 |
ขอพูดในฐานะคนที่อยู่ในวงการวิชาการแพทย์
เกรดไม่ได้เป็นตัวตัดสินว่านักศึกษาแพทย์คนที่ได้ A หรือ B+ จะต้องเก่งกว่าคนที่ได้ C D หรือแย่กว่านั้นเสมอไป การฝึกฝนให้ชำนาญ พัฒนาและทบทวนความรู้เสมอ ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบอย่างเดียวเป็นปัจจัยสำคัญกว่าที่จะทำให้แพทย์คนหนึ่งชำนาญในหัตถการ วิเคราะห์วินิจฉัยและบำบัดโรคได้
เด็กบางคนสอบเสร็จได้เกรด A แล้วก็ทิ้งความรู้ไปหรือเ่ก่งแต่ทฤษฎี เวลาลงมือปฎิบัติงานจริงในชั้นคลินิกเอาแต่ดูเพื่อนทำงานก็คิดว่าได้ความรู้เพียงพอเหมือนกันเด็กบางคนได้เกรดแย่แต่ตระหนักว่าต้องปรับปรุงตัวเอง ฝึกฝน พัฒนา ไม่ลืมความรู้ที่ได้เรียนมากเรียนประเภทหลังมักจะทำหน้าที่ในฐานะแพทย์ได้มีประสิทธิภาพกว่า
สถาบันที่ผลิตแพทย์หลายแห่งก็ออกข้อสอบยาก ตัดเกรดที่สูงเช่น Aหรือ B น้อยเพื่อเน้นคุณภาพและกระตุ้นให้เด็กขยัน ใส่ใจในการเรียน ทำไมไม่ลองคิดใหม่ว่า
A B+ B C+ C .... = เทพพระเจ้า,ยอดเยี่ยม,เก่งมาก,เก่ง,พอใช้ได้
แล้วจะไม่ประเมินเด็กที่ได้เกรด C+ , C ต่ำเกินไป
และที่สำคัญไม่ใ่ช่ว่าแพทยสภาจะปล่อยให้โรงเรียนแพทย์แต่ละแห่งต่างผลิตแพทย์ออกมารักษาประชาชนโดยไม่มีการควบคุมมาตรฐาน
การที่นิสิต/นักศึกษาแพทย์ จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ใช่ว่าเพียงเรียนๆไปให้รอด เกรดเท่าไหร่ช่างมันขอให้จบมาได้พอ แต่ทุกคนต้องผ่านการสอบรวมเพื่อประเมินความรู้ทางการแพทย์ เ่ช่น ศรว. ต่อให้เรียนเก่งจนสอบได้ A ทุกตัวแต่ถ้าไม่ผ่านการสอบประเมินรวมก็ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ได้อยู่ดีจนกว่าจะสอบให้ผ่าน
สรุป ไม่ว่าเด็กจะได้สอบได้เกรดอะไรแต่ถ้าสอบผ่านเกณฐ์ขั้นต่ำในการประเมินความรู้ความสามารถรวมได้ก็เท่ากับเป็นการรับประกันความรู้ว่าได้มาตรฐานเพียงพอ คุ้มค่าเงินภาษีของประชาชน มั่นใจในการรักษาด้วยได้
ส่วน "เป็นหมอ ผิดพลาดไม่ได้สำหรับชีวิตคน" หมอที่รักษาให้ฟรี ไม่รังเกียจคนไข้น้อยกว่า 1 % หรือเปล่าผมก็ไม่แน่ใจ แต่ที่แน่ๆ ผมเชื่อว่าหมอน้อยกว่า 1 % ไม่อยากจะรักษาผิดพลาดจนคนไข้ถึงแก่ความตายแน่นอนครับ
เครื่องจักรที่ทำงานแม่นยำระัดับโลก ไม่รู้จักล้า เหนื่อย ท้อแท้ แต่ถ้าสั่งให้ประกอบสินค้าเป็นแสนๆ ชิ้นก็ต้องมีความผิดพลาดออกมาให้เห็นกันบ่อยๆ ต่อให้เป็นของแบรนด์เนม เช่น ของหลุด QC , Dead Pixels บนจอ LCD
หมอ ซึ่งเป็นคนโดยเฉพาะในประเทศไทย ก็ต้องมีความเหน็ดเหนื่อย ท้ิอแท้ มีหน้าที่รักษาคนไข้อาจถึงหมื่นต่อหมอหนึ่งคน อุปกรณ์ Hi-tech บางชิ้นถึงจะซับซ้อนแค่ไหนก็ไ่ม่ถึงเสี้ยวของร่างกายคน
หมอที่ประมาท ไม่ให้การรักษาคนไข้ตามมาตรฐานเพราะมองเรื่องฐานะจนทำให้คนไข้เสียชีวิตอย่างไม่ควรจะเกิดขึ้นนั้นมีอยู่จริง ก็ต้องเข้าสู่กระบวนยุติธรรม ฟ้องร้องตามสิทธิของคนไข้ต่อไป
พ่อแม่จำนวนมากจนน่าจะเรียกว่าเกือบทั้งหมดก็ได้ที่มาฝากครรภ์กับแพทย์คิดว่าบุตรต้องคลอดออกมาปลอดภัย ไม่เสียชีวิต แต่ถ้าทารกตายก็จะฟ้องแพทย์ว่าไม่ดูและใส่ใจ ประมาททั้งๆที่อาจเกิดจาก พันธุกรรม ความผิดปกติของระบบใดหนึ่งแต่กำเนิด ซึ่งเกินความสามารถของหมอ เพราะบางโรคก็แทบไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นหรือตรวจสอบขณะอยู่ในครรภ์มารดาได้เลย
เริ่มเห็นรึยังครับ คำว่า เป็นหมอผิดพลาดกับชีวิตคนไม่ได้ คำนี้พูดง่าย พิมพ์ง่าย แ่ต่ปฎิบัติจริงนั้นยากแค่ไหน
สุดท้ายผมเชื่อว่าแพทย์ส่วนใหญ่ทำงานเต็มที่เพื่อรักษาชีวิตคนไข้ถึงแม้จะมีแพทย์กลุ่มหนึ่งที่ทำงานเพื่อรับใช้ผลประโยชน์เกินกว่าประชาชนมาก
ปล. พูดรวมๆ ไม่เจาะจงใครนะครับว่า คนไทยชอบมองว่าฝรั่งเมืองนอก ประเทศที่เค้าเีรียกตัวเองว่าพัฒนาแล้วดีกว่า เหนือกว่าเรามากในระบบการทำงาน เช่น ระบบประักันสุขภาพ ลองดูนี่ครับ
http://www.medchula.com/question.asp?class=58&gid=1777
ขอโทษที่นอกเรื่องในกระทู้ที่น่าดีใจอย่างนี้มากไปหน่อย หวังว่าคงจะเข้าใจ ^ ^
ขอแสดงความยินดีกับ นพ. วันชาติ นายกแพทย์สมาคมโลกคนใหม่ ชาวไทยด้วยน่ะครับ
จากคุณ |
:
Katana
|
เขียนเมื่อ |
:
วันปิยมหาราช 53 01:04:58
A:58.8.110.60 X: TicketID:292765
|
|
|
|
 |