 |
ความคิดเห็นที่ 19 |
|
สวัสดีค่ะเป็นเภสัชกรน่ะค่ะ ทำงานอยู่ในโรงพยาบาลรัฐที่มีเตียง 1000 เตียงขึ้นไปค่ะ และเป็นแบบ super tertiary hospital ค่ะ
อธิบายคราวๆค่ะ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา หรือ adverse drug reaction จะแบ่งเป็น 2 อย่างค่ะ คือ
Type A (Augmented ) ก็จะประกอบไปด้วย toxicity of overdose, SIDE EFFECT, secondary effect, Drug interation
Type B ( bizarre) ก็จะประกอบไปด้วย hypersensitivity immunological reaction , idiosyncratic reaction
ขอขยายความเฉพาะ 2 เรื่องเท่านั้นค่ะ คือ
- side effect = อาการข้างเคียงจากการใช้ยา เช่น เวลาเราเป็นหวัด ได้รับยา Chlorpheniramine เป็นเม็ดเล็กกลมสีเหลือง ทานแล้วง่วงนอนมาก อันนี้เรียกว่า side effect ค่ะ
คือ เกิดจากกลไกทางเภสัทวิทยาของยาเองค่ะ ดังนั้นบุคคลากรทางการแพทย์ทุกท่านจะทราบค่ะว่า ถ้าผู้ป่วยทานยาต่างๆไปแล้ว เราสามารถคาดการณ์ หรือ ทำนายได้ว่า อาจจะเกิดอะไรบ้างกับผู้ป่วยได้ ดังนั้นเราจะแจ้งให้ผู้ป่วยทราบก่อนค่ะ หรือบางทีผู้ป่วยอาจเกิด hypotention หรือ ความดันโลหิตต่ำมากเกิน จากการใช้ยาลดความดันโลหิตก็ได้ค่ะ
side effect อาจจะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ค่ะ ผู้ป่วยบางท่านทนต่อยา ทานแล้ว ok แต่บางท่าน sensitive มากก็ เกิด side effect ค่ะ
วีธีการแก้ไข ก็คือ 1. ถ้าสามารถทนต่อ side efect ได้ ร่างกายจะค่อยๆปรับสภาพ หรือ ชินกับยา เช่น บางท่านไอ จากการทานยาลดความดันโลหิตค่ะ แต่พอผ่านไปประมาณ 1 เดือนร่างกายจะคุ้นกับยาค่ะ ก็จะไม่ไอ
2. กลัว side effect ไม่สบายใจ ก็เปลี่ยนยาไปเลยค่ะ ไปเป็นยากลุ่มอื่น
ดังนั้นถามว่า....เป็นความผิดของใคร......ขอตอบค่ะ....เป็นความผิดของยาค่ะ แต่มีวิธีแก้ไขนิค่ะ จริงไหม
สำหรับ การแพ้ยา หรือ drug allery หรืออยู่ในกลุ่ม type B ก็คือ เป็นปฏิกิริยาตอบสนองเฉพาะสำหรับบางคน จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความไวต่อยาเท่านั้น ผลที่เกิดขึ้นไม่สัมพันะกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาตามปกติของยา ไม่สามารภทำนายอาการที่เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาได้ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับขนาก or dose ยา ได้รับยาเพียงเล็กน้อยก็อาจเกิดอันตรารายถึงชีวิตได้ค่ะ
จากนิยามที่เขียนให้ดู ก็จะทราบว่า drug allergy น่ากลัวกว่า side effect มากๆค่ะ เพราะไมมีใครทราบ หรือ ทำนาย หรือ คาดว่าจะเกิดกับใคร จากยาอะไรบ้าง
จากประสบการณ์ในการทำงาน ผู้ป่วยบางท่านก็แพ้ vitamin คือ เป็นแบบ rash หรือ บางทีก็ mp rash ค่ะ คือเกิดผื่นตามตัวค่ะ แบบนี้ก็เรียกว่าแพ้ยาค่ะ
การแพ้ยา drug allery มีหลายแบบมากๆค่ะ แต่ที่เห็นตามข่าว แล้วมีการฟ้องร้อง ส่วนใหญ่จะเป็นแบบระดับรุนแรงมาก คือ
Stevens-Johnson syndrome หรือไม่ก็ toxic epidermal necrolysis ลอง search ดูรูปภาพแล้วกันน่ะค่ะว่าเป็นอย่างไร น่ากลัวมาก (เนื่องจาก post รูปไม่เป้นค่ะ)
ถ้าผู้ป่วยมารักษาได้ไวก็จะหายค่ะ แต่ถ้าไม่ท่านก็อาจเสียชีวิตได้ค่ะ
ถามว่าเป็นความผิดของใคร......ก็ลองดูนิยามที่ให้มาค่ะว่าเป็นอย่างไร......ก็คือไม่มีใครผิดค่ะ แต่จะเข้าได้ก็ต่อเมื่อผู้ป้วยไม่เคยมีประวัติแพ้ยามาก่อน
แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้ยา หรือให้ข้อมูลกับทางโรงพยาบาลแล้ว ว่าแพ้ยาอะไร เราก็จะมาดูกลุ่มยาค่ะ ว่ามีโอกาส หรือความน่าจะเป็นที่ผู้ป่วยจะแพ้ยาอีกตัวหรือไม่ ในกรณีที่ถูกสั่งจ่ายให้ไหมค่ะ หรือที่เรีกว่าการเกิด cross reaction ค่ะ
หรืออีกกรณีผู้ป่วยให้ขอมูลแล้วว่า แพ้ยา a แต่ปรากฏว่ามาโรงพยาบาลครั้งนี้ เกิดเหตุได้ยา a แบบเดิม แล้วเกิดอาการแพ้แบบเดิม แบบนี้เรียกว่าแพ้ยาซ้ำค่ะ
ดังนั้นในทั้ง 2 กรณีที่กล่าวมา จะเห็นว่า ผู้ป่วยได้ให้ข้อมูลแล้ว แต่ก็ได้ยาแบบเดิมตัวเดิม หรือ กลุ่มยาที่อาจเสี่ยงต่อการแพ้
ดังนั้นก็ถือว่าเป็นความผิดของบุคลากรทางการแพทย์อย่างแน่นอนที่สุดค่ะ
อยากจะบอกน่ะค่ะว่า ไม่มีใครอยากให้เกิดเห็นการณืแบบนี้ ไม่อยากให้ใครเป็นอะไรเพราะเราค่ะ ดังนั้นสิ่งที่อยากจะขอร้อง หรือ ขอความทร่วมมือก็คือ
- ถ้ามีประวัติแพ่ยา กรุณาแจ้งทุกคนให้ทราบค่ะ อย่าเบื่อ หรือ รำคาญที่จะต้องพูดซ้ำไปมา เพราะ computer system แต่ระที่ไม่เหมือนกันค่ะ แจ้ง หมอ พยาบาล เภสัชกร เลยค่ะ ย้ำๆเข้าไว้ค่ะ
- ในกรณีที่ ok ปกติไม่เคยแพ้อะไร หรือ ไม่ทราบว่าแพ้อะไร ก็ให้ทำแบบนี้ค่ะ เพราะยาทุกตัวมีความเสี่ยงที่จะเกิด drug allergy ให้สังเกตว่าเมื่อทานยาไปมีความผิดปกติอะไรที่เกิดขึ้นบาง เช่น
เกิดผื่น หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก ปาก หน้าบวม ก็ให้หยุดยาทันที แล้วนำยาทั้งหมดที่ทานมาที่โรงพยาบาลค่ะ เราก็จะได้ช่วยกันหาสาเหตุว่ายาตัวไหน จากนั้นก็หยุดยาตัวนั้นค่ะ dechallenge ยา
ดังนั้นทุกฝ่ายต้องช่วยๆกันสังเกตค่ะ
จากคุณ |
:
athena_b
|
เขียนเมื่อ |
:
19 ก.พ. 53 13:05:25
|
|
|
|
 |