 |
สวัสดีครับ
ร่างกายของแต่ละคนจะมีสภาวะที่แตกต่างกัน ต้นทุนความแข็งแรง ยืดหยุ่น การปรับสภาพที่แตกต่างกัน
การออกกำลังกายที่ได้ผลสำหรับคนๆหนึ่ง อาจจะไม่ได้ผล หรือ ไม่เหมาะกับอีกคนๆหนึ่งครับ
ต้องดูเหตุปัจจัยของเรื่อง อายุ , น้ำหนักตัว , การพักผ่อน นอนหลับ , อาชีพ การงานที่ทำ , อาหารที่กิน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตองค์รวมอื่นๆประกอบด้วย
กระทั่งอารมณ์ของคนเรา ก็มีผลต่อภาวะการตึงตัว คลายตัว ของกล้ามเนื้อ และเส้นประสาทได้ครับ
พิจารณาจาก ระยะเวลาที่คุณใช้ในการวิ่ง อาจจะเยอะเกินไปก็ได้ครับ
ลองมาตั้งคำถามใหม่นะครับ แทนที่จะถามว่า "มีเคล็ดลับในการคลายเมื่อยหลังการวิ่งอย่างไร"
เป็น "เราจะวิ่งอย่างไร แค่ไหนให้เหมาะสมกับสภาวะร่างกายที่เราเป็น"
และ "เราวิ่งเพื่ออะไร"
การทำอะไรเยอะๆ มากๆ ไม่ได้แปลว่า ดี และ เหมาะสมนะครับ ต้องดูเป้าหมายด้วย
ถ้าเราชัดเจนในเป้าหมาย เราจะออกแบบแผนการวิ่งของเราได้ว่า ควรจะวิ่งเท่าไร แค่ไหน อย่างไร
ถ้าเราเป็นคนทั่วๆไป ทำงานหาเลี้ยงชีพ และ อยากออกกำลังกาย เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง การวิ่งเบาๆ ยืดเหยียดร่างกายให้ยืดหยุ่น หายใจให้ถูกวิธี ปฏิบัติแต่พอควรเหมาะสม ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
แต่ถ้าเราเป็นนักกีฬาทีมชาติ นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่จะต้องมีระบบการบริหาร การควบคุมในแนวทางวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาดูแลอย่างเป็นขั้นตอน มีโค้ชคอยแนะนำอย่างใกล้ชิด และ บรรดานักกรีฑาที่วิ่งเร็วๆ นั่นเค้าใช้เวลาเป็นปีๆในการเตรียมความพร้อมของร่างกายนะครับ ไม่ใช่มาถึงแล้วจับวิ่งๆๆๆๆกันเลย วางแผนกระทั่ง เวลาในการนอน การกิน และประเภท ปริมาณอาหาร
ในทัศนะของผม ที่ศึกษาเรื่องอายุรเวท พิจารณาจากข้อมูลเท่าที่คุณให้ไว้ตรงนี้ ต้องขอบอกว่า มันมีการสะสมความบาดเจ็บเรื้อรังในระบบประสาทและกล้ามเนื้อของคุณแล้วล่ะครับ
เมื่อสมัยผมศึกษาเรื่องอายุรเวทที่อินเดีย ครูหมอผมเคยให้ทัศนะไว้ว่า "มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ร่างกายไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้วิ่งเร็วๆ และ ยกของหนักๆ สิ่งมีชีวิตที่เหมาะกับการวิ่งเร็วๆ และยกของหนักๆ คือ สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังแนวราบ ก็คือ สัตว์สี่เท้า ที่ช่วยในการกระจายน้ำหนักตัวให้ทั่วถึงกัน หากคนใช้ร่างกายในการวิ่งด้วยสองเท้า เกินความพอดี ปัญหาที่จะตามมาก็คือ แรงกดทับของข้อกระดูกสันหลัง ที่เป็นที่ตั้งของรากประสาท และ ส่งสัญญาณความบาดเจ็บไปถึงปลายประสาท ซึ่งแพทย์แผนปัจจุบัน มักจะมองว่าเป็นเรื่องของการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ แต่แท้จริงแล้ว เป็นการบาดเจ็บชั้นลึกในข้อต่อของสันหลัง"
แนะนำ ผ่านการยกตัวอย่างดังนี้นะครับว่า ถ้าหากเราทานอิ่มมากเกินไป เคี้ยวเร็ว กลืนเร็ว รีบกินเกินไป แล้วเราจุดเสียด อาหารไม่ย่อย การขับถ่ายเสีย เราก็ปรับใหม่ เป็นทานแต่พอควร ในปริมาณที่พอดี ค่อยๆเคี้ยว กลืน ร่างกายก็ปรับสมดุลได้แล้ว
ไม่จำเป็นต้องไปพึ่งพาพวกยาต่างๆที่วงการแพทย์เค้าแห่โหมโฆษณาหลอกเราแต่อย่างใด
ถ้าเรานอนน้อย นอนดึกเกินไป แล้วรู้สึกอ่อนเพลีย เราก็นอนให้เร็วขึ้น นอนให้เพียงพอ เท่านี้ก็ปรับร่างกายให้สดชื่นขึ้นแล้ว ไม่ต้องไปกินอาหารเสริมใดๆ
ถ้าเราออกกำลังกาย วิ่ง แอโรบิค หรืออะไรก็ตามแล้วมันบาดเจ็บ เราก็ปรับให้มันมีสภาวะที่เหมาะสม ทำให้น้อยลง ลดลง หรือ หยุดพักไปก่อนสักช่วงหนึ่ง ให้ร่างกายได้พักฟื้น ปรับสภาพบ้าง เท่านั้นเองครับ
โชคดีครับ
จากคุณ |
:
CHM
|
เขียนเมื่อ |
:
29 มี.ค. 55 07:45:57
|
|
|
|
 |