 |
ความคิดเห็นที่ 3 |
การตรวจร่างกาย
การวินิจฉัยโรคที่แน่นอนต้องมีการตรวจทางทวารหนัก ซึ่งประกอบด้วย
1. ตรวจดูขอบทวารหนัก ส่วนใหญ่จะปกติ หรือ อาจเห็นริดสีดวงทวารหนักยื่นออกมา
2. การตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือ (PR) ไม่ช่วยวินิจฉัยริดสีดวงทวารหนัก แต่ช่วยตรวจแยกโรค
อื่นๆ ที่มีอาการคล้ายริดสีดวงทวารหนัก โดยเฉพาะก้อนหรือแผลบริเวณทวารหนักหรือภายใน
rectum
3. การตรวจด้วย anoscope จะตรวจพบหัวริดสีดวงภายในได้ชัดเจน ควรทำเพื่อการวินิจฉัยที่แน่นอน
4. การตรวจด้วยsigmoidoscope ควรทำในรายที่มีอายุมาก และจำเป็นต้องทำถ้ามีประวัติขับ
ถ่ายผิดปกติเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นมูก ปนเลือด หรือคลำก้อนได้ภายในทวารหนักการรักษา
ระดับทั่วไป การรักษาระดับนี้ อาจเป็นการรักษาหลักได้ถ้าเริ่มเป็น และอาการไม่รุนแรง หรือใช้เป็นการรักษาเสริมร่วมกับวิธีอื่น
วัตถุประสงค์ เพื่อให้การขับถ่ายอุจจาระสะดวก ไม่ต้องเบ่งรุนแรง และเพื่อระงับอาการที่ก่อให้เกิดความรำคาญ
วิธีการ
1. เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยมาก เช่น ผัก และผลไม้
2. ทำให้อุจจาระนิ่มโดย ดื่มน้ำให้มากขึ้น และอาจให้ยาระบายร่วมด้วยถ้ามีอาการท้องผูก
3. รักษาอาการและสาเหตุของท้องเสียถ้ามี
4. ยาระงับอาการ ยาเหล่านี้ควรใช้เมื่อมีอาการและไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ยาที่ใช้ได้แก่ ยาสอดทวารหนัก, ยาขี้ผึ้งทวารหนัก, ยารับประทาน
เครดิต: PATTAYAHEALTH
จากคุณ |
:
ผัดไทเส้นหมี่
|
เขียนเมื่อ |
:
10 ส.ค. 52 13:32:18
|
|
|
|
 |