 |
แต่ละปีมีหมอจบใหม่ราวๆ 1500 คนครับ ส่วนใหญ่จะชดใช้ทุน 3 ปีตามสัญญา ซึ่งจริงๆมีทางเลือกประมาณนี้
1 ชดใช้ทุน (ส่วนใหญ่) ปีแรกสำคัญสุด เรียกว่าเพิ่มพูนทักษะ หรือ Intern ถ้าใครผ่านปีนี้จะได้ใบรับรองเพิ่มพูนทักษะซึ่งสำคัญมากต่อการสมัครแพทย์เฉพาะทางหลายๆสาขา ปกติโครงสร้างจะเป็นรพ.จังหวัด 9 เดือน รพ.ชุมชน 3 เดือน
ปีที่สอง-สาม อยู่รพช.
จากนั้นใครอยากจะทำอะไรก็ทำเช่นทำงานต่อที่เดิม ย้ายไปทำที่อื่นที่อยากทำ ไปเรียนต่อเฉพาะทาง ฯลฯ
2 แพทย์พี่เลี้ยง แพทย์ Fix ward เป็นการเลือกที่จะทำงานใช้ทุนในแผนกที่ตัวเองชอบหรือวางแผนจะศึกษาต่อเฉพาะทางจะมีให้เลือกในสาขาหลักคือ อายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินารีเวชกรรม กุมารเวชกรรม โครงสร้างจะเป็น ใช้ทุน 1 ปีปกติ แต่ปีสองปีสามทำงานในแผนกที่เลือกในรพ.ใหญ่ๆที่เลือก หน้าที่จะเป็นคนที่คอยช่วยอาจาร์แพทย์เฉพาะทางและสอนน้องๆอินเทิร์นใหม่ๆ การรับมีจำนวนจำกัด บางที่บางสาขาสามารถเลือกที่จะขอสอบเฉพาะทางในปีที่ 4 ได้ครับ หรือ บางคนอยากความรู้แน่นๆก็กลับมาเรียนเฉพาะทางตามระบบ
3 โครงการอาจารย์แพทย์(คลีนิค) รับน้อยสุดๆ ต่างกับข้อสองตรงที่ ปีแรกใช้ทุน แต่ปี 2-4 จะเป็นการกลับมาเรียนเฉพาะทางนโรงเรียนแพทย์ ดังนั้นภาระงานจะเบากว่าและวิชาการจะเยอะกว่า แถมจบมาก็มีงานอาจารย์ในโรงเรียนแพทย์รองรับ แต่ปีหนึ่งจะรับน้อยเช่น รามา สมัยพี่รับปีละ 6 คนจาก 140 กว่าคน
4 โครงการอาจารย์แพทย์ (พรีคลีนิค) เป็นอาจารย์สอนชั้นพรีคลีนิค นักศึกษาแพทย์ปี 2-3 นั่นเอง ทำงานสามปี สามารถเลือกได้ว่าจะเป็นอาจารย์ต่อ มาเรียนเฉพาะทาง หรือ ไปเรียนต่อปริญญาโทเอกในสาขาที่ชอบ เป็นทางเลือกที่ดีของคนที่ไม่ชอบเป็นหมอ แต่ยังอยากทำงานที่เกี่ยวข้อง และไม่เบี้ยวทุน
5 เรียนต่อเฉพาะทางในสาขาขาดแคลน หลายๆสาขาขาดแคลนจะสามารถมาเรียนได้ก่อนใช้ทุนครบสามปีครับเช่น เรียนต่อได้เลยไม่ต้องใช้ทุน หรือ ใช้ทุน 1-2 ปีก่อนมาเรียนต่อได้ ต้องดูประกาศเป็นปีๆไปครับ
6 เบี้ยวทุน จ่ายเงินชดใช้ไปเลย แล้วไปทำอะไรที่อยากทำเช่น ทำงานอื่นที่ไม่ใช่หมอ ทำงานคลีนิคส่วนตัว ทำงานคลีนิคความงาม ไปเรียนสาขาอื่น ฯลฯ บางคนจะเลือกใช้ทุนปีแรกก่อน(เอาเพิ่มพูนทักษะ)เบี้ยวทุนมาสองปีแล้วไปเรียนต่อเฉพาะทางก็ได้ครับ
- ส่วนคำถามว่าต่อเฉพาะทางมากมั้ย คำตอบก็คือ น้อยมากเมื่อเทียบกับหมอทั่วไปครับ หมอส่วนมากยังพอใจกับการที่ไม่ต้องเสียเวลามาต่อเฉพาะทางโดยเฉพาะต่างจังหวัดที่ความต้องการหมอมากกว่าความต้องการเฉพาะทางเสียอีก แม้จะรับน้อยแต่พี่ว่าถ้าน้องชอบและตั้งใจจะเรียนเฉพาะทางก็หาเรียนได้ไม่ยากครับ โดยเฉพาะส่วนมากแทบจะไม่เต็มแล้วหากน้องไม่เลือกสถาบัน เช่น อายุรกรรมทั่วไป ศัลยกรรมทั่วไป กุมาร สูตินารี ส่วนบางสาขาคนก็ยังเข้ายากตลอดเวลาเช่น ตจวิทยา(ผิวหนัง) ศัลกรรมตกแต่ง(พลาสติก)
นอกจากนี้ยังมีเฉพาะทางต่อยอดซึ่งก็จะรับน้อยลงไปอีก
ปล.อย่าคิดว่าเฉพาะทางจะดีกว่าทั่วไปทั้งหมดนะครับ มันเป็นแค่งานที่ชอบหรือไม่ชอบ แค่นั้นเอง เงินมากน้อยก็ขึ้นกับความขยันครับ
อย่างสาขาอายุรกรรมมะเร็งนี่ ส่วนมากที่จบใหม่ๆเงิดตอบแทนต่ำกว่าหมอทั่วไปในต่างจังหวัดมากทีเดียว(รวมทุกอย่าง 2x,xxx - 4x,xxx เทียบกับใช้ทุน 3x,xxx - 5x,xxx โดยไม่อยู่เอกชน) งานเอกชนก็น้อยเพราะค่ารักษามันแพงมากๆอยู่แล้วหายากมากที่จะเจอคนที่จะจ่ายที่เอกชนไหวจริงๆ ส่วนมากที่ทำกันคือเป็นหมอมะเร็งในรพ.รัฐแล้วอยู่เอกชนในฐานะหมอทั่วไป หรือ หมออายุรกรรมทั่วไปครับ
สมัยพี่ พี่เลือก Fix ward อายุรกรรม 3 ปีแต่ใช้ทุนปีเดียวเพราะ สมัครได้อายุรกรรมมะเร็ง (สาขาขาดแคลน 4 ปี) เลยลาออกมาเรียนต่อครับ
ปล2. ไม่แนะนำอย่างมากในการเรียนเฉพาะทางสาขาอะไรก็ได้เพราะมันควรจะเป็นงานที่ชอบจริงๆนะครับ ไม่งั้นอาจจะเจอปัญหาว่าจบแล้วไม่มีงานที่ชอบทำ เสียเวลาเปล่า เสียงบประมาณประเทศ และเสียโอกาสในการผลิตแพทย์เฉาพะทางที่อยากเป็นจริงๆไป
จากคุณ |
:
oncodog
|
เขียนเมื่อ |
:
18 ธ.ค. 54 07:03:34
|
|
|
|
 |