Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
การออกกำลังกาย แบบทำให้(Passive Movement)  

การเคลื่อนไหวข้อต่อ  (Passive   Movement)    หมายถึง   การเคลื่อนไหวข้อต่อให้แก่ผู้อื่นภายในช่วงการเคลื่อนไหวปกติ   มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการจำกัด
การเคลื่อน ไหวของข้อต่อ   ไม่สามารถทำได้เอง
  ข้อควรจำ
   การทำการเคลื่อนไหวข้อต่อไม่สามารถทำให้กล้าม เนื้อแข็งแรงขึ้น           แต่จะช่วยป้องกันการหดสั้นของกล้ามเนื้อ  
   วัตถุประสงค์
                   1. ป้องกันการหดสั้นของกล้ามเนื้อและการยึดติดของข้อต่อ
                   2. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต(ในส่วนที่ เคลื่อนไหว)
                   3. ลดอาการเจ็บปวดจากการไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นเวลานานได้
                   4. เพื่อเพิ่มหรือคงช่วงการเคลื่อนไหวที่เป็นปกติไว้
             ข้อควรระวัง
                   1. ห้ามเคลื่อนไหวข้อเกินมุมปกติ หรือฝืนทำต่อเมื่อรู้สึกตึง แล้วเพราะอาจทำให้   เกิดการบาด เจ็บที่ข้อต่อและเด็กอาจไม่ให้ความร่วมมือ
                   2. ไม่ควรทำใน กรณีที่มีบาดแผล
                   3. ห้ามทำใน ภาวะที่มีกระดูกหัก
             วิธีการ
                   1. จังหวะในการเคลื่อน ไหวข้อไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป
                   2. ระวังอย่าให้เกิดการกระแทกของข้อต่อในช่วงสุดท้ายของการเคลื่อนไหวข้อต่อ
                   3. ขณะทำการเคลื่อนไหวข้อควรสังเกตสีหน้าด้วยว่า มีอาการเจ็บปวดหรือไม่
                                       จำนวน ครั้ง    ทำท่าละ 15-30 ครั้ง
                                       ความ ถี่         แนะนำทำทุกครั้งหลังพลิกตัว
              การเคลื่อน ไหวส่วนแขน
                 การเคลื่อนไหวข้อต้องพูดคุย กับผู้ป่วยบอกว่าจะทำอะไร ทำแลัสัมผัสด้วยความรักและเมตตา
                   1. ท่ายกแขนขึ้น - ลง
                         ท่าเริ่มต้น : นอนหงายหรือนั่ง
                         วิธีปฏิบัติ : มือหนึ่งจับที่บริเวณข้อไหล่ อีกมือจับที่บริเวณเหนือข้อมือ บอกพูดคุยกับผู้ป่วยว่าจะยกแขน ยกแขนขึ้นจนชิด หูยกแขนลงกลับมาที่เดิม(ชิดข้างลำตัว) ทำซ้ำทั้งสองข้าง  เสร็จแล้วพูดคุยซื่นชม
     

                   2. กางแขนเข้า - ออก
                         ท่าเริ่มต้น : นอนตะแคง
                        วิธีปฏิบัติ : มือหนึ่งจับที่บริเวณข้อไหล่ อีกมือจับที่บริเวณเหนือข้อมือจากข้างลำตัว แล้วกางแขนเสมอไหล่ จากนั้นหงายฝ่ามือขึ้น แล้วจึงยกต่อไปจนชิดหู (ถ้าไม่หงายมือ ข้อไหล่จะขัดอาจทำให้บาดเจ็บได้) ยกแขนลงกลับมาที่เดิม (ชิดข้างลำตัว)

                   3. กาง - หุบแขนในแนวนอน(เข้าหาลำตัว)
                         ท่าเริ่มต้น : นอนหงาย แขนทำมุม 90 องศา
                         วิธีปฏิบัติ : มือหนึ่งจับที่บริเวณต้นแขน อีกมือจับที่บริเวณเหนือข้อมือ หุบแขนเข้าหาลำตัว  (มือแตะไหล่ด้านตรงข้าม)  ยกแขนลงกลับมาที่ตำแหน่งเริ่มต้น
         
              การเคลื่อนไหวข้อศอก  อย่าลืมพูดคุย กับผู้ป่วยบอกว่าจะทำอะไร และสัมผัสด้วยความรักและเมตตา
                   การเคลื่อนไหวข้อศอก มี 2 ท่า ประกอบด้วย
                   1. งอ - เหยียดข้อศอก
                         ท่าเริ่มต้น : นอนหงาย แขนกาง 45 องศา
                         วิธีปฏิบัติ : มือหนึ่งจับที่บริเวณข้อไหล่หรือรองใต้ศอก อีกมือจับที่บริเวณเหนือ   ข้อมืองอข้อศอกนั้นขึ้นลงสลับกัน บอกร้องเพลงท่อนพับแขนมือแตะไหล่ไปพลางๆก็ดี


                   2. หมุนมือหงาย - คว่ำมือ
                         ท่าเริ่มต้น : นอนหงาย หรือนั่ง เหยียดศอกตรง
                         วิธีปฏิบัติ : มือหนึ่งจับที่บริเวณต้นแขน หรือรองใต้ศอก อีกมือจับที่บริเวณเหนือ    ข้อมือหมุนแขนหงาย - คว่ำสลับกัน


              3. การเคลื่อน ไหวนิ้วมือ ประกอบด้วย
                   3.1. ท่ากำ - แบมือ
                         ท่าเริ่มต้น : นอนหงาย หรือนั่ง
                         วิธีปฏิบัติ : มือหนึ่งจับที่บริเวณเหนือข้อมือ อีกมือจับที่บริเวณนิ้วมือทั้ง 4 ทำท่ากำและแบมือสลับกัน            (ในกรณีที่เกร็งมาก ให้กางนิ้วหัวแม่มือออกก่อน แล้วจะทำให้แบมือได้ง่ายขึ้น)

              3.2. ท่ากางและหุบนิ้วมือ
                         ท่าเริ่มต้น : นอนหงาย หรือนั่ง
                         วิธีปฏิบัติ : มือทั้ง 2 จับที่บริเวณนิ้วทั้ง 4 ทำท่ากางและหุบนิ้วมือสลับไป - มา      อาจแยกทำที่ ละนิ้วก็ได้




แก้ไขเมื่อ 27 มี.ค. 53 17:26:37

แก้ไขเมื่อ 26 มี.ค. 53 18:20:35

จากคุณ : กงจู้ต้าถัง
เขียนเมื่อ : 26 มี.ค. 53 17:49:18




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com