Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
ใครอยากผอม หันมาทานอาหารที่มีค่า Glycemic Index ต่ำกันเถอะ ติดต่อทีมงาน

ไม่รู้มีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ เคยได้ยินคำนี้กันหรือเปล่านะครับ แต่ผมเห็นว่า มันเป็นประโยชน์มากสำหรับการเลือกรับประทานเพื่อลดน้ำหนัก จึงนำมาฝากกันครับ

ค่า Glycemic Index หรือ ค่าดัชนีน้ำตาล

ต้องขออธิบายเรื่องพื้นฐานก่อนนะครับ

อาหารที่ประเภทคาร์บโบไฮเดรตเมื่อ เรารับประทานเข้าไป มันถูกเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลในกระแสเลือดครับ ซึ่งอาหารประเภทคาร์บ บางประเภทก็ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว บางชนิดก็ทำให้สูงขึ้นอย่างช้า ๆ ทั้งสองชนิดมีผลต่อร่างกายต่างกันครับ

ทีนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงมีการให้คะแนนอาหารประเภทคาร์บแต่ละประเภท เรียกค่านี้ว่า "Glycemic Index" เป็นค่าที่คำนวณระดับน้ำตาล เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างรับประทานอาหารแต่ละประเภทที่ให้คาร์บ 50 กรัม แน่นอนว่า น้ำตาลทรายได้คะแนนเต็ม 100 ครับผม

ที่นี้เรามาดูกันดีกว่าว่า แล้วอาหารที่มีค่า Glycemic Index เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าดีล่ะ

Glycemic Index มากกว่า 70 จัดว่าสูง ควรหลีกเลี่ยง
Glycemic Index น้อยกว่า 55 จัดว่าต่ำ รับประทานได้ในปริมาณที่เหมาะสมครับ

ยังไม่หมดนะครับ หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินว่า แตงโมมีค่า Glycemic Index สูง ก็อ้วนน่ะสิ ไม่จริงครับผม

ผมจะขออธิบายอีกค่านึงให้ฟังนะครับ

ค่านี้เรียกว่า Glycemic Load
ผลไม้ที่มีค่า Glycemic Index สูง ไม่ได้ทำให้อ้วนเสมอไปนะครับ อย่างเช่น แตงโม ถึงจะมีค่า Glycemic Index สูง แต่เนื่องจากแตงโมมีส่วนประกอบเป็นน้ำ 90 % มีคาร์บอยู่นิดเดียวเท่านั้น จึงไม่ทำให้อ้วนครับ

ค่า Glycemic Load สามารถคำนวณได้ตามนี้ครับ

(ค่า Glycemic Index หาร 100) คูณ ปริมาณคาร์บ (หน่วยเป็นกรัม) ในหนึ่งหน่วยปริโภคของอาหารที่คำนวณ

ยกตัวอย่าง แตงโม มีหนึ่งบริโภคที่เรารับประทานกัน มีคาร์บอยู่ 6 กรัม และมีค่า Glycemic Index 72

(72 หาร 100) คูณ 6

ได้ค่าประมาณ 4 ครับ

ซึ่งค่า Glycemic Load ที่น้อยกว่า 10 ถือว่าต่ำครับ รับประทานได้

คนอยากผอมฟังไว้ครับ

หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ อาจจะสงสัยว่า แล้วค่า Glecemic Index มันช่วยยให้ผอมยังไงล่ะ ?

ขออธิบายอย่างนี้

ความรู้สึกอิ่ม จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ระดับน้ำตาลให้เลือดขึ้นสูงครับ

เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป คาร์บถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลในกระแสเลือด เราจึงรู้สึกอิ่ม ทีนี้ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินจะถูกหลั่งออกมา เพื่อเปลี่ยนน้ำตาลนั้นให้กลายเป็นไขมัน เก็บสะสมตามร่างกาย และเมื่อน้ำตาลในเลือดลดลง เราก็จะรู้สึกหิวอีกครับ เคยเป็นกันมั้ยครับ เวลาที่กินช็อกโกแลตหรือของหวานที่มีรสหวานมาก ๆ เวลากินไปนิดเดียวเราก็จะรู้สึกอิ่มแล้ว กินต่อไปได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปแป็บเดียว เราก็รู้สึกหิวอีก หรือคนหลายคนก็ติดนิสัยชอบกินของหวานก่อนอาหารหลัก เพราะรู้สึกว่า ทำให้กินอาหารหลักได้มากขึ้น

ยิ่งน้ำตาลในเลือดขึ้นสูงเร็วเท่าไหร่ เราก็รู้สึกหิวเร็วเท่านั้นครับ เมื่อหิวเร็ว เราก็จะกินมื้อต่อไปเยอะขึ้นครับ

ทางแก้ที่ดีที่สุดคือ เลือกอาหารคาร์บที่มีค่า Glecemic Index นั่นเองครับ
เพราะอาหารคาร์บประเภทนี้ จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงอย่างช้า ๆ อินซูลินค่อย ๆ หลั่งออกมา ทำให้เราอิ่มทน อิ่มทาน ไม่โหย

หลาย ๆ คนอาจเลือกได้คำแนะนำว่า กินขนมปังโฮลวีตกินขนมปังขาว กินข้าวกล้องแทนข้าวขาว สาเหตุที่ดีกว่าก็เพราะ ขนมปังโฮลวีตและข้าวกล้องมีค่า Glecemic Index ต่ำนั่นเองครับ

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก หนังสือ "ผอมได้ไม่ต้องอด" ของแพทย์หญิงธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)

ปล. ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขอโทษล่วงหน้าด้วยะครับ หรือใครมีความรู้อะไรเพิ่มเติม เชิญได้เต็มที่เลยนะครับ

 
 

จากคุณ : SaiNoGO
เขียนเมื่อ : 16 มิ.ย. 55 21:12:30




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com