 |
งานวิจัยเรื่องลดอาการภูมิแพ้ด้วยการพ่นอนุภาคในอากาศ 18 มิ.ย. 2553
--------------------------------------------------------------------------------------- ประสิทธิภาพของระบบพลาสม่าคลัสเตอร์กับคนไข้โรคหอบหืด และโรคจมูกอักเสบ (Asthmatic and/or Allergic Rhinitis) ที่มีต้นเหตุสารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่น *
Shmuel Kivity MD, Danial Elbirt MD, Kobi Sade MD, Dalia Sthoeger MD, Zev Sthoeger MD, and the Israeli Allergy Rhinitis/Asthma Study Group
Departments of Internal Medicine B and Pediatrics, Kaplan Medical Center, Rehovot, and Hebrew University-Hadassah Medical School, Jerusalem, Israel --------------------------------------------------------------------------------------- บทคัดย่อ
ทุกวันนี้การเจ็บป่วยในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ พบสาเหตุใหญ่ๆ เกิดจากสารภูมิแพ้ที่มาจากตัวไรฝุ่น ดังนั้นการควบคุมดูแลสภาพแวดล้อม จะช่วยลดความเจ็บป่วยจากสาเหตุเหล่านี้ลงได้
วัตถุประสงค์
เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ในการแปรสภาพสารภูมิแพ้จากตัวไรฝุ่น ที่เป็นสาเหตุหลักของการก่อเกิดปฎิกริยาภูมิแพ้ ในร่างกายคนไข้ที่มีอาการเจ็บป่วยจากโรคหอบหืด และ โรคจมูกอักเสบ
วิธีการทดสอบ
นำคนไข้โรคจมูกอักเสบ (30 คน) และโรคหอบหืด (10 คน) มาสังเกตการณ์ นาน 8 อาทิตย์ โดยแบ่งการประเมินผลจากการสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ดังต่อไปนี้คือ 2 อาทิตย์แรกเป็นการตรวจอาการแสดงออกของโรคที่เป็นอยู่ 4 อาทิตย์ต่อมาเป็นการตรวจร่างกายขณะใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ และ 2 อาทิตย์สุดท้ายเป็นการติดตามผลหลังใช้ หลังจากที่ได้หยุดใช้ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ไปแล้ว อาการที่ตรวจพบจะแบ่งตามระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น และผลเหล่านี้ถูกนำมาวิเคราะห์เชิงสถิติ
ผลการทดสอบ
พบว่าคนไข้โรคจมูกอักเสบมีอาการต่างๆเหล่านี้น้อยลง อันได้แก่ น้ำมูกในโพรงจมูก น้ำมูกไหลลงคอ น้ำมูกคั่งจมูก คันจมูก น้ำตาไหล คันตา ปวดหัว คันหู การถูกรบกวนเวลานอน และภาพรวม ซึ่งคนไข้พอใจในความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น (p<0.05) สำหรับคนไข้โรคหอบหืด พบว่าอาการภูมิแพ้ลดลงเช่นเดียวกัน อาการที่พบว่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ได้แก่ หายใจลำบาก หายใจเสียงฟืดฟาด เป็นที่สังเกตได้ว่าคนไข้มีการเพิ่มอัตราการหายใจที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับ control
สรุป
ระบบพลาสม่าคลัสเตอร์ถูกนำมาทดสอบใช้ในระยะสั้น มีผลทำให้อาการภูมิแพ้ต่างๆลดน้อยลง และพบว่ามีอัตราการหายใจที่ดีขึ้น ทั้งในกลุ่มคนไข้โรคหอบหืด และ โรคจมูกอักเสบ ในอนาคต น่าจะมีการศึกษาต่อในกรณีที่ใช้ระยะยาว เพื่อประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วยคนไข้โรคภูมิแพ้ในอีกหลายๆประเภท IMA/2009: 11:74-77
* แปลจากแหล่งที่มา http://www.ima.org.il/imaj/ar09feb-02.pdf
จากคุณ |
:
จิรศักดิ์
|
เขียนเมื่อ |
:
9 ธ.ค. 53 13:33:02
A:202.32.86.108 X: TicketID:124785
|
|
|
|
 |