไม่เข้าใจต้องสอบถาม อย่ากลัวที่จะต่อสู้เพื่อสิทธิตัวเอง หรืออย่ายอมให้มีการแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ
สำหรับการแก้ปัญหาด้านสัญญา ขณะนี้ สคบ.กำลังพิจารณาแก้ไขระเบียบของผู้ประกอบการสถานฟิตเนส ให้เป็นธุรกิจที่ต้องควบคุมสัญญาเช่นเดียวกับสัญญาบัตรเครดิตด้วย
นายนคร ชมพูชาติ รองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าวว่า เมื่อผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ จะไม่กล้าฟ้องร้อง การพิจารณาคดีของศาลในจึงไม่เคยเกิดขึ้นแต่อย่างใด
ทั้งนี้ บางครั้งผู้บริโภคคิดว่าสัญญาไม่เป็นธรรม แต่แม้จะถูกเอาเปรียบ ก็ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาเป็นเหตุผลในการฟ้องร้อง อาจเพราะนิสัยคนไทย ถ้าไม่ที่สุดจริงๆ จะไม่เอาเรื่องเอาราว
อีกทั้งสัญญาที่บอกไม่เป็นธรรมเนื้อหาบางจุดก็เป็นสิทธิที่เขาสามารถทำได้ ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับผู้บริโภคด้วยว่า เข้าใจรายละเอียดในสัญญาชัดเจนเพียงพอหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากเจ้าของสัญญาไม่สามารถให้บริการตามที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้บริโภคสามารถเจรจากับเจ้าของสัญญาเพื่อขอยกเลิกสัญญาได้เพราะสัญญาเป็น การยินยอมทั้ง 2 ฝ่ายอยู่แล้ว แต่หากไม่สามารถสำเร็จก็สามารถฟ้องร้องเพื่อขอเรียกเงินคืนได้
"หากพบว่าฟิตเนสผิดสัญญาไม่เป็นไปตามที่ตกลงกันแล้วต้องการยกเลิก ในกรณีที่ให้ฟิตเนสหักเงินจากบัตรเครดิต ซึ่งปกติเป็นแบบอัตโนมัติ ก็เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของเราที่จะต้องไปแจ้งยกเลิกเองได้" รองประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ กล่าว
นางนวลลออ ทองคงเย่า ผู้ใช้บริการฟิสเนส กล่าวว่า ได้สมัครใช้ฟิตเนสบริษัทแห่งหนึ่งย่านใจกลางเมือง กทม.ซึ่งพนักงานขายได้เชิญชวนโดยบอกว่า ลดราคาจากเดือนละ 10,000 บาท เหลือ 2,800 บาท ซึ่งจะขอยกเลิก เมื่อใดก็ได้
ทั้งนี้ ได้ทำสัญญาโดยที่ไม่ได้ดูรายละเอียดสัญญาให้รอบคอบ ซึ่งพนักงานก็ไม่ได้ให้รายละเอียดมากกว่านี้ แต่เมื่อกลับมาดูสัญญาอีกครั้ง พบรายละเอียดที่ต่างจากพนักงานขายกล่าว และมีข้อผูกมัดมากมาย
เช่น ต้องจ่ายเงินให้ครบ 1 ปี จึงจะสามารถยกเลิกสัญญาได้และต้องแจ้งล่วงหน้า 2 เดือน ซึ่งเป็นการผูกมัดลูกค้า อีกทั้งบริษัทก็ไม่ได้เปิดบริการตามเวลาที่ได้โฆษณาไว้ จากเดิมเดือน ส.ค.เลื่อนเป็น พ.ค.ดังนั้น เมื่อตนต่อว่าไปยังพนักงานคนเดิมก็พบว่าได้พยายามหลบหน้าและไม่ยอมรับ โทรศัพท์
"เป็นความประมาทของดิฉันด้วยที่ไม่ยอมอ่านรายละเอียดให้รอบคอบ แต่ดิฉันคิดว่าบริษัทก็ไม่ควรเอาเปรียบลูกค้าขนาดนี้ เพราะถือเป็นการโกหกลูกค้าด้วย เหมือนหลอกกันเลย นี่ถือว่าเป็นสัญญาทาส ไม่คิดว่าเซ็นชื่อแป๊บเดียว จ่ายเดือนเดียวต้องยกเลิกไม่ได้ต้องจ่ายต่อไปอีก 12 เดือน ถ้าจะเลิกก็ต้องจ่ายไปอีกเป็น 13 เดือน อยู่บ้านก็เป็นทาสได้ ด้วยความโง่ของเรา อ่านสัญญาอ่านไปก็เจ็บใจ ทั้งๆ ที่หวังว่าลดจากเกือบ 10,000 บาท เหลือ 2,800 แต่กลับไม่ใช่อย่างที่คิดไว้ ไม่มีอะไรได้มาฟรีแต่ต้องเจ็บปวด เงินมีจ่ายแต่ไม่อยากจ่าย มันเจ็บปวด" นางนวลลออ กล่าว
ส่วน "นายต้น" อดีตพนักงานขายสมาชิกฟิตเนส กล่าวว่า ออกมาจากงานได้ 2 ปี แล้ว เพราะรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรม ได้เงินมากแต่ไม่สบายใจ เพราะรายได้ที่ได้อยู่เดือนละไม่ต่ำว่า 30,000 บาท ขณะที่พนักงานขายระดับท็อปได้ตกเดือนละ 80,000 บาท
แต่เมื่อเข้าไปทำแล้ว ลูกค้าเจอปัญหาหลายราย พอมาฟังประสบการณ์แต่ละคนวันนี้ รู้สึกหน้าชาแทนจริงๆ เพราะการขายลักษะนี้เป็นการขายที่ไม่ถูกต้อง
นายต้น กล่าวเพิ่มเติมว่า พนักงานขายต้องแข่งกันทำยอดขายตามที่บริษัทต้องการ ซึ่งตามเป้าต้องทำให้ได้อย่างน้อย 26 คนต่อเดือน หรือในหนึ่งวันจะต้องหาลูกค้าให้ได้อย่างน้อย 2 - 4 คน
พนักงานขายจึงตกอยู่ในสภาวะที่กดดัน เพราะต้องแข่งกันทำยอดให้ได้ตามเป้า ซึ่งหัวหน้าจะกดดันลูกน้องเพื่อไห้ได้ลูกค้ามากที่สุด และเมื่อถึงเวลาประเมินหากพนักงานขายไม่สามารถทำยอดได้ตามเป้าของบริษัท พนักงานขายก็จะต้องลาออก ดังนั้นพนักงานขายจึงไม่คำนึงถึงความถูกผิดเท่าที่ควรแต่จะคำนึงว่าทำอย่าง ไรจะได้ลูกค้ามากที่สุด การออกกำลังกายตามฟิตเนสเซ็นเตอร์ กำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยม หลายคนเลือกไปฟิตเนสเพราะมีอุปกรณ์ออกกำลังกายที่หลากหลาย สถานที่ตกแต่งสวยงาม ทันสมัย มีเทรนเนอร์แนะนำการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องที่สนุกสนานไม่น่าเบื่อ
ในขณะที่บาง คนสมัครเป็นสมาชิกฟิตเนส เพื่อที่จะสร้างแรงจูงใจในการออกกำลังกายให้กับตัวเอง เพราะรู้สึกว่าเสียสตางค์แล้วยังไงก็ต้องไปใช้บริการให้คุ้ม ซึ่งก็เป็นวิธีคิดที่น่าสนใจสำหรับคนที่เคยพยายามออกกำลังกายด้วยตัวเองแล้ว ไม่ประสบผลสำเร็จ
แม้รูปแบบธุรกิจจะดูดี ทันสมัยเหมาะกับไลฟ์สไตล์คนเมือง แต่ก็ใช่ว่าจะสวยงามสุดยอดไปเสียทั้งหมด ยังมีความจริงอีกด้านของธุรกิจนี้ซึ่งนับวันจะส่งเสียงร้องเรียนดังขึ้น เรื่อย ๆ จนอาจกลายเป็น ดาบที่กลับมาเชือดและล้มธุรกิจนี้ให้หายออกไปจากตลาดก็เป็นได้ ถ้ายังไม่คิดปรับปรุงบริการให้ดีขึ้น
คอลัมน์เพื่อนผู้บริโภค สัปดาห์นี้จึงรวบรวมหลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นในฟิตเนสคลับ ที่ผู้บริโภคควรรู้ก่อนเข้าไปใช้บริการ โดยรวบรวมข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และเว็บบอร์ดต่าง ๆ ที่มีการร้องเรียนเรื่องฟิตเนส คลับ
ปัญหาเกี่ยวกับสถานที่
1. สาขาที่ยังก่อสร้างไม่เสร็จ แต่กลับเปิดขายสมาชิกก่อน แล้วให้ผู้บริโภคไปใช้บริการสาขาอื่นแทน ซึ่งไม่สะดวกและให้บริการได้ไม่เต็มที่ตามที่ตกลงกับตัวแทนขาย
2.บางสาขาเปิดให้บริการไม่ได้ตามกำหนด แต่เริ่มหักเงินค่าบริการ ทั้ง ๆ ที่ผู้บริโภคยังไม่ได้เข้าไปใช้บริการเลย
3. ความไม่ปลอดภัยของสถานที่ ของหายบ่อย อากาศถ่ายเทไม่สะดวก พื้นที่ให้บริการไม่เพียงพอกับจำนวนคนที่เข้ามาใช้บริการ ฟิตเนสหลายแห่งตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ซึ่งชวนให้เป็นห่วงเรื่องการหนีออกจากพื้นที่ให้บริการ หากมีเหตุการณ์ไฟไหม้หรือเหตุการณ์ฉุกเฉินอื่น ๆ
ปัญหาเกี่ยวกับบริการ
1. ไม่มีการคำนวณเรื่องจำนวนสมาชิกต่อพื้นที่การให้บริการ ทำให้เวลาที่สมาชิกจำนวนมาก ๆ มาใช้บริการในเวลาเดียวกัน (ส่วนใหญ่เป็นเวลาเลิกงาน) ต้องแย่งกันใช้อุปกรณ์ ครูฝึก ตลอดจนพื้นที่ต่าง ๆ อย่างห้องน้ำ ซาวน่า ฯลฯ ซึ่งสร้างความอึดอัดรำคาญ
2. ไม่มีมาตรฐานในเรื่องบริการครูฝึกสอน แม้จะเป็นสมาชิกของคลับแล้ว แต่ผู้บริโภคยังต้องซื้อบริการเทรนเนอร์หรือครูฝึกสอนประจำตัวเพิ่มเติม มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการดูแลใด ๆ เลย คลับจะปล่อยให้ใช้บริการกันไปแบบไม่มีความรู้หรือบางอุปกรณ์ก็ไม่สามารถใช้ ได้
3.ราคาค่าสมาชิกไม่มีมาตรฐาน ขึ้นอยู่ว่าผู้บริโภคจะต่อรองกับตัวแทนขายได้เท่าไร แม้จะเป็นสมาชิกประเภทเดียวกันก็ตาม
4. การคิดค่าบริการแบบรายเดือน (อย่างต่ำ 12 เดือน) จะเป็นแบบหักเงินล่วงหน้าก่อนใช้บริการ 3 เดือน คือ เดือนที่ 1 เดือนที่ 11 และเดือนที่ 12 ระหว่างนั้นหักจากบัตรเครดิต หากผู้บริโภคยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดจะถูกยึดเงินเดือนที่ 11 และ 12 ด้วย (รวมค่าปรับจากการยกเลิกสัญญา) และหากไม่ยกเลิกสัญญาตามแบบที่บริษัทกำหนดไว้ (ซึ่งยุ่งยากมาก) ผู้บริโภคต้องเสียเงินเพิ่มไปอีกถึงเดือนที่ 13
ปัญหาเกี่ยวกับเซลส์หรือตัวแทนขาย
1. ไม่มีจรรยาบรรณ ทำได้ทุกอย่างเพื่อปิดการขาย ขณะขายจะรับปากทุกอย่างกับผู้บริโภคว่าทำนู่นได้ ทำนี่ได้ แต่เมื่อเป็นสมาชิกแล้วจะไม่ได้รับการเหลียวแลอีกเลย และที่รับปากไว้ก็ไม่เป็นตามคำสัญญา
2.รบกวนและรุกเร้าผู้บริโภคจน น่ารำคาญ เช่น โทรศัพท์รบกวนขณะทำงาน บอกว่ามีบัตรฟรีแต่พอจะใช้บริการก็ให้นั่งฟังเซลส์ (เป็นทีม) ขายสมาชิกเกือบครึ่งชั่วโมง และหลายครั้งถ้าปิดการขายไม่ได้เซลส์จะมีการพูดจาหยาบคายหรือจาบจ้วงเพื่อ ให้อายคนอื่น ๆ หรือกิริยามารยาทจะเปลี่ยนไป ก่อนเป็นสมาชิกจะดีมาก ๆ แต่พอเป็นสมาชิกแล้ว จะไม่เหลียวแลอีกเลย เว้นแต่จะมีพวกมากเพราะคุณจะเหมือนกุญแจสู่ความสำเร็จในการขายครั้งต่อไป
ปัญหาเกี่ยวกับสัญญาไม่เป็นธรรม
1. ในเนื้อหาของสัญญาหลายข้อเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เช่น บอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดไม่ได้ การบอกเลิกสัญญาต้องทำตามเงื่อนไขของบริษัทซึ่งยุ่งยากมาก มีการประวิงเวลาจนผู้บริโภคเสียสิทธิ การอ้างเหตุสุดวิสัยในการยกเลิกสัญญาตามที่บริษัทกำหนดไม่สอดคล้องกับความ จริง โดยสัญญาระบุแค่เรื่องเกณฑ์ทหาร ทุพพลภาพ เท่านั้น ทั้งที่เหตุสุดวิสัยของผู้บริโภคมีได้มากมาย เช่น บาดเจ็บหรือป่วยจนเคลื่อนไหวไม่สะดวก ตั้งครรภ์ หรือการย้ายที่ทำงาน
2. กรณีเป็นสมาชิก 12 เดือน ผู้บริโภคทั่วไปย่อมเข้าใจว่าเมื่อครบ 12 เดือนแล้วจะยกเลิกการเป็นสมาชิกโดยอัตโนมัติ แต่ความจริงคือหากไม่แจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกโดยลายลักษณ์อักษรไปยังบริษัทฯ (ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ) ก่อนกำหนดการชำระเงินในคราวต่อไป บริษัทฯ จะถือว่าอายุสมาชิกยังไม่สิ้นสุดรวมทั้งหักค่ารายเดือนต่อไป ทั้งที่ผู้บริโภคอาจไม่ได้ไปใช้บริการแล้ว
3.สัญญามีรายละเอียดมาก ตัวหนังสือก็เล็ก ซึ่งเซลส์ต้องอ่านให้ผู้บริโภคทราบก่อนที่ผู้บริโภคจะลงลายมือชื่อยินยอมทำ ตามสัญญา จุดนี้ทำให้ผู้บริโภคส่วนหนึ่งไม่ได้อ่านอย่างรอบคอบ และเซลส์มักเลี่ยงบอกว่าไม่มีอะไรสำคัญ
แก้ไขเมื่อ 06 ส.ค. 52 23:16:20
จากคุณ |
:
ผู้น้อยน้อมคารวะ
|
เขียนเมื่อ |
:
6 ส.ค. 52 23:14:32
|
|
|
|
 |