Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ข้อเท็จจริงที่น่ารู้ เกี่ยวกับ "การกระโดดเชือก"  

การกระโดดเชือกมักถูกกล่าวหาเสมอ ว่าเป็นการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง เป็นอันตรายต่อข้อเข่า ข้อเท้า ห้ามผู้สูงและผู้ที่มีอาการข้อเสื่อมกระโดดโดยเด็ดขาด

ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว การกระโดดเชือกด้วย "ท่าที่ถูกต้อง" ไม่ได้ก่อให้เกิดแรงกระแทกที่สูงเลย   จากการศึกษาพบว่าแรงกระแทกจากการกระโดดด้วยท่าที่ถูกต้องยัง "น้อยกว่า" การวิ่งจ๊อกกิ้งเสียอีก
(การวิ่งทำให้เกิดแรงกระแทกมากถึง 5 เท่าของน้ำหนักตัว)


ซึ่งท่ากระโดดเชือกที่ถูกต้องมีดังนี้

-ความยาวเชือกที่เหมาะสม วัดได้โดยยืนเยียบตรงกลางเชือก ดึงเชือกขึ้นจนตึง ปลายด้ามจับจะต้องเสมอกับรักแร้พอดี

-ควรกระโดดต่ำ ๆ พอแค่ให้เชือกลอดผ่านได้ ควรโดดสูงจากพื้นไม่เกิน 1-2 นิ้ว "ห้ามกระโดดสูงเกินไป"

-ใช้ปลายเท้าตรงส่วนจมูกเท้า(ส่วนที่ถัดเข้ามาจากนิ้วหัวแม่เท้า)ในการรับน้ำหนัก โดยเปิดส้นเท้าขึ้นและงอเข่าเล็กน้อย

-การแกว่งหมุนเชือก อย่ากางแขนออกกว้าง ๆ แต่ให้แนบข้อศอกชิดกับลำตัวเสมอ ใช้เฉพาะท่อนแขนส่วนล่างและข้อมือในการหมุนเชือก

-ต้องสวมรองเท้ากีฬาขณะกระโดดเสมอ ห้ามโดดด้วยเท้าเปล่าหรือรองเท้าแตะเด็ดขาด


ดังนั้นถ้าท่านออกกำลังด้วยการจ๊อกกิ้งได้  ก็สามารถมากระโดดเชือกได้โดยไร้ปัญหาใด ๆ

แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 19:24:30

แก้ไขเมื่อ 20 เม.ย. 53 19:39:16

จากคุณ : นายหลาน
เขียนเมื่อ : 20 เม.ย. 53 19:19:54




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com